ปลายนิ้วเคลื่อนขีดเขียน จดจารสารศักดิ์สิทธิ์ เคลื่อนต่อไป ไม่ยอมให้ความคิดหรือจริตส�ำนวน หวนทวนคืนมาขีดฆ่าแม้ครึ่งบรรทัด หรือน�ำ้ ตาชะล้างค�ำใดให้เลือนหาย -รุไบยาต, โอมาร์ คัยยัม
ค�ำอุทิศ ผู้ใดช่วยชีวิตหนึ่งเดียว ผู้นั้นช่วยโลกทั้งโลก -คัมภีร์ทัลมุด
ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จะมีผู้กระท�ำผิด จะมีเหยื่อ จะมีผู้รับชมเงียบงัน...และจะมี ผู้ช่วยชีวิต หนังสือเล่มนี้อุทิศให้ผู้ช่วยชีวิตสองท่าน หลวงพ่อบรูโน ไรน์เดอร์ส และนพ. มิเชล ไรน์เดอร์ส ในปี 1939 บาทหลวงเบเนดิกต์เผยแพร่ศาสนาในแฟรงก์เฟิรต์ , เยอรมนี ได้ยนิ เสียง อื้ออึงในท้องถนน เขาเงยหน้ามอง ตระหนกสยดสยองเมื่อเห็นชายชราชาวยิวถูกข่มเหง ทุบตี โดยคนที่เดินผ่าน บาทหลวงผู้นั้นคือ แปเร บรูโน ไรน์เดอร์ส แห่งเมืองลูวาน, เบลเยียม หลวงพ่อเดือดจัดจนแทบถึงขั้นวิงเวียนจวนสิ้นสติ เมื่อนาซีบุกเข้ามายึดครองเบลเยียม และกวาดต้อนคนยิวส่งไปยังค่ายกักกัน แปเร บรูโนตัดสินใจช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ ด้วยความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนพ้อง เขา ช่วยเด็กชาวยิวได้ 320 คน และผู้ ใหญ่อีกส่วนหนึ่ง ในหมู่เครือญาติที่ทุ่มเทช่วยเหลือ เขาเต็มที่ จะเป็นหลานชาย, มิเชล ในครัง้ นัน้ ยังเป็นเด็กวัยรุน่ ช่วยท�ำหน้าทีน่ �ำสารและ เป็นผู้ดูแลขนส่งเด็กไปส่งยังที่ปลอดภัย หลวงพ่ออายและถ่อมตน เมือ่ มีผถู้ ามว่าท�ำไมท่านเสีย่ งชีวติ ช่วยเหลือเด็กชาวยิว ท่าน ตอบเพียงว่า “เพราะพวกเขาเป็นมนุษย์ที่ตกอยู่ ในห้วงภยันตราย หน้าที่ของเราคือ ช่วย รักษาชีวิตพวกเขาให้รอดสืบไป” มิเชล ไรน์เดอร์สไม่เคยลืมค�ำกล่าวนั้น ถือเป็นหลักการ น�ำทางชีวติ เขาเรียนแพทย์ และปลดเกษียณในปี 1995 ในต�ำแหน่งศาสตราจารย์คลินกิ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โคโลราโด เขาอาศัยอยู่ ในเดนเวอร์, โคโลราโดกับโคเล็ตต์ ภรรยาอายุสี่สิบสี่ ลูกสองและหลานอีกสี่
สัตย์สาบานฮิป โปเครตีส
ข้าขอสาบานต่ออะพอลโล, เทพแห่งแพทย์ เอสคิวเลเพียส ไฮจีเอีย แพนาซีอา และ ทวยเทพทั้งมวล ได้ โปรดมาเป็นพยานว่าข้าจะปฏิบัติด้วยพลังความสามารถและดุลยพินิจ ทั้งมวลที่มี ให้สมดั่งสัตย์สาบานและสัญญาต่อทวยเทพ เทิดทูนบูชาผู้สอนสั่งข้าเทียบบิดรมารดา ชีวิตนี้พลีเป็นหุ้นส่วนกับท่านนั้น หากท่าน ขาดแคลนเงินทอง ข้าพร้อมจะแบ่งปันส่วนที่มี และถือว่าทายาทของท่านดุจพี่น้องร่วม สายธารโลหิตฝ่ายบุรุษ พร้อมจะสอนสั่งสรรพความรู้หากเขาจะประสงค์จะได้รับ โดยไม่ คิดค่าจ้าง ขอให้สัตย์ต่อทวยเทพ ข้าจะแบ่งปันความรอบรู้ พร�่ำสอนสั่งชี้แนะวิถีปฏิบัติ และความรูอ้ นื่ ทีข่ า้ มีดว้ ยวาจา เฉพาะต่อบุตรของข้าและบุตรของผูส้ อนสัง่ และทุกผูท้ กุ คน ที่ ให้สัตย์สาบานนี้และให้สัญญาต่อทวยเทพ มิ ใช่ผู้อื่นนอกจากนี้ ข้าจะให้การดูแลเชิงโภชนาการต่อผู้ป่วยด้วยพลังความสามารถและดุลยพินิจทั้งมวล ที่มี ข้าจะดูแลให้ผู้ป่วยรอดพ้นภยันตรายและความอยุติธรรม ข้าจะไม่ ให้ยาคร่าชีวิตต่อผู้ ใด แม้เขาจะร้องขอ และจะไม่ ให้ค�ำแนะน�ำในท�ำนองนั้น ในท�ำนองเดียวกัน ข้าจะไม่ ให้ยาขับครรภ์ตอ่ สตรี ข้าจักครองชีวติ และศิลปวิทยาในท�ำนอง บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ ข้าจักไม่ ใช้มีด แม้ต่อผู้เจ็บปวดทรมานจากก้อนหิน แต่จะใช้มีดเพื่อดึงหินจากผู้เจ็บ ปวดนั้น บ้านหลังใดทีข่ า้ ไปเยีย่ มเยือน จะท�ำเพือ่ ประโยชน์ของผูป้ ว่ ยไข้ โดยไม่มเี จตนาจงใจใน ความอยุตธิ รรม ไร้ความประสงค์รา้ ยโดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ทางเพศ ต่อบุรษุ หรือสตรี ไม่ว่าผู้ป่วยนั้นจะเป็นเสรีชนหรือทาส สิง่ ใดทีข่ า้ ได้พบเห็น เรือ่ งราวใดทีข่ า้ ได้ยนิ ในระหว่างการบ�ำบัดรักษา หรือไม่เกีย่ วเนือ่ ง กับการรักษา เรือ่ งราวชีวติ ของมนุษย์ที่ ไม่สมควรจะแพร่กระจาย ข้าจะเก็บไว้ ในใจตน เก็บ ซ่อนไว้ประหนึ่งเรื่องน่าอายที่ ไม่บังควรกล่าวออกมา หากข้าปฏิบตั ติ ามสัตย์สาบาน มิได้ละเมิดฝ่าฝืน ขอให้ประสบแต่ชวี ติ และศิลปะดีงาม ได้รับเกียรติการยกย่องในหมู่เพื่อนมนุษย์ตราบสิ้นอายุขัย แต่ถ้าข้าตระบัดสัตย์ หรือให้ ค�ำสาบานเป็นเท็จ ผลในทางตรงกันข้ามจักเกิดต่อชีวิตข้า
บทน�ำ
คนอเมริกันแต่ละยุค จ�ำต้องเผชิญกับภาวการณ์ที่ตนมิได้เลือก ภาวการณ์ที่แก่นแท้ตัวตนและจิตวิญญาณต้องผ่านการทดสอบ -ประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์
นพ. จูเลียส โมเสสเป็นแพทย์ประจ�ำบ้านในเบอร์ลินระหว่าง ปี 1920 ถึง 1932 เขาปฏิเสธไม่ยอมรับกรอบแนวคิดของเหล่าแพทย์ เยอรมันซึ่งโยงยึดวิถีปฏิบัติของแพทย์เข้ากับการทดลองวิทยาศาตร์และ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในปี 1930 เด็ก 75 คนเสียชีวิตจากความประมาทเลินเล่อของ แพทย์ในการให้วัคซีน นพ. โมเสสประกาศเรื่องนี้ต่อสาธารณชน หลัง จากนั้น เขามีส่วนร่วมในการวางแนวทางการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดย ใช้มนุษย์ ในนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยเน้นสิทธิของผูป้ ว่ ยเป็น จุดส�ำคัญ ในปี 1932 เมือ่ พรรคกรรมาชนเยอรมันสังคมนิยมแห่งชาติหรือนาซี (Nationalsozialistische deutsche Arbeiter-Partei) ขึน้ ครองอ�ำนาจ ประกาศนโยบาย “สรรค์สร้างมนุษยชาติสูงส่งรุ่นใหม่” ที่จะมีแต่คนไข้ที่ 5
