จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๑๐

Page 1



บทน�ำ

ขอส่งความปรารถนาดีมายังท่านผู้อ่านที่คอยติดตาม"จุลสารโพธิยาลัย" ตลอดมา เช่นเดิม ในฉบับนี้ยังคงมีธรรมะที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระซึ่งเป็น บทความที่ได้คัดสรรมาฝากคนส�ำคัญเช่นท่าน ก่อนอื่นทางคณะผู้จัดท�ำจุลสารฯ ขอแสดงมุทิตาต่อท่านพระอาจารย์ มหาธิติพงษ์ อุตฺตมปญฺโญ (พระอาจารย์มหาต่วน) ที่ได้รับการประกาศ เกียรติคุณ "เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีดีเด่นประจ�ำปี ๒๕๕๕" อันเป็นการแสดงถึงความวิริยะ อุตสาหะ อุทิศตน เอาใจใส่ในการสอนเป็น อย่างยิ่ง แน่นอนว่ารางวัลนี้ น�ำความปลาบปลื้มใจให้กับเหล่าศิษยานุศิษย์ชาว วัดจากแดงเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นก�ำลังใจให้แก่ทั้งครูและศิษย์ในการศึกษา เล่าเรียนต่อไป และมีข่าวดีที่จะขอประชาสัมพันธ์ในหน้าบทน�ำนี้สักสองเรื่อง หนึ่งคือเทศกาลออกพรรษา คืนวันที่ ๓๐ ตุลาคม ทางวัดจากแดงจัด สาธยายพระไตรปิฎก ภาคกลางคืน เริ่มเวลา ๑๙.๐๐ น. และเช้าวันที่ ๓๑ ตุลาคม มีพิธีตักบาตเทโวโรหณะ เริ่มเวลา ๐๘.๐๐ น. และข่าวดีอีกเรื่องหนึ่งที่ใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบคือ ขณะนี้ทางวิทยุ ชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง ได้ขยายขีดความสามารถ ในการเผยแพร่ธรรมะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสาธุชนสามารถรับฟัง รายการวิทยุจากทางสถานีฯ ได้ด้วยระบบ Online ผ่านทางเว็บไซต์ของวัด จากแดง www.bodhiyalai.org หากท่านมีข้อติชม ข้อเสนอแนะ อันเป็นประโยชน์ต่อการด�ำเนินงาน ทางคณะท�ำงานก็ขอน้อมรับด้วยความเต็มใจ คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com

4

การให้พร เป็นเหตุให้อายุยืน

ประณีต ก้องสมุทร พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่ราชิการาม (บางแห่งเป็นราชการาม) อารามที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงให้สร้าง ใกล้กับพระวิหารเชตวัน ทรง ปรารภการจามของพระองค์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีความว่า วันหนึ่งพระศาสดาประทับนั่งอยู่ท่ามกลางบริษัทสี่v ณ ราชิการาม ขณะทรงแสดงธรรมทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายพากันส่งเสียงร้องว่า “ขอพระ ผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด (คือจงมีชีวิตอยู่เถิด)” ดังนี้ถึง ๒ ครั้ง เป็น เหตุให้พระศาสดาทรงหยุดแสดงธรรม แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ในเวลา ที่มีคนจาม แล้วมีคนกล่าวว่า ขอให้ท่านมีชีวิตอยู่เถิด” ดังนี้ “เพราะเหตุที่ กล่าวอย่างนี้ คนนั้นจะมีชีวิตอยู่หรือ จะไม่มีชีวิตอยู่ (คือตาย) เป็นไปได้ไหม” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เป็นไปไม่ได้พระเจ้าข้า” พระศาสดาจึงตรัสว่า “ภิกษุไม่ควรกล่าวในเวลามีคนจามว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด ผู้ใดกล่าว ผู้นั้น ต้องอาบัติทุกกฎ” สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลายกล่าวกะภิกษุในเวลาที่จามว่า “ขอพระคุณ เจ้าจงเป็นอยู่เถิด” ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายตั้งข้อรังเกียจ จึงไม่พูดตอบเป็นเหตุให้ มนุษย์ทั้งหลายกล่าวโทษภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าไปกราบทูลพระศาสดา พระ ศาสดาตรัสว่า พวกคฤหัสถ์เขาถือมงคลกัน เพราะฉะนั้นเมื่อพวกคฤหัสถ์ กล่าวเวลาจามว่า “ขอพระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด” เราอนุญาตให้กล่าวตอบ ว่า “ขอให้พวกท่านจงเป็นอยู่เถิด” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามว่า “การกล่าว โต้ตอบว่า จงเป็นอยู่เถิด เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไรพระเจ้าข้า” พระศาสดาตรัสว่า “เกิดมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลแล้ว” ดังนี้แล้ว ทรงน�ำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า ว่า ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี

5


พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ในแคว้นกาสี บิดาของพระโพธิสัตว์มี อาชีพค้าขาย เมื่อพระโพธิสัตว์มีอายุได้ ๑๖ ปี บิดาให้แบกหีบเครื่องแก้ว มณีเดินทางไปในบ้านและนิคม เป็นต้น ครั้นถึงกรุงพาราณสี จึงให้หุงอาหาร บริโภคใกล้บ้านของนายประตู เมื่อหาที่พักไม่ได้ จึงถามพวกมนุษย์ว่า คนจน มาผิดเวลาจะพักที่ไหน พวกมนุษย์ตอบว่า นอกพระนครมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง แต่ศาลาหลังนั้นมียักษ์ยึดครองอยู่ ถ้าท่านต้องการก็จงอยู่เถิด ฝ่ายบิดาของ พระโพธิสัตว์กลัวยักษ์เป็นอย่างยิ่ง พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า มาเถิดพ่อ เราจะ ไป อย่ากลัวยักษ์เลย ฉันจะทรมานยักษ์ให้หมอบลงแทบเท้าพ่อ แล้วพาพ่อไป พักที่ในศาลา พ่อของพระโพธิสัตว์นอนอยู่บนพื้นกระดานศาลา พระโพธิสัตว์ นวดเท้าให้ ยักษ์ซึ่งสิงอยู่ที่ศาลานั้น อุปฐากรับใช้ท้าวเวสวัณอยู่ถึง ๑๒ ปี จึงได้ รับพรว่า เมื่อมนุษย์ซึ่งเข้าไปยังศาลานี้ ผู้ใดกล่าวในเวลาที่เขาจามว่า "ขอ ท่านจงเป็นอยู่เถิด" และผู้ใดเมื่อเขากล่าวว่า "จงเป็นอยู่เถิด" แล้วกล่าวตอบ ว่า "ท่านก็เหมือนกัน ขอให้เป็นอยู่เถิด" เว้นคนที่กล่าวโต้ตอบเหล่านั้นเสีย ที่เหลือท่านจงกินเสียเถิด ยักษ์นั้นอาศัยอยู่ที่ขื่อหัวเสา คิดจะให้บิดาของพระ โพธิสัตว์จาม จึงโรยผงละเอียดลงมาด้วยอานุภาพของตน ผงปลิวเข้าจมูกบิดา เขาจึงจามทั้งๆที่นอนอยู่ พระโพธิสัตว์ก็มิได้กล่าวว่า “ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด” ยักษ์จึงลงจากขื่อหมายจะกินเขา พระโพธิสัตว์เห็นยักษ์ไต่ลงมาจึงคิดว่า เจ้า ยักษ์นี้เองท�ำให้บิดาของเราจาม เจ้านี่คงเป็นยักษ์กินคนที่ไม่กล่าวว่า ท่านจง เป็นอยู่เถิดในเวลาจาม คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาแรกเกี่ยวกับบิดาว่า “ข้าแต่บิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี เถิด” ยักษ์ได้ฟังค�ำของพระโพธิสัตว์แล้วร�ำพึงว่า เราไม่อาจกินมาณพนี้ได้ เพราะเขากล่าวว่า “ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด” แต่เราจะกินบิดาของเขา ดังนี้