รักษาให้หายขาดเท่านัน้ ทีจ่ ะได้รบั การรักษา คนป่วยทีไ่ ม่รกั ษาให้หายขาด ถือเป็นเพียง “ตัวถ่วงความเจริญ ขยะ คนไร้คา่ และไม่กอ่ ให้เกิดผลผลิต” จะต้องท�ำลายทิ้ง...การส่งเสียงเตือนขัดแย้งของนพ. โมเสส ท�ำให้ตัวเขา เองตกอยู่ในภัยคุกคาม นพ. โมเสสเป็นเสียงของมโนธรรมของแพทย์ แม้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนาซีครองอ�ำนาจในปี 1933 โมเสสผู้ลง คะแนนเสียงเลือกพรรคโซเชียลเดโมแครต ก็ไม่ได้อพยพออกนอกประเทศ ในปี 1942 อายุ 74 ปี เขาถูกส่งตัวเข้าค่ายกักกันเตเรซีนชตาด์ต ใน เชโกสโลวาเกีย อดอยากเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน วันที่ 15 กันยายน 1927 สถาบันไกเซอร์วลิ เฮล์มสาขามานุษยวิทยา พันธุกรรมมนุษย์ และบ�ำรุงพันธุ์มนุษย์เปิดในเบอร์ลิน แบ่งออกเป็น 4 แผนกคือ มานุษยวิทยา พันธุกรรมศาสตร์ การบ�ำรุงพันธุ์มนุษย์ และ พยาธิวิทยาพันธุกรรมเชิงการทดลอง รายงานในปี 1931 ประกาศว่า “ศัพท์ที่เรียกกันว่า ‘การบ�ำรุงพันธุ์มนุษย์โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ (eugenics)’ หมายถึงการหาความเกี่ยวข้องระหว่างการศึกษาวิจัยพันธุกรรม มนุษย์กับวิธีการน�ำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับนโยบายประชากรของรัฐ” หลังจากที่ฮิตเลอร์ครองอ�ำนาจในปี 1933 มีการก่อตั้งศาลอนามัย พันธุกรรมสุดสูงส่ง นี่คือ จุดตกต�่ำของวงการแพทย์เยอรมัน จุดเริ่มต้น ชัว่ ร้ายเยีย่ งปิศาจของการน�ำมนุษย์ไปท�ำการทดลอง ฆ่าผูบ้ ริสทุ ธิล์ ม้ ตายนับ พันนับหมื่นในมือของแพทย์ผู้กระท�ำด้วยความสมัครใจ แม้แพทย์บางคน จะมีมโนธรรมกวนใจบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะกระโจนเข้าหาโอกาสทองที่ จะได้ทดลองกับมนุษย์ ความอ�ำมหิตด�ำมืดที่สุดของศตวรรษที่ยี่สิบเกิดจากการละเมิดสิทธิ ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และศักดิ์ศรีแห่งชีวิตของมนุษย์หลายล้านคน เผย ให้เห็นหลังเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรัง่ เศส และสหภาพโซเวียตในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 6
สิทธิขนั้ พืน้ ฐานของมนุษย์ถกู ละเมิดนับครัง้ ไม่ถว้ นในประวัตศิ าสตร์ ไม่วา่ จะเป็นประเทศป่าเถือ่ นหรือประเทศเจริญแล้ว เยอรมนีเป็นชาติเจริญ แล้ว สังคมยุคใหม่ที่เดินตบเท้าลงไปในขุมนรก โดยได้รับการสนับสนุน จากรัฐบาล วางแผนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาวยิวในยุโรป...ก�ำจัดคนยิวใน ค่ายกักกันและค่ายมรณะถึง 6 ล้านคน รวมกับเชื้อชาติอื่นที่ไม่ใช่ยิวอีก 5 ล้านคน ความเลวหาที่เปรียบไม่ได้ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ความ ชั่วร้ายเผยให้เห็นในศาลอาชญากรสงครามนูเรมเบิร์ก รายละเอียดเปิดลง ไปสู่ระดับความลึกที่มนุษยชาติจะจมลงไปได้ ผลจากการพิจารณาคดี น�ำมาสู่ ‘ประมวลนูเรมเบิรก์ ’ ซึง่ วางกรอบ แนวทางการวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ วางมาตรฐานใหม่ ให้พฤติกรรมจรรยาแพทย์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ความส�ำคัญต่อ สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในระดับสูงสุด ตามประมวลฉบับนี้ การวิจัย ทางการแพทย์ทเี่ กีย่ วข้องกับมนุษย์ อย่างน้อยทีส่ ดุ จะต้องมีความยินยอม จากผู้เข้าร่วมการทดลองหลังจากรับทราบข้อมูลทั้งหมดแล้ว ถือเป็นการ คุม้ ครองสิทธิของบุคคลในการควบคุมปกป้องร่างกายของตน ยิง่ ไปกว่านัน้ ประมวลฉบับนีช้ ี้แนะให้แพทย์ชงั่ น�ำ้ หนักระหว่างความเสีย่ งกับประโยชน์ที่ จะได้รับ และให้หลีกเลี่ยงความเจ็บปวดความทุกข์ทรมานที่ไม่จ�ำเป็น ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ฉันถอดมาจากบทบันทึกค�ำให้การในศาล 11,538 หน้า ที่ฉันมีส่วนร่วมในการรายงาน ถือเป็น ‘บันทึกที่จะไม่มี วันลืม’ ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ บทที่ 1 ของ หมออ�ำมหิตจากนรก ตอบค�ำถามทีไ่ ด้ยนิ บ่อยครัง้ ว่า ท�ำไมฉันไปรายงานการพิจารณาคดีของศาลอาชญากรสงครามทีน่ เู รมเบิรก์ ? ฉันได้รับเลือกจากกระทรวงสงครามสหรัฐฯ ในปี 1946 ปีนั้น ฉันอายุ 22 ปี นั่งเครื่องบิน ซี-54 สกายมาสเตอร์ น่ากลัวเป็นที่สุด ข้าม มหาสมุทรแอตแลนติกร่วมกับทหารที่จะไปผลัดเปลี่ยนทหารกร�ำศึกใน เยอรมนี 7
บทที่ 2 กล่าวถึงศาลอาชญากรสงครามด�ำเนินคดีต่อผู้น�ำนาซีใน ข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุท์ มี่ กี ารไตร่ตรอง แล้ว คดีนี้มีชื่อว่า เรื่องที่ว่าด้วยสหรัฐอเมริกา, สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และสหภาพโซเวียต รัสเซีย ต่อ แฮร์มานน์ วิลเฮล์ม โกริง และอื่นๆ บทที่ 3 สิบสองคดีแรกในการพิจารณาคดีระลอกหลัง ด�ำเนินคดี ต่อบุคลากรทางการแพทย์ สิบสองคดีที่มีผู้พิพากษาอเมริกันนั่งบัลลังก์ พิจารณาคดี ในวันที่ 25 ตุลาคม 1946 สหรัฐอเมริกา vs. คาร์ล บรานด์ต และอื่นๆ พิจารณาคดีแพทย์ 20 คน และผู้ช่วยอีก 3 คน ในข้อหาอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรรมต่อมนุษยชาติในศาล อาชญากรสงครามหมายเลข 1 แพทย์ทงั้ 20 คนนี้ มิใช่ผนู้ ำ� ทางการเมือง