6

แล้วก็ไปหาบิดา บิดาเห็นยักษ์ตรงมาก็คิดเช่นเดียวกับบุตรว่า ยักษ์ตนนี้คง เป็นยักษ์ที่กินคนผู้ไม่กล่าวตอบว่า “ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด” เพราะฉะนั้นเรา จักกล่าวตอบ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ เกี่ยวกับบุตรว่า “แม้เจ้าก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจจงกินยาพิษ เจ้าจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี เถิด” ยักษ์ได้ฟังดังนั้น ไม่อาจกินคนทั้งสองได้ จึงถอยกลับ พระโพธิสัตว์ ถามยักษ์ว่า “เหตุไรเจ้าจึงกินคนที่เข้าไปในศาลานี้เล่า” ยักษ์ตอบว่า “เพราะ เราอุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ ๑๒ ปี จึงได้พรนี้มา พระโพธิสัตว์ถามว่า “เจ้าได้กิน ทุกคนหรือ” ยักษ์ตอบว่า “ยกเว้นคนที่กล่าวตอบว่า “ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด นอกนั้นเรากินหมด” พระโพธิสัตว์กล่าวว่า “ดูก่อนยักษ์ เจ้าท�ำอกุศลกรรม ไว้ในภพก่อน จึงเป็นผู้หยาบคาย ร้ายกาจ ชอบเบียดเบียนผู้อื่น มาบัดนี้เจ้า ก็ยังท�ำกรรมเช่นนั้นอีก เจ้าชื่อว่าเป็นผู้มืดมาแล้วมืดไป เพราะฉะนั้นตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป เจ้าจงงดปาณาติบาต-การฆ่าสัตว์เป็นต้นเสีย” พระโพธิสัตว์ ทรมานยักษ์นั้นด้วยการขู่ให้กลัวภัยในนรก ให้ยักษ์ตั้งอยู่ในศีลห้า ได้ท�ำยักษ์ นั้นให้เป็นเหมือนคนรับใช้ วันรุ่งขึ้น พวกมนุษย์ที่เดินทางมา เห็นยักษ์แล้วทราบว่าพระโพธิสัตว์ ทรมานยักษ์ส�ำเร็จแล้ว จึงพากันไปกราบทูลพระราชาว่า “ขอเดชะมีมาณพ คนหนึ่งทรมานยักษ์นั้น ท�ำให้เป็นคนรับใช้ พระเจ้าข้า” พระราชาตรัสให้พระ โพธิสัตว์เข้าเฝ้า ทรงตั้งไว้ในต�ำแหน่งเสนาบดี และได้พระราชทานยศใหญ่แก่ บิดาของเขา พระราชาทรงกระท�ำยักษ์นั้นให้ได้รับพลีกรรม และทรงตั้งอยู่ใน โอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงกระท�ำบุญมี ทาน เป็นต้น บ�ำเพ็ญทางไปสวรรค์ พระศาสดาทรงน�ำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วตรัสว่า ค�ำโต้ตอบ ว่า “ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด” ได้เกิดขึ้นแล้วในกาลนั้น แล้วทรงประชุมชาดก ว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น อานนท์ ในบัดนี้ บิดาได้เป็นกัสสปะ ส่วนบุตร ได้เป็น เราตถาคต นี้แล

7


นี่คือเรื่องของการจาม ซึ่งถ้าเป็นภิกษุแล้ว เมื่อมีใครจามแล้วให้พรว่า จงมีชีวิตอยู่เถิด พระบรมศาสดาทรงให้ปรับอาบัติทุกกฎ แต่พวกเชื่อมงคล พากันติเตียน เมื่อภิกษุไม่กล่าวให้พร พระบรมศาสดาจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุ กล่าวตอบว่า “จงมีชีวิตอยู่เถิด” หรือ “จงเป็นอยู่เถิด” ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ ก็มิได้ท�ำให้ผู้ได้รับพร มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตตามค�ำกล่าวนั้น เพราะสัตว์ทั้ง หลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นก�ำเนิด มี กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ท�ำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่ว เขาจักเป็น ผู้รับผลของกรรมนั้น (ด้วยตนเอง ไม่มีใครรับแทนใครได้) (จาก ภัคคชาดก และอรรถกถา ขุ. ทุกนิบาตชาดก)

8

ประวัติพระสารีบุตร

ตถตา พระสารีบุตร มีชื่อเดิมว่า อุปติสสะ เป็นบุตรพราหมณ์ผู้บริบูรณ์ด้วย โภคทรัพย์และบริวารชื่อวังคันตะ และนางสารี เกิดในต�ำบลบ้านชื่อนาลกะ หรือนาลันทะ ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์เท่าไหร่นัก อุปติสสมาณพเป็นเพื่อนสนิทกับโกลิตมาณพ (พระมหาโมคคัลลานะ) ทั้งสองคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกัน เบื่อชีวิตการครองเรือนที่วุ่นวาย จึงพาบริวารไปขอบวชอยู่ในส�ำนักสัญชัย ปริพาชก เรียนลัทธิของสัญชัยได้ทั้งหมด จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสอน หมู่ศิษย์ต่อไป ทั้งสองมาณพยังไม่พอใจในค�ำสอนของสัญชัยปริพาชก เพราะ ไม่ใช่แนวทางที่ตนต้องการ จึงตกลงกันที่จะแสวงหาอาจารย์ที่สามารถชี้แนะ แนวทางที่ดีกว่านี้ หากใครได้โมกขธรรมก่อน ขอให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ด้วย วันหนึ่งอุปติสสมาณพเข้าไปในกรุงราชคฤห์ ได้พบพระอัสสชิ ซึ่ง เป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ก�ำลังบิณฑบาต อุปติสสมาณพเห็นพระอัสสชิ มี อาการน่าเลื่อมใส เกิดมีความประทับใจ จึงเข้าไปถามพระอัสสชิว่า "ผู้ใดเป็น ศาสดาของท่าน" พระอัสสชิตอบว่า "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นโอรส ศากยราช เป็นศาสดาของเรา" อุปติสสมาณพจึงขอให้พระอัสสชิแสดงธรรม พระอัสสชิได้ออกตัวว่าพึ่งบวชได้ไม่นาน ไม่อาจแสดงธรรมโดยกว้างขวาง อุปติสสมาณพจึงขอให้พระอัสสชิแสดงธรรมสั้นๆก็ได้ พระอัสสชิได้แสดง ธรรมแก่อุปติสสมาณพว่า "เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที" ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคต กล่าวเหตุแห่ง ธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่าง นี้ อุปติสสมาณพได้น�ำค�ำสอนของพระอัสสชิไปแสดงต่อให้โกลิตมาณพ(พระ มหาโมคคัลลานะ)ได้ฟังตามที่ตกลงกันไว้ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เช่นเดียวกัน 9


มาณพทั้งสองได้ไปชักชวนสัญชัยปริพาชก ให้ไปบวชเป็นสาวกของ พระพุทธเจ้าด้วยกัน แต่สัญชัยปริพาชกไม่ยอมไป มาณพทั้งสองก็รบเร้าว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้เอง เป็นผู้รู้แจ้งจริง ต่อไปคนทั้งหลายจะหลั่งไหล ไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วอาจารย์จะอยู่ได้อย่างไร สัญชัยปริพาชกจึง ถามว่า "ในโลกนี้คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก" มาณพทั้งสองได้ตอบว่า "คนโง่ มากกว่า" สัญชัยปริพาชกจึงกล่าวแก่มาณพทั้งสองว่า "ปล่อยให้คนฉลาดไป เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ให้คนโง่ซึ่งมีจ�ำนวนมากกว่ามาเป็นลูกศิษย์ของเรา เราจะได้รับเครื่องสักการะจากคนจ�ำนวนมาก คนฉลาดอย่างเธอทั้งสองจะไป เป็นศิษย์ของพระสมณโคดมก็ตามใจ" สองสหายจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่สวนเวฬุวนาราม ในกรุงราชคฤห์ ขณะนั้นพระพุทธองค์ก�ำลังประทับท่ามกลางพุทธบริษัทจ�ำนวนมาก เมื่อเห็น มาณพทั้งสองก�ำลังเดินมา จึงตรัสบอกภิกษุสงฆ์ ณ ที่ประชุมกันว่า "ภิกษุทั้ง หลาย มาณพทั้งสองคนนั้นจะเป็นอัครสาวกของเราตถาคต" มาณพทั้งสองได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรง อนุญาตให้บวชเป็นภิกษุ พระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ก็เป็น ส�ำเร็จพระอรหันต์ ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทได้กึ่งเดือน (๑๕ วัน) จึงส�ำเร็จ เป็นพระอรหันต์ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายการที่พระสารีบุตรได้บรรลุ พระอรหันต์ช้ากว่าพระมหาโมคคัลลานะ เพราะพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา มาก ต้องใช้บริกรรมใหญ่ เปรียบประดุจการเสด็จไปของพระราชาต้องตระ เตรียมราชพาหนะและราชบริวาร จึงจ�ำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าการไปของ คนสามัญ วันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์นั้น ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน มาฆะมาส ในคืนวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์แก่ สาวกในวันจาตุรงคสันนิบาต จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระ สารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาเลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา

10

พระมหาโมคคัลลานะเป็น อัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศกว่าผู้อื่นในทางมี ฤทธิ์ ซึ่งเรียกการประกาศนี้ว่า "การตั้งเอตทัคคะ" พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นเอตทัคคะในทางปัญญา เป็นผู้สามารถแสดงพระธรรมจักรและพระจตุราริยสัจได้กว้างขวางเสมอกับ พระองค์ เมื่อมีภิกษุมาทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อจะเที่ยวจาริกไป พระพุทธเจ้า มักจะตรัสให้ภิกษุที่มาทูลลาพระองค์ ให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน เพื่อให้พระ สารีบุตรได้ให้โอวาทก่อนเดินทาง ดังเช่นครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ เมืองเทวทหะ ภิกษุเป็นจ�ำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลลาไปชนบท พระองค์ได้ตรัสบอกภิกษุหล่านั้นให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน พร้อมทรงยกย่อง ว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตทั้งหลาย เปรียบ เสมือนมารดาผู้ให้ก�ำเนิด ย่อมแนะน�ำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล อีกนามหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสเรียกแสดงความยกย่องพระสารีบุตรก็ คือ "พระธรรมเสนาบดี" และเปรียบพระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา ได้ชื่อว่า ธรรมเสนา เป็นกองทัพธรรมที่ประกาศเผยแผ่ธรรม เมื่อไปถึงที่ไหน ก็ท�ำให้ เกิดประโยชน์และความสุขที่นั่น โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นจอมธรรมเสนา เรียก ว่า "พระธรรมราชา" มีพระสารีบุตรเป็นพระธรรมเสนาบดี หรือแม่ทัพฝ่าย ธรรม นอกจากนั้นยังได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้มีความกตัญญู แม้ท่านพระสารีบุตรจะได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าเป็นอัครสาวกเบื้อง ขวา เป็นผู้เลิศในทางปัญญา ท่านก็นับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์ เพราะ พระอัสสชิได้แสดงธรรมแก่ท่าน ท�ำให้ท่านมีดวงตาเห็นธรรม และได้ มาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา เมื่อพระอัสสชิอยู่ในทิศใดก็ตาม ก่อนที่ พระสารีบุตรจะหลับนอน จะต้องนมัสการไปทางทิศนั้นก่อน และหันศรีษะ ไปทางทิศนั้นเสมอ ภิกษุที่ไม่รู้เข้าใจผิดว่าท่านนอบน้อมทิศตามลัทธิของ พวกมิจฉาทิฏฐิ ความทราบถึงพระบรมศาสดา จึงตรัสว่าพระสารีบุตรไม่ได้ นอบน้อมทิศ หากแต่ท่านนมัสการพระอัสสชิผู้เป็นอาจารย์ 11


อีกคราหนึ่งที่แสดงถึงกตัญญุตาธรรมของท่านพระสารีบุตร ก็คือครั้ง ราธะพราหม์ อยากจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีภิกษุรูปใดรับ อุปสมบทให้ เพราะเป็นผู้ชราเกินไป เมื่อราธะพราหมณ์ไม่ได้บวชก็มีความ เสียใจมาก มีร่างกายซูบซีด ผิวพรรณไม่ผ่องใส พระบรมศาสดาทอดพระเนตร เห็นราธะพราหมณ์ จึงไต่ถามและทราบความจริงแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้ง หลายว่า มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะบ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่าระลึก ได้ ครั้งหนึ่งเคยเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จ�ำได้ว่าราธะได้ถวายข้าว แก่ท่านทัพพีหนึ่ง พระศาสดาทรงสรรเสริญว่า ท่านเป็นผู้กตัญญูดีนัก เพียง อุปการะเท่านี้ก็ยังจ�ำได้ จึงตรัสให้เป็นผู้อุปสมบทให้กับราธะพราหมณ์ ช่วงสุดท้ายของชีวิตพระสารีบุตรได้พิจารณาเห็นว่าอายุสังขาร ของตนจวนสิ้นแล้ว จึงปรารถนาจะไปโปรดมารดาเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะ นิพพานในห้องที่ท่านเกิด แต่นางสารีพราหมณีผู้เป็นมารดา เป็นผู้ที่ไม่ศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีความเสียใจที่พระสารีบุตรและน้องๆ พากัน ออกบวชในพระพุทธศาสนา พระสารีบุตรพยายาม โน้มน้าวให้มารดาเห็น ประโยชน์ในการนับถือพระพุทธศาสนาหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผล จึงด�ำริจะไป โปรดมารดาเป็นครั้งสุดท้าย พระสารีบุตรได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อไปนิพพานที่บ้านเกิด แล้วออกเดินทางกับพระจุนทะผู้เป็นน้อง กับพระที่เป็นบริวาร ๕๐๐ องค์ เดินทางไปถึงหมู่บ้านนาลันทะ ซึ่งเป็นบ้านเกิด นางสารีพราหมณ์ผู้เป็น มารดา ได้จัดให้พระสารีบุตรพักในห้องที่เกิด และจัดเสนาสนะส�ำหรับเป็นที่ อยู่ของภิกษุ ๕๐๐ องค์ที่เป็นบริวาร ในคืนวันนั้น ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ องค์ มีท้าวเวสสุวัน เป็นต้น ได้มาถวายนมัสการพระสารีบุตรซึ่งก�ำลังนอนอาพาธ อยู่ เมื่อท้าวจาตุมหาราชกลับไปแล้ว ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้มา ถวายนมัสการ เมื่อท้าวสักกเทวราชกลับไปแล้ว ต่อมาท้าวสหัมบดีมหาพรหม ผู้มีรัศมีเปล่งปลั่งดังกองเพลิง ได้มาถวายนมัสการ ท�ำให้สว่างไสวไปทั้งห้อง

12

เมื่อท้าวมหาพรหมกลับไปแล้ว นางสารีพราหมณีจึงได้ถามพระจุนทะเถระ ว่า "ผู้ใดที่เข้ามาหาพี่ชายเจ้า" พระจุนทะเถระจึงบอกมารดาว่า "ผู้มาทีแรก คือท้าวจาตุมหาราช ต่อมาท้าวสักกเทวราช และท้าวมหาพรหม ได้มาถวาย นมัสการพระสารีบุตร" นางสารีพราหมณีเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระ สารีบุตรและพระพุทธเจ้า คิดว่าพระลูกชายของเรายังเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าท้าว จาตุมหาราช ท้าวสักกเทวราช และท้าวมหาพรหม พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นครูของ พระลูกชายของเราจะต้องมีอิทธิศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าเป็นแน่ สารีบุตรได้รู้ ว่า บัดนี้มารดามีความปีติโสมนัสและเกิดศรัทธาในพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นเวลา ที่จะเทศนาทดแทนพระคุณของมารดาและโปรดมารดาให้เป็นสัมมาทิฏฐิ จึงได้เทศนาสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อจบเทศนาแล้ว นางสารี พราหมณีก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ในเวลารุ่งเช้า พระสารีบุตรก็นิพพาน พระจุนทะเถระได้ท�ำฌาปนกิจ สรีระพระสารีบุตร เก็บอัฐิธาตุน�ำไปถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ พระเชต วัน เมืองสาวัตถี พระพุทธเจ้าได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระสา รีบุตรไว้ ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นเลิศในความ กตัญญูกตเวที และตรัสว่าลูกคนใดที่ท�ำให้พ่อแม่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ลูกคน นั้นชื่อว่าได้ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ด้วยความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงสุด นี่เป็นเรื่องราวประวัติพอสังเขปของพระอัครสาวกเบื้องขวาขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีคุณูปการต่อพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง การที่เราได้เกิดมา จึงควรที่จะศึกษาชีวประวัติของท่านผู้เป็นบัณฑิต เป็นผู้รู้ เป็นผู้มีคุณธรรมไว้เพื่อที่จะได้จดจ�ำไว้เป็นแบบอย่างที่ดีในการด�ำเนิน ชีวิต และนี่ก็เป็นอีกแบบอย่างที่ดีที่สุดของการใช้ชีวิตที่แสนสั้นนี้ให้มี คุณค่าที่สุด ตามรอยบัณฑิตผู้ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเรียก 13 ว่า "ธรรมเสนาบดีสารีบุตร"


นิพพานไปท�ำไม

เขมา เขมะ ผู้เขียนได้มีโอกาสดูแลเด็กวัยรุ่น อายุ ๑๗ ปีท่านหนึ่ง ก�ำลังเรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งแน่นอนว่าชีวิตของเด็กวัยนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยว หัวต่อของ ชีวิต เป็นช่วงที่ชีวิตมีพละก�ำลัง อยากรู้ อยากเห็น อยากทดลองไปเสียหมด หลังจากได้สนทนากันอยู่พักใหญ่ เกิดมีประเด็นขึ้นมาว่าจะนิพพานไปท�ำไม ซึ่งหากจะว่าไป ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็คงคิดเช่นนี้ ว่าจะนิพพานไปท�ำไม ก็การนิพพานนั้นไม่มีอะไร ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นความสุขเลย รูปสวยๆงามๆ ก็ไม่มี เกมส์สนุกต่างๆ เครื่องเล่นต่างๆ ไอโฟน ไอแพดก็ไม่มีให้เล่น ไม่มี ความสนุกสนานร่าเริง เสียงเพราะๆ อาหารรสอร่อยๆ กลิ่นหอมๆ สัมผัส ที่อ่อนนุ่ม ชวนให้หลงไหลก็ไม่มี ตึกรามบ้านช่อง ที่อยู่อาศัยก็ไม่มี อะไรๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ ในพระนิพพานไม่มีเลย แล้วจะว่านิพพานเป็นสุขได้อย่างไร เราจะปฏิบัติเพื่อไปนิพพานกันท�ำไม ไปนิพพานแล้วจะได้อะไร ข้อนี้เป็น ประเด็นที่น่าคิดมาก หากไม่พิจารณากันให้ดีๆ ก็จะสงสัยเช่นนี้กันทุกคน คนส่วนใหญ่มักจะพูดว่า "เราจะไปนิพพานกันท�ำไม" เพียงท�ำความดี ประพฤติดี ไม่ท�ำสิ่งผิดกฏหมาย ช่วยเหลือผู้อื่น ท�ำงานเพื่อแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ สังคมเพื่อที่จะอยู่ในโลกนี้อย่างเป็นสุขก็พอมิได้หรือ หากเป็นค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบ ก็จะขอตอบว่าได้ ไม่มีปัญหาอะไร ใครต้องการที่จะเสวยสุขในโลกนี้แต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้ว่าอะไร เพียง หมั่นท�ำความดีอย่างเสมอๆ ไม่กระท�ำสิ่งที่ผิดกฏหมายก็พอแล้ว หากแต่ค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในระดับที่สูงส่งกว่านั้นมีอยู่ บุคคล ที่มีอุปนิสัยที่จะปฏิบัติให้ได้ผลที่สูงส่งกว่านั้นก็มี พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสสอนให้หยุดยั้งความดีอยู่แต่เพียงขั้นนั้น ใครที่ มีสติปัญญา มีความสามารถ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอุปนิสัยที่จะปฏิบัติได้ยิ่งกว่า

14

นั้น เขาก็ย่อมที่จะปฏิบัติตามอุปนิสัยของเขา เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพานนั่นเอง จริงอยู่ พระนิพพานไม่มีอะไรเลยที่โลกนี้มีอยู่ แต่การที่ไม่มีอะไรๆนั่น แหละคือความสงบสุขที่แท้จริง ราคะตัณหาความทะยานอยากก็ไม่มี โทสะ ความเดือดร้อนว้าวุ่นใจก็ไม่มี โมหะความหลงไม่รู้จริงก็ไม่มี ไม่ต้องดิ้นรน แสวงหาสิ่งต่างๆ ให้เป็นทุกข์ ไม่ต้องแสวงหาอาหาร ไม่ต้องดิ้นรนปลูกบ้าน เรือน ไม่ต้องกังวลด้วย ไม่ต้องเป็นทุกข์ เศร้าโศกเสียใจกับสิ่งที่ต้องพลัดพราก ไป หรือไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจกับสิ่งที่ไม่สมความปรารถนา ไม่ต้องกิน ไม่ต้อง นอน ไม่ต้องเจ็บป่วย ไม่ต้องรับรู้อารมณ์อะไรๆเลย ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ไม่ต้อง เสวยสุข เสวยทุกข์ใดๆ อย่างนี้มิดีกว่าหรือ สงบสุขกว่าที่จะต้องกระเสือก กระสนดิ้นรนแสวงหา หรือหากใครคิดว่าการดิ้นรนแสวงหา ท�ำให้ชีวิตมีรสชาติ เป็นความ สุขของชีวิต ก็ตามแต่ผู้นั้นจะคิด หากแต่ท่านผู้ฉลาด ผู้มีปัญญาดังเช่นพระพุทธเจ้า และพระอรหันต สาวกทั้งหลายเป็นต้น เห็นโทษภัยในการแสวงหา ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหา สิ่งที่เป็นความสุข หรือเป็นความทุกข์ จึงด�ำเนินไปในอริยมรรคมีองค์ ๘ จนสามารถดับกิเลส ดับตัณหา ดับความทุกข์ทั้งมวลได้อย่างเด็ดขาด พ้นจากการกระท�ำทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้หมดสิ้น ไม่ต้องเกิดมา พบความสุข ความทุกข์อีกต่อไป เป็นการดับทั้งกรรม กิเลส วิบากได้อย่าง แท้จริง ดังพระพุทธวจนะที่ว่า "นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ" "ความสุข ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี"

15


ต้นพระศรีมหาโพธิ์

บินหลาดง ค�ำว่า โพธิ หมายถึงอะไร ? ๑. มรรคญาณ เช่น โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ (ญาณในมรรคทั้ง ๔ ชื่อว่า โพธิ) ๒. สัพพัญฺญุตญาณ เช่น ปปฺโปติ โพธํ วรภูริเมธโส (ผู้มีปัญญาอัน ประเสริฐย่อมบรรลุสัพพัญญุตญาณ) ๓. ต้นไม้ เพราะเป็นที่บรรลุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณทั้งสอง นั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ได้รับนาม ว่า โพธิ เนื่องจากทรงตรัสรู้โพชฌงค์ ๗ ได้ประทับอาศัยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสิ่งต่างๆ หลาย อย่าง นับตั้งแต่พระองค์ทรงประสูติ จนถึงพระองค์ทรงปรินิพพาน เช่น ต้น สาละ ต้นโพธิ์ พระคันธกุฎี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจึงมีความส�ำคัญ ส�ำหรับชาวพุทธทุกท่าน ควรรู้ควรท�ำความเข้าใจ ในที่นี้จะกล่าวถึงต้น ศรีมหาโพธิ์ให้ท่านเห็นความเป็นมาเป็นไปและ มีความส�ำคัญอย่างไร? ก่อนอื่น ต้องกล่าวตั้งแต่จุดเกิดขึ้นของต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่าเกิดขึ้น เมื่อไหร่? ต้นไม้นี้เกิดเป็นสหชาติ คือ เกิดขึ้นพร้อมกันกับพระโพธิสัตว์เมื่อ ตอนที่พระองค์ประสูติ แล้วเจริญเติบโตมาเรื่อย ๆ จนเมื่อพระโพธิสัตว์ทรง ออกผนวชและได้นั่งใต้ต้นศรีมหาโพธิ์นี้ ตรัสรู้ ซึ่งก่อนหน้านั้นเขายังไม่ เรียกว่าต้นศรีมหาโพธิ์ แต่ก่อนเขาเรียกว่า ต้น “อัสสัตถพฤกษ์” แต่เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงนั่งตรัสรู้ จึงได้ชื่อใหม่ว่า “ต้น ศรีมหาโพธิ์” ต้นศรีมหาโพธิ์ คือ ต้นไม้ที่เป็นที่บรรลุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณทั้งสองของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้แล้ว