หรือผู้น�ำทางการทหาร หากแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ความรู้สูง ผู้ให้สัตย์ สาบานฮิปโปเครตีสที่จะบ�ำบัดและรักษา แต่กลายเป็นผู้ลงทัณฑ์ทรมาน และเป็นฆาตกรจากการเข้าร่วมในจักรวรรดินาซี บทที่ 4 บรรยายคดีหมอนาซี รวมทั้งเรื่องราวชีวิตส่วนตัวล�ำบาก แสนสาหัสในดินแดนหลังสงครามหนาวเย็น หิมะตกหนัก ในมหานคร นูเรมเบิร์กที่ถูกทิ้งระเบิดทลายราบ ไม่มีเครื่องท�ำความร้อน ไม่มีน�้ำร้อน บทที่ 5 เรือ่ งการทดลองบรรยากาศในระดับความสูงในค่ายกักกันที่ นักโทษถูกบังคับให้เข้าไปในห้องปรับความดัน จ�ำลองสภาพระดับความสูง 68,000 ฟุตโดยไม่มีออกซิเจน บทที่ 6 นักโทษให้การเรื่องการทดลองแช่แข็ง เหยื่อถูกบังคับให้ลง ไปในอ่างน�้ำแข็งนานสามชั่วโมงจนเสียชีวิต บทที่ 7 รายละเอียดของการทดลองมาลาเรีย นักโทษ 1,200 คน รวมทั้งบาทหลวงคาทอลิกโปแลนด์ได้รับเชื้อมาลาเรียจากยุงกัด หรือฉีด เลือดที่มีเชื้อมาลาเรีย บทที่ 8 การทดลองป่าเถือ่ น โหดร้าย เหีย้ มเกรียมทีส่ ดุ การทดลอง 8
ปลูกกระดูก การเพาะกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทให้เกิดใหม่ การทดลองที่ตัดขาเหยื่อจากระดับเอว เพื่อน�ำไปปลูกถ่ายกับเหยื่ออีกคน บทที่ 9 รายละเอียดการทดลองทีเ่ หยือ่ จะถูกกรีดเป็นแผล อาบแผล ด้วยแก๊สมัสตาร์ด รอยไหม้ลกุ ลามไปทัว่ ตัวไม่วา่ แก๊สจะแตะผิวหนังทีจ่ ดุ ใด ปอดและอวัยวะภายในถูกกัดกิน บทที่ 10 การทดลองซัลฟานิลาไมด์ต่อบาทหลวงคาทอลิกชาว โปแลนด์ในดาเชา กรีดผิวหนังให้เป็นแผล น�ำเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส สแต็ปฟีโลค็อกคัส เนือ้ เยือ่ อ่อนเน่า และบาดทะยักมาใส่แผล ขีเ้ ลือ่ ยและ ผงแก้วขยี้เข้าไปในแผล ไม่มีการให้ยาซัลฟารักษาแผล บทที่ 11 การทดลองน�ำ้ เค็ม งดให้อาหารนักโทษยิปซีเยอรมัน เช็ก โปแลนด์ ดืม่ น�ำ้ เค็มอย่างเดียว 5-9 วัน ในวันทีฉ่ นั จดบันทึกในศาล คาร์ล โฮล์เลนรีนเนอร์ นักโทษผูร้ อดชีวติ จากการทดลอง ถือมีดกระโจนเข้าไปใน คอกจ�ำเลย เพื่อจะแทงนพ. ไบก์ลโบค์ บทที่ 12 ให้ผู้อ่านผ่อนคลายประสาท เล่าเรื่องการหยุดพักผ่อน ในเดือนธันวาคม 1946 คริสต์มาสแรกในต่างแดนของฉัน ฉันและเพื่อน ร่วมงานได้พักฟื้นคลายพิษบาดแผลทางจิตวิทยา ได้เสพภาวะปกติ แม้ จะน้อยนิด บทที่ 13 การทดลองไวรัสตับอักเสบ ต่อชาวยิวโปแลนด์ นักโทษ ได้รับความเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส และเสียชีวิตอีกหลายราย บทที่ 14 การทดลองการท�ำหมันต่อยิวชาวโปแลนด์ และเชลยศึก รัสเซีย พัฒนาวิธที เี่ หมาะสมท�ำหมันคนนับล้านโดยการฉายรังสี การผ่าตัด และการใช้ยาที่รัฐจัดหาให้ วางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ที่สุด บทที่ 15 การทดลองต่ออาชญากรเยอรมัน เชลยศึก และยิวชาว โปแลนด์ กรีดผิวให้เป็นแผล ใส่เชื้อไทฟัส แพร่เชือ้ ด้วยหมัด หรือฉีดเชือ้ เข้าเส้น การทดลองนี้เหยื่อ 90 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิต 9