16

เสด็จไปเผยแผ่พระสัทธรรมในสถานที่ต่างๆมิได้อยู่ในที่หนึ่งที่ใดตลอดเวลา แต่เมื่อเห็นบุคคลใดมีอุปนิสัยในการบรรลุธรรมพระองค์ก็จะเสด็จไปในที่ นั้น จึงเป็นเหตุให้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ปรารภกับพระอานนท์ ว่าหาก อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่ถือเอาดอกไม้ธูปเทียน มาเพื่อบูชาพระผู้มีพระ ภาคเจ้าที่วัดเชตวันแต่ไม่พบพระองค์ จะให้ชนเหล่านั้นบูชาอะไร? พระอานนท์ จึงน�ำเรื่องนี้ทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วพระองค์ได้ ตรัสสิ่งที่เป็นตัวแทนของพระองค์ไว้ ๓ อย่าง คือ ๑. ธาตุเจดีย์ ๒. บริโภคเจดีย์ ๓. อุเทสิกเจดีย์ ชนทั้งหลายเมื่อถือเอาดอกไม้ธูปเทียนมาเพื่อสักการบูชาพระองค์แล้วไม่เจอ ก็สามารถบูชาสิ่งทั้ง ๓ นี้ได้และก็ประสบบุญมากเหมือนกัน ๑. ธาตุเจดีย์ คือ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ในขณะที่พระองค์ตรัสนั้นเจดีย์ประเภทนี้ยังไม่มี ๒. บริโภคเจดีย์ คือ สิ่งของหรือสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้สอย ในสมัยนั้นมีต้นโพธิ์ เป็นต้น ๓. อุทเทสิกเจดีย์ คือ สิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาแทนพระผู้มีพระภาคเจ้า เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น พระองค์ตรัสว่า "ต้นศรีมหาโพธิ์ที่เราอาศัยเป็นที่ตรัสรู้ เป็นบริโภค เจดีย์ที่ชนทั้งหลายควรสักการบูชาได้" พระอานนท์ได้ปรึกษากับพระมหา โมคคัลลานะในการน�ำเมล็ดของต้นศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่วัดเชตวัน พระมหา โมคคัลลานะได้ไปน�ำเอาเมล็ดของต้นพระศรีมหาโพธิ์มาให้อนาถบิณฑิก เศรษฐีปลูกไว้ที่วัดพระเชตวัน มีข้อสังเกตถึงต้นโพธิ์นี้อยู่ตรงที่ว่า ถึงแม้จะ เป็นต้นศรีมหาโพธิ์ที่อนาบิณฑิกเศรษฐีปลูกก็ตาม แต่ด้วยเหตุที่พระอานนท์

17


เป็นผู้ขวนขวายในการน�ำมาปลูก จึงเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ์ ตั้งแต่นั้นมา จนถึงบัดนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จึงเป็นบริโภคเจดีย์อย่างหนึ่งที่อุบาสกอุบาสิกา ควรสักการบูชา ซึ่งในพระสูตรหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสกับภิกษุทั้ง หลายเกี่ยวกับสถานที่ ๔ ที่ๆควรไปเห็นและสักการะซึ่งมีสถานที่ที่พระองค์ ทรงอาศัยตรัสรู้รวมอยู่ด้วย คือ ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีเนื้อความว่า สํเวชนียสุตตํ จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียานิ สํเวชนียานิ ฐานานิ. กตมานิ จตฺตาริ? อิธ ตถาคโต ชาโต” ติ ภิกฺขเว สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ ฐานํ. “อิธ ตถาคโต อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ” ติ ภิกฺขเว สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ ฐานํ. อิธ ตถาคโต อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺเตสี” ติ ภิกฺขเว สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ ฐานํ. อิธ ตถาคโต อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพุโต ”ติ ภิกฺขเว สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ ฐานํ. อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียานิ สํเวชนียานิ ฐานานี ” ติ. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวชแห่ง กุลบุตรผู้มีศรัทธามี ๔ แห่ง ๔ แห่งนี้เป็นไฉน? คือ สถานที่ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวช แห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธาว่า พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอัน ยอดเยี่ยม ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้ ๑

18

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็นให้เกิด ความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้ มีศรัทธา ๔ แห่งนี้แล (อํ.จตุ.สํเวชนียสุตฺต) ต้นศรีมหาโพธิ์ จึงเป็นบริโภคเจดีย์ที่อุบาสกอุบาสิกา ควรเห็น ควรให้เกิด ความสังเวช (ในความเป็นไตรลักษณ์) ผู้ที่สักการะควรบูชาด้วยดอกไม้ธูป เทียนตามก�ำลังศรัทธา เพื่อจะได้ประสพบุญเป็นอันมาก ส่วนประวัติความ เป็นมาของต้นพระศรีมหาโพธิ์มีประการใด ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ตรัสรู้จนถึงปัจจุบันจะได้น�ำมากล่าวไว้ในฉบับต่อไป (โปรดติดตามต่อฉบับหน้า)

19


จตุมธุ

มณี รอดแดง (อม.,พย.บ.)

"อโรคยา ปรมาลาภา" "ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ"

ความเจ็บป่วย หรือ การอาพาธ เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตบนโลก ใบนี้ เพราะเมื่อมีเกิดก็มีแก่ มีเจ็บ มีตาย เป็นธรรมดา และความเจ็บป่วยก็ ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรหากเราท�ำความเข้าใจตามเหตุ ปัจจัย สมัยนี้มีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มากกว่าสมัยก่อน มีทั้งรักษาเยียวยาได้ และไม่สามารถรักษาเยียวยาให้ หายขาดได้ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวข้องในฤดูสารท(ฤดูแล้ง) มีพระภิกษุจ�ำนวนมากเมื่อฉันภัตตาหาร หรือดื่มยาคูแล้วอาเจียน ออกมาหมดจนท�ำให้ท่านมีร่างกายซูบผอม เศร้าหมอง ตัวเหลือง จนกระทั่ง ร่างกายเห็นแต่เส้นเอ็น เมื่อพระบรมศาสดาทรงเห็นเหตุนี้แล้ว ได้ทรง อนุญาต เภสัช ๕ อย่าง ได้แก่ เนยใส เนยข้น น�้ำมัน น�้ำผึ้ง และน�้ำอ้อย แก่ภิกษุที่อาพาธเหล่านั้น และทรงอนุญาตให้รับประเคนแล้วสามารถเก็บไว้ ฉันได้ถึง ๗ วัน จตุมธุ คือ วัตถุที่มีรสหวาน ๔ อย่าง ได้แก่ นมส้ม น�้ำผึ้ง เนยใส และน�้ำอ้อย น�ำมาผสมเคี่ยวเข้าด้วยกันโดยตั้งไฟไว้อ่อนๆ หรือประกอบด้วย เนยใส น�้ำตาลกรวด น�้ำผึ้ง และกะทิ แต่ใน ๒ ลักษณะที่กล่าวมานี้ ลักษณะ แรกพบที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มหาธรรมสมาทานสูตร ในลักษณะที่สอง เป็นวิธีการกระท�ำของชาวสิงหล อย่างไรก็ตามการ ท�ำจตุมธุนี้มีการท�ำมาตั้งแต่โบราณกาล เช่นชาวพม่า ชาวสิงหล นิยมท�ำกัน อย่างมาก ดังมีข้อความปรากฎในฎีกาว่า

20

“เสยฺยาถาปิ ภิกฺขเว ทธิ จ มธุ จ สปฺปิ จ ผาณิตญฺจ เอกชฺฌํ สํสฏฺฐํ, อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย โลหิตปกฺขนฺทิโก. ตเมนํ เอวํ วาเทยฺยํ อมฺโภ ปุริส อิทํ ทธึ จ มธุ จ สปฺปึ จ ผาณิตญฺจ เอกชฺฌํ สํสฏฺฐํ. สเจ อากงฺขสิ ปิว. ตสฺส เต ปิวโต เจว ฉาเทสฺสติ วณฺเณนปิ คนฺเธนปิ รเสนปิ, ปิวิตฺวา จ ปน สุขี ภวิสฺสสีติ. โส ตํ ปฏิสงฺขาย ปิเวยฺย นปฺปฏินิสฺสชฺเชยฺย ตสฺส ตํ ปิวโต เจว ฉาเทยฺย วณฺเณนปิ คนฺเธนปิ รเสนปิ. ปิวิตฺวา จ ปน สุขี อสฺส. ตถูปมาหํ ภิกฺขเว อิมํ ธมฺมสมาทานํ วทามิ, ยมิทํ ธมฺมสมาทานํ ปจฺจุปฺปนฺนสุขญฺเจว อายติญฺจ สุขวิปากํ” (สารัตถทีปนี แปล จูฬวรรค/๔๓) “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนมส้ม น�้ำผึ้ง เนยใส และ น�้ำอ้อย บุคคลระคนเข้าด้วยกัน บุรุษผู้เป็นโรคถ่ายท้องมาถึงเข้า ประชุมชน บอกเขาว่า ดูกร บุรุษผู้เจริญ นมส้ม น�้ำผึ้ง เนยใส และ น�้ำอ้อยนี้ บุคคล ระคนรวมกันเข้า ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้ง สี ทั้งกลิ่น ทั้งรส และท่านครั้นดื่มเข้าแล้วจักมีสุข บุรุษนั้นพิจารณายานั้น แล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้วก็จะมีความสุข ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และ มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปไมยฉันนั้น” แม้ในขุททกนิกายธรรมบท ก็มีข้อความกล่าวไว้ว่า ในสมัยหนึ่ง ทาสของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคนหนึ่ง มีอาการลม เสียดท้อง เพราะไม่ได้ทานข้าวมื้อเย็น เพื่อการรักษาศีลอุโบสถ ครั้งนั้นท่าน เศรษฐีได้น�ำเอาจตุมธุ มาให้กับเขาเพื่อเยียวยาอาการดังกล่าว แต่ทาสผู้ นั้นไม่ยอมกิน เพราะเขาได้ตั้งใจจะรักษาศีลข้อที่ ๖ (วิกาลโภชนาฯ)อย่าง

21


เคร่งครัด จนท�ำให้เขามีอาการลมเสียดท้องก�ำเริบจนกระทั่งตาย ดังนั้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ จตุมธุ ก็คือ เภสัชอย่างหนึ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้แก่พระภิกษุ สามเณร ผู้ถือศีลแปด ศีลอุโบสถ สามารถฉันหรือรับประทานได้ในเวลาเย็น ชาวพุทธไทยเราอาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก รวมถึงยังไม่รู้วิธีการท�ำเภสัช ดังกล่าว เพราะฉะนั้น เรื่องจตุมธุ ในจุลสารฉบับนี้ ผู้เขียนคาดหวังว่าน่าจะ ท�ำให้ผู้อ่านทั้งหลายได้รู้ ได้เข้าใจพอสมควร ถึงวิธีการท�ำ และความเป็นมา ของจตุมธุ ซึ่งเป็นค�ำสั่งสอนที่มีในพระไตรปิฎกจะได้น�ำมาเผยแพร่ให้ชาว พุทธที่อยู่ในประเทศไทยถึง ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ได้น�ำความรู้ไปใช้ ไปปฏิบัติ ในยามที่เกิดความเจ็บไข้ได้ และยังสุขภาพให้แข็งแรงต่อไปได้ น�ำพาชีวิต ข้างหน้าไปสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร คือ ทุกข์ทั้งปวง อันเป็นจุดหมายปลายทางสูงสุดของพระศาสนานี้ และหาก พุทธศาสนิกชนทั้งหลายไม่มาศึกษาพระธรรมค�ำสั่งสอนในพระไตรปิฎกแล้ว ไซร้ พระสัทธรรมจะตั้งมั่นคงอยู่คู่สังคมไทยได้อย่างไร ?

22

23


อารมณ์ที่ปรากฏก่อนตาย ตัดสินภพภูมิที่ไปเกิดใหม่

พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน จากครั้งก่อนได้กล่าวถึงอารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตาย ครั้งนี้จึงขออธิบายถึงอารมณ์ที่มาปรากฏให้ชัดเจน ซึ่งต้องท�ำความเข้าใจ ก่อนว่าอารมณ์ที่มาปรากฏมีสองฝ่าย คือฝ่ายกุศล และอกุศล ในที่นี้อาตมา จะอธิบายสองฝ่ายคู่กันไป โดยบุคคลที่ใกล้ตายจะมีอารมณ์ ๓ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่งมาปรากฏ ดังนี้ ๑.กรรมอารมณ์ คือ การจัดแจงกระตุ้นชักชวนในสิ่งที่ดีและไม่ดี อัน เป็นตัวกุศล และอกุศลเจตนา ซึ่งเป็นสภาพธรรมล้วนๆ มิใช่สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาปรากฎในเวลาใกล้ตาย ดังนั้นกรรมอารมณ์จึงปรากฏทางใจเท่านั้น บุคคลที่มีความดีความชั่วอยู่แต่ภายในใจเป็นส่วนมาก ไม่ชอบแสดงออกทาง กายและวาจาก็ดี หรือ บุคคลที่ชอบคิดเป็นเวลานานๆก่อนกระท�ำทาน รักษา ศีล เจริญภาวนา หรือกระท�ำทุจริต ก็ดี บุคคลดังกล่าวนี้เมื่อเวลาใกล้จะตาย กรรมอารมณ์ย่อมมีโอกาสส่งผล (คือเป็นอารมณ์ของวิถีจิตในเวลาใกล้ตายใน ภพนี้และเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในภพหน้า) เช่น นางมัลลิกาเทวี มเหสี ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะใกล้สิ้นพระชนม์นึกถึงการผิดศีลข้อมุสาที่ เคยโกหกพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วรู้สึกไม่สบายใจกระวนกระวายใจจนสิ้นใจ ทั้งๆที่นางมัลลิกาเทวีได้กระท�ำกุศลมามากมายแต่อารมณ์ที่มาปรากฏในยาม ใกล้ตายเป็นกรรมอารมณ์ฝ่ายอกุศลจึงน�ำพาให้นางไปเกิดเป็นสัตว์นรก ๒.กรรมนิมิตอารมณ์ คือ อารมณ์ ๖ (ภาพ เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด) ที่ได้ประสบไปแล้ว อันเนื่องด้วยการกระท�ำทางกาย วาจา ใจ ของตน มาปรากฎในเวลาใกล้ตาย กรรมนิมิตอารมณ์นี้จึงปรากฏได้ทางทวารทั้ง ๖ บุคคลที่กระท�ำด้วยกาย วาจา ใจ ในทาน ศีล ภาวนา หรือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาเมพูดปด ดื่มสุรา เหล่านี้ โดยมิได้คิดล่วงหน้านานๆแต่ประการใด

24

คงคิด พูด และท�ำขึ้นในเวลาที่ได้ประสบกับเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ บุคคลดัง กล่าวเมื่อเวลาใกล้จะตาย กรรมนิมิตอารมณ์ย่อมมีโอกาสส่งผล (คือเป็น อารมณ์ของวิถีจิตในเวลาใกล้ตายในภพนี้และเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ในภพหน้า) กรรมนิมิตอารมณ์นี้จะท�ำให้เราเห็นอุปกรณ์ต่างๆในการกระ ท�ำกรรมต่างๆ เช่นฝ่ายกุศล จะเห็นขันข้าวใส่บาตร ผ้าไตรจีวร โต๊ะหมู่ ข้าว ของต่างๆในการท�ำบุญ หรือฝ่ายอกุศล จะเห็นอุปกรณ์ในการท�ำอกุศล เช่น เครื่องมือในการล่าสัตว์ ทั้งปืน มีด แห อวน ขึ้นอยู่กับกรรมที่เราได้กระท�ำ แล้ว เช่น นางมัลลิกาเทวีเมื่อเกิดเป็นสัตว์นรกแล้ว ได้เห็นเปลวไฟในนรก ท�ำให้นึกถึงผ้าไตรจีวรที่ตนได้เคยถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ในอดีตชาติสมัยที่ เป็นนางมัลลิกาเทวี อารมณ์ที่มาปรากฏเป็นกรรมนิมิตอารมณ์ฝ่ายกุศล ท�ำให้ นางตายจากความเป็นสัตว์นรกไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต ๓.คตินิมิตอารมณ์ คือ อารมณ์ ๖ ที่จะได้ประสบพบเห็นและได้รับใน ภพหน้า มาปรากฏในเวลาใกล้ตาย คตินิมิตอารมณ์นี้ปรากฏได้ทางทวารทั้ง๖ บุคคลที่มีกุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนาอย่างแรงกล้าในขณะที่ก�ำลังท�ำดีหรือ ก�ำลังท�ำชั่ว บุคคลที่ขณะท�ำดีหรือชั่วนั้น มีการคิดนึกถึงเจตนาก่อนท�ำโดย ไม่สร่างซา หรือบุคคลที่ชอบนึกคิดวาดภาพถึงผลของกุศล อกุศลในอนาคต เหล่านี้ก็ดี บุคคลดังกล่าวนี้เมื่อเวลาใกล้ตาย คตินิมิตอารมณ์ย่อมมีโอกาส ส่งผล ( คือเป็นอารมณ์ของวิถีจิตในเวลาใกล้ตายในภพนี้และเป็นอารมณ์ ของปฏิสนธิจิตในภพหน้า ) เช่น ธัมมิกอุบาสก ได้ท�ำทาน รักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนาเนืองๆ เมื่อเวลาป่วยหนักจึงได้นิมนต์พระภิกษุมาสาธยายธรรม ท�ำจิตของตนให้ผ่องใส ขณะก�ำลังฟังธรรมด้วยความตั้งใจ เหล่าเทวดาจาก สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ได้ลอยมาปรากฏตรงหน้าธัมมิกอุบาสก และเชิญชวนให้ธัม มิกอุบาสกไปอยู่ในสวรรค์ชั้นของตน ต่างก็ส่งเสียงเชิญชวนกันเซ็งแซ่จนธัม มิกอุบาสกไม่ได้ยินเสียงพระภิกษุสาธยายธรรม ธัมมิกอุบาสกจึงร้องบอกให้ หยุดก่อน ฝ่ายลูกๆและพระภิกษุไม่เห็นเหล่าเทวดา เมื่อได้ยินธัมมิกอุบาสก