บทที่ 16 การทดลองใช้ยาพิษ ยิงกระสุนอาบยาพิษใส่นกั โทษรัสเซีย จับเวลาว่าเสียชีวิตเร็วเท่าใด มีการเจือยาพิษเข้าไปในอาหาร หมอยืน สังเกตการณ์อยู่หลังม่าน บทที่ 17 การทดลองระเบิดเพลิง เหยื่อจะถูกป้ายด้วยฟอสฟอรัส จากระเบิด ไฟเผาผิวหนังอยู่นาน 68 วินาทีก่อนจะดับไฟ บทที่ 18 การทดลองหนอง ก้อนเลือด และแก๊ส บทที่ 19 นักโทษยิว 112 คนถูกคัดมาเพื่อเก็บกะโหลก นักโทษ ถูกฆ่า ลอกเนื้อทิ้ง ส่งกะโหลกเข้าไปคลังสะสม บทที่ 20 โปรแกรมการุณยฆาต (สังหาร) ล้างเยอรมนีให้ปลอด จาก ‘ปากท้องที่ไม่ก่อประโยชน์’ จากกลุ่มคนที่สมบูรณ์แข็งแรงแต่ไม่พึง ปรารถนาไปจนถึงเด็กพิกลพิการทางร่างกายและทางจิต เด็กและผู้ใหญ่ ติดโรค คนป่วย คนแก่ คนพิการ บทที่ 21 อภิปรายประมวลจรรยาแพทย์ ผลลัพธ์จากการพิจารณา คดีในครั้งนี้ และที่มาของค�ำประกาศ บทที่ 22 ตัดสินพิพากษา ก�ำหนดโทษ และค�ำประกาศของจ�ำเลย ประมวลนูเรมเบิรก์ ซึง่ วางแนวทางการทดลองต่อมนุษย์ทอี่ นุญาตให้ทำ� ได้ ในอนาคต บทที่ 23 และ 24 ฉันเล่าถึงชีวติ หลังการท�ำงานในนูเรมเบิรก์ ย้อน กลับมายังสหรัฐฯ การแต่งงาน การให้ก�ำเนิดลูกสองคน วิถีชีวิตภรรยา ทหาร และอาชีพการงานบันทึกถ้อยค�ำในศาลทหาร ในศาลเดนเวอร์ จน มาเป็นผู้บันทึกถ้อยค�ำอาวุโสในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้น สี่ครั้งสี่คราที่ฉันเผชิญการปฏิเสธการเกิดขึ้นของโฮโลคอสต์-การสังหารหมู่ ชาวยิว ฉันเดือดจัดจนคัดลอกเอกสารที่ได้จากการบันทึกถ้อยค�ำในศาล อาชญากรสงครามนูเรมเบิร์ก ใช้ภาพยนตร์ที่ยึดได้จากเยอรมนีประกอบ ค�ำบรรยายนาน 12 ปี ทั่วสหรัฐฯ แคนาดา และที่สิงคโปร์ ในช่วงเวลานี้ ฉันมีโอกาสได้พบอีลี ไวเซิล เจ้าของรางวัลโนเบล 10
เหยื่อผู้รอดชีวิตจากโฮโลคอสต์ การพบปะกันที่ประทับอยู่ในความทรงจ�ำ และในช่วงทศวรรษ 1970 ฉันมีโอกาสได้พบ ไฮนซ์ ลอเรนซ์ ผู้บันทึก ถ้อยค�ำในสภาบุนเด็สทาก ฉันไม่เคยทราบมาก่อนว่าเขาเป็นผูบ้ นั ทึกถ้อยค�ำ ประจ�ำตัวของฮิตเลอร์ รายงานข่าวจากบังเกอร์ในวันสุดท้ายก่อนฮิตเลอร์ จะปลิดชีวิตตนเอง ในปี 1995 มูลนิธิภาพประวัติศาสตร์ SHOAH (ค�ำภาษาฮีบรู หมายถึงโฮโลคอสต์) ของสตีเวน สปีลเบิร์กสัมภาษณ์ฉัน จัดประเภทให้ ว่าเป็น ‘พยานในประวัติศาสตร์’ เช่นนั้น ฉันใคร่ขอเชิญผู้อ่านมานั่งแถว หน้าสุด รับชมรับฟังค�ำให้การในศาลอาชญากรสงครามนูเรมเบิร์ก จ้อง มองลึกเข้าไปในดวงตาของแพทย์ผู้ท�ำเรื่องเลวร้าย ท่านจะได้เห็นปิศาจ ถลึงตากลับมา ฉันร้องขอให้ท่านรับฟังเรื่องเล่าจากปากพยานที่รอดชีวิต มาได้ บรรยายความเลวร้ายที่ไม่น่าจะอยู่ในวิสัยมนุษย์จะกระท�ำต่อกันได้ ...