25


ร้องบอกให้หยุดก่อน พระภิกษุจึงหยุดสาธยายธรรมแล้วพากันกลับไป ส่วน ธัมมิกอุบาสกนั้น เมื่อเทวดาหยุดส่งเสียงแล้วจึงมาฟังธรรมต่อ แต่ไม่เห็นพระ ภิกษุ จึงถามบุตรว่าพระภิกษุไปไหนหมด เหล่าลูกๆจึงบอกว่าก็พ่อได้บอก ให้พระภิกษุหยุดสาธยายธรรมท่านจึงกลับไปแล้ว พูดแล้วลูกๆจึงคร�่ำครวญ ว่าเมื่อก่อนคุณพ่อไม่เคยอิ่มในการฟังธรรม แต่วันนี้คุณพ่อกลับบอกให้พระ ภิกษุหยุดแสดงธรรม คุณพ่อท่าทางจะหลงเสียแล้วกระมัง ฝ่ายธัมมิกอุบาสก จึงบอกว่าตนไม่ได้บอกให้พระภิกษุหยุด แต่บอกให้เทวดาทั้งหลายหยุดส่ง เสียงก่อน เพื่อจะฟังธรรม แต่ลูกๆไม่เห็นเทวดาจึงไม่ค่อยเชื่อนัก ธัมมิกอุบา สกจึงถามลูกว่าสวรรค์ชั้นไหนน่าไปอยู่ที่สุด ลูกบอกว่าสวรรค์ชั้นดุสิตเพราะ เป็นชั้นที่เป็นแหล่งรวมของนักปราชญ์มากมาย ธัมมิกอุบาสกจึงขอพวงมาลัย จากบุตรและเสี่ยงพวงมาลัยโยนขึ้นไปบนอากาศคล้องที่ราชรถของสวรรค์ ชั้นดุสิต เหล่าเทวดาที่มาปรากฏเป็นคตินิมิตอารมณ์ฝ่ายกุศลที่มาปรากฏแก่ ธัมมิกอุบาสก บุคคลอื่นจึงมองไม่เห็น เมื่อธัมมิกอุบาสกสิ้นชีวิตจึงไปเกิดเป็น เทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต จะเห็นว่าจริงๆแล้วเราสามารถเลือกภูมิสถานที่เกิด ได้ ถ้าเรามีความดีจริงๆ จากเรื่องราวทั้งหมดเหล่านี้จะเห็นว่า อารมณ์ทั้ง ๓ อย่างที่มาปรากฏก่อนตาย เป็นสิ่งส�ำคัญเพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าเราจะได้ไป เกิดที่ใด ถ้าเป็นฝ่ายกุศลจะเปิดโอกาสให้กุศลเก่าส่งน�ำเกิดในสุคติภูมิ ถ้าเป็น ฝ่ายอกุศลจะเปิดโอกาสให้อกุศลเก่าส่งน�ำเกิดในทุคติภูมิ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ จะเป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศลขึ้นอยู่กับจิตใจของตนว่าสามารถท�ำจิตให้เป็นกุศล ในเวลาใกล้ตายได้หรือไม่ โดยเฉพาะในเวลาใกล้ตายจิตใจมักกระสับกระส่าย เกิดความกระวนกระวายใจ ยิ่งท�ำใจให้สงบเป็นกุศลได้ยากยิ่งขึ้นกว่าเวลา ปกติ ดังนั้นการจะท�ำจิตให้เป็นกุศลในเวลาใกล้ตายจึงเป็นเรื่องที่ล�ำบากมาก นัก จึงควรที่เราจะฝึกท�ำจิตของตนให้เป็นกุศลอยู่บ่อยๆเสียตั้งแต่วันนี้เพื่อ สร้างความคุ้นเคยในจิตใจ เมื่อถึงคราวคับขันจะได้สามารถท�ำได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายดังที่ใจต้องการ ขอให้โชคดี เจริญพร

26

ถามมา - ตอบไป

คนเดินทาง ค�ำถาม เวลาท�ำบุญ ท�ำกุศล ได้ยินว่ามีเหตุบุญประกอบ ช่วย แสดงสภาพนามธรรมอันเป็นเหตุบุญ ๒ และเหตุบุญ ๓ เหตุ นั้นคืออะไร และเป็นอย่างไรค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ค�ำตอบ ชื่อว่า "เหตุ" นั้น ท่านแสดง เหตุ ๖ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ (อวิชชา) นี้ชื่อว่า อกุศลเหตุ ๓ อันส่งผลน�ำเกิดในอบายได้ หรือท�ำให้ได้รับผล เป็นความทุกข์เดือดร้อนมีประการต่างๆ ส่วนกุศลเหตุ ก็มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ(ปัญญา) กุศลจิตเมื่อเกิดแล้ว ย่อมต้องประกอบกุศลเหตุ ๒ ประการได้แก่ อโลภเหตุ และอโทสเหตุเป็นอย่างต�่ำ ส่วนปัญญา คือ อโมหเหตุนั้น อาจจะ ประกอบหรือไม่ประกอบก็ได้ การเจริญบุญจึงยากนัก เพราะสภาวธรรมที่ เป็นไปกับอโลภะก็เกิดได้ยากนัก และอโทสะก็เกิดได้ยากแท้ ยกตัวอย่างเช่น "ทาน" อันเป็นกุศล ที่ท่านเรียกว่า "หีน กุศล" ได้แก่ กุศลชั้นต�่ำ ถามว่า เหตุใด ทานจึงชื่อว่า กุศลชั้นต�่ำ ? ตอบว่า เพราะท�ำได้ง่ายที่สุด กระทั่งโจรใจบาปหยาบช้า ก็ยังสามารถ ท�ำทานได้ ส่วนศีลกุศลนั้น ท�ำได้ยากกว่า เป็นต้น กระนั้น แม้ทานกุศลที่เกิดด้วยอ�ำนาจบุญแท้ๆ ก็ยังเกิดได้แสนยาก ปรปักษ์ คือ ความตระหนี่ก็จักเข้าขวางทันที ความซับซ้อนแห่งจิต อ�ำนาจ แห่งความตระหนี่ (อันเกิดด้วยโทสเหตุ) ก็มักจะเข้าขวางกั้นทานนั้นๆ หรือ ท�ำให้ด้อยลงไป หรือไม่ก็ห้อมล้อมไปด้วยโลภเหตุ อันมุ่งปรารถนาในผลเป็น ใหญ่ จนกระทั่ง ลืมจิตใจอันสะอาดที่เป็นบุญแท้ๆไป

27


ยกตัวอย่างเช่น บุคคลโดยมาก เห็นว่าบุญ ที่เป็นทานกุศลนั้น เป็นการ ลงทุนชนิดถูกที่สุด เขาเหล่านั้นตั้งความปรารถนาในผลคือ โภคะบ้าง หรือ อิฏฐผล อันน่าชื่นใจไว้มากมาย ด้วยการลงทุนเพียงน้อยนิดนั่น หาได้เป็นการ ท�ำทานของบัณฑิตไม่ แต่ทว่า อาจจะนับได้ว่า เป็นการท�ำกุศลของพวกชอบ เสี่ยงทาย คล้ายๆกับการซื้อล๊อตเตอรี่ หากไม่ถูกหวย ก็ไม่เสียดายเพราะ ลงทุนเพียงน้อยนิด หากได้ผลขึ้นมาก็ชื่อว่าเรานี้ดีนักหนา ได้ผลที่น่าชื่นใจ เป็นอันมาก ด้วยอาศัยเพียงการลงทุนที่ไม่มากเลย ความซับซ้อนของจิตอย่าง นี้ บุคคลย่อมรู้จักตนเองได้ยาก ความตระหนี่ ก็มักเกิดขึ้นท่วมทับ คนบางคนในโลกนี้บอกว่า "เขาไม่มีค่อยมีเงินที่จะท�ำทานกุศลหรอก" ก็แต่ว่า ในยามเขาใช้ทรัพย์มากมายไปเที่ยวที่ไหนๆ ทั้งในและนอกประเทศ หรือซื้อข้าวของอันน่าปรารถนาใดๆเขาก็ยอมทุ่นทุน ทุ่มเทเพื่อหามาให้จงได้ ซึ่งเป็น จิตใจที่แตกต่างมากมาย ในยามที่จิตใจจะปรารภทานกุศลขึ้นมา จริงอยู่ ท่านไม่ได้สรรเสริญการท�ำทานที่ท�ำให้ตนเดือดร้อนเลย ก็แต่ ว่า ชนเป็นอันมากก็เห็นว่า ตนควรจะท�ำทานแต่น้อย แต่ใช้สอยเพื่อบันเทิงให้ มาก อย่างนี้ ก็พบมากทีเดียว ดังนั้น จิตใจในยามท�ำกุศล อโลภะก็ไม่เกิด และเกิดแต่โทสะ คือ ตระหนี่หรือเสียดาย เมื่อเหตุบุญไม่ครบ บุญก็เกิดแทบไม่ได้ หรือไม่ได้เกิด เลยก็มี และคนที่ตระหนี่นั้น ผลอันน่าชอบใจย่อมเกิดได้ยาก สมดังค�ำที่ท่านอชิตะได้ทูลถามกะพระพุทธเจ้าว่า "อะไรหนอ ปกปิด โลกไว้ ?" พระพุทธองค์ทรงภาษิต ตรัสว่า "ความตระหนี่นั่นแหละ ปกปิดโลก ไว้" เพราะตระหนี่เสียแล้ว ความดีอะไรๆ ก็เกิดไม่ได้ มันปิดกั้นไปเสียหมด หรือในคราวท�ำบุญมีความตระหนี่ล้อม แม้บุญจะเกิดก็ตาม แต่ผลแห่งบุญ นั้นๆ ย่อมเกิดได้ช้า เพราะอ�ำนาจแห่งบาปที่เป็นไปกับความตระหนี่ขวางไว้

28

ถามว่า บุคคลพึงพิจารณา อย่างไร? ตอบว่า ให้พิจารณาว่า เวลาท�ำทานกุศล กับพระพุทธศาสนาก็ดี กับพระอริยสงฆ์ก็ดี กับบุคคลรอบตัวก็ดี กับผู้คนที่เดือดร้อนก็ดี ทานกุศล เหล่านั้น ตนประกอบเหตุบุญอย่างไร ? ถามว่า ก็ชั่งเอาได้ไหม ? ตอบว่า ข้าพเจ้า จักขอถามบ้างประไร ? ถามว่าในเวลาที่บุคคลโดยมาก เขาถวายให้คุณโลภะนั้น ใช้ทรัพย์มาก หรือน้อยอย่างไร? ส่วนเวลาถวายให้เกิดบุญเพราะศรัทธาเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมนั้น ใช้ทรัพย์ประมาณเท่าใด บุคคลก็พึงวัดชั่งเอาด้วยใจนั่นเอง เพราะทุกอย่างก็ ต่างเป็นกรรมทั้งสิ้น ผลแห่งกรรมก็ซื่อตรงเสียนี่กระไร ตกลงว่า ข้าพเจ้าขอถามว่า ท่านทั้งหลายท�ำทานกับ "คุณโลภะ" ไป มากน้อยเท่าใด? และได้ท�ำทานกะ "คุณอโลภะ" ไปเท่าใด? เพียงแค่นี้ ก็จักวัดความตระหนี่ของตนได้เป็นแน่แท้ นี่เป็นการยกตัวอย่างเรื่องนามธรรม ให้เห็นประจักษ์ ถึงที่เป็นกุศลเหตุ อันมี เหตุประกอบ ๒ (ไม่มีปัญญาประกอบ) หรือเหตุ ๓ ที่มีปัญญาประกอบค่ะ

29


ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ ณ วัดจากแดง

ติดต่อร่วมบริจาคได้ที่ ฝ่ ายประชาสัมพันธ์วดั จากแดง 02-464-1122, 02-462-5928 หรือโอนเข้าบัญชีชื่อพระมหาประนอม, พระธิติพงศ์, นายอัคเดช เลขทีบ่ ญ ั ชี 037-1-47659-4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาพระประแดง

ขอเชิญท่านสาธุชน ร่วมท�ำบุญถวายผ้าป่ าสามัคคี

ข่าวประชาสัมพันธ์

- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ทำ� วัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามของ บัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังธรรมบรรยาย หรือดาวน์โหลดเสียงธรรมะ และติดตามกิจกรรมต่างๆของวัด จากแดง ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท ได้ ท่เี ว็บไซต์ www.bodhiyalai.org - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. ข่าวดีสำ� หรับผูใ้ ช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและ สังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ ท่ี www.bodhiyalai.org

จ� ำนวน ๘๔,๐๐๐ กอง กองละ ๕๐๐ บาท

เพือ่ จัดซื้ อทีด่ ินส�ำหรับสร้างศูนย์ปฏิบตั ิธรรมและโรงเรียนพระปริยตั ิธรรม

ติดต่อร่วมบริจาคได้ที่ ฝ่ ายประชาสัมพันธ์วดั จากแดง 02-464-1122, 02-462-5928 หรือโอนเข้าบัญชีกองทุนจัดซื้ อทีด่ ิน ชื่อบัญชีพระมหาประนอม, อ.อิศริยา, คุณรุ่งเรือง เลขทีบ่ ญ ั ชี 742-2-25200-7 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยบิ๊กซีราษฎร์บูรณะ

31


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกันยายน ๒๕๕๕ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณแสงสุนีย์ ลิ้มพงษ์ ๏ คุณหลู่ใช้มุ่ย ๏ คุณประเสริฐ - คุณเซาะลั้ง อึ้งอร่าม และครอบครัว ๏ คุณจันทนา เชื่อมวงศ์ อุทิศให้ นางหลู่ใช้มุ้ย และนายส�ำเนียง เชื่อมวงศ์ ๏ คุณปัญจมาภรณ์ - คุณเบญจางค์ เตียงพิทักษ์ ๏ คุณธิติชัย - คุณสุภาพร ตั้งสุขสว่างพร

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล และครอบครับ อุทิศให้ คุณวราฤทธิ์ เล็กวิริยะกุล ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณชลลดา คมพิทักษ์ชัย อุทิศให้ คุณมลคล บูรณะไทย ๏ คุณณัฐพร - คุณพรทิพย์ - คุณเชิดชัย วิเศษชนะรัฐ และครอบครัว ๏ คุณมงคล ศรีมโนรถ และญาติมิตร อุทิศให้บิดา-มารดา ๏ คุณศิริรักษ์ สุธีนพกุล อุทิศให้คุณวาณีย์ สุธีนพกุล และคุณพิพัฒน์ เอี่ยมชนะมาศ ๏ คุณพ่อสมชัย - คุณแม่วรรณี - คุณกันต์กนิษฐ์ จงยิ่งยศ

รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ ๏ พระมหาไพบูลย์ พุทฺธวิริโย ๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัณยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ ครอบครัวต้นชนะชัย ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล และครอบครัว ๏ คุณธัชวัตร ตั้งกุลธร ๏ ครอบครัวเลิศวิไลวัฒนา

๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ คุณนิคม - คุณปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณฐนิตา พันธุ์หงส์ และครอบครัว ๏ คุณทองใบ และครอบครัว ๏ คุณพงษ์ศักดิ์ ฟองเพ็ชร ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล

และผูท้ ่ ีมิได้เอ่ ยนามทุกท่าน

และผูท้ ่ ีมิได้เอ่ ยนามทุกท่าน

32

33


34



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.