การทดลองเจ็บปวด ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตที่แพทย์กระท�ำต่อมนุษย์ด้วยกัน โดยเหยื่อเหล่านั้นไม่ได้ให้ความยินยอม ฉันอยากให้ท่านผู้อ่าน ตระหนักว่าพลังปิศาจชั่วร้ายไร้ขีดจ�ำกัด กัดกร่อนความเป็นมนุษย์ในตัว จากคนดีมคี วามคิดมีสทิ ธิตดั สินใจเลือกทาง เดินให้ชีวิตตนเอง กลายเป็นอาชญากรชั่วช้าไร้จรรยาบรรณ ไร้เมตตาต่อ เหยื่อ แล้วผู้รับชมความชั่วร้าย ปิดปากตนเองเงียบงันไม่สมควรถูกต�ำหนิ หรือ? มนุษย์ทุกคนมีพลังอ�ำนาจในตัวที่จะเป็นผู้ช่วยชีวิตผู้อื่นได้ เรามี ความกล้าพอจะเป็นผู้ช่วยชีวิตหรือไม่? อดีตผันผ่านไปแล้ว เป็นแต่เพียงอารัมภบท...แล้วท�ำไมเราไม่เรียนรู้ จากบทเรียนนั้น?
11
หนึ่ีง ตุลาคม 1946 ฐานบินเวสต์ โอเวอร์, แมสซาชูเซ็ตต์ส เสียงเคาะประตูเป็นแต่เพียงเสียงทึบๆ ดังแว่วในฉากในความฝัน เสียงขาดหายไป เสียงเคาะดังอีกครั้ง เคาะดังขึ้น แรงขึ้น เหมือนก�ำปั้นเหล็กทุบ บนบานประตู ปลุกฉันให้ตื่นจากความฝัน "คุณผู้หญิง, คุณผู้หญิงตื่นได้แล้ว" ก๊อก ก๊อก ก๊อก! "คุณผู้หญิง!" เสียงนั้นร้อนรนเร่งรัด ฉันขยี้ตาในความมืด กดสวิตช์โคมหัวเตียง จ้องมองนาฬิกา ตีสอง ตีสอง? ฉันงุนงงเลอะเลือน เดินโซเซในชุดนอนไปเปิดประตู ชะโงกหน้าไป มอง ในแสงสลัวของหลอดเปลือยในทางเดินแคบ มีเงาสูงใหญ่ "แต่งตัวได้แล้ว, คุณผู้หญิง เตรียมขึ้นบินหกโมงเช้า ไปที่ห้อง บรรยายสรุปเวลา 4.00 น." "เยส เซอร์" ฉันตอบรับ เหลือเชื่อเป็นที่สุด ปิดงับบานประตู ความง่วงงุนหายไปแล้ว เหลือแต่ความเป็นจริงกระจ่างเต็มตา ถึงเวลา แล้วสินะ ฉันจะได้ออกเดินทาง แต่ก�ำหนดการยังไม่ถึงเวลานี่นา อีกตั้ง สี่วัน ฉันเพิ่งเข้านอนเมื่อชั่วโมงที่ผ่านมา! สองวันก่อน ประสบการณ์ครั้งแรกในชีวิต สัมผัสโลกของทหาร กองทัพบกสหรัฐฯ ฉันเป็นผู้โดยสารสตรีคนเดียวในหมู่ทหารที่บินจาก 12
ฐานบินเซลฟริดจ์ในดีทรอยต์ไปยังฐานบินเวสต์โอเวอร์, แมสซาชูเซ็ตต์ส เมื่อมาถึงฐานบินเวสต์โอเวอร์ ฉันแสดงค�ำสั่งกองทัพบกต่อผู้พัน ผูบ้ งั คับบัญชาทีน่ นั่ เนือ้ หาค�ำสัง่ ฉันเป็นพลเรือน ท�ำสัญญากับกองทัพบก เป็นลูกจ้างผู้บันทึกถ้อยค�ำ สังกัดส�ำนักที่ปรึกษาส�ำหรับศาลอาชญากร สงครามในนูเรมเบิร์ก เขานิ่วหน้ามองค�ำสั่งของฉัน ท่าทางเป็นกังวล "คุณเพิง่ อายุยสี่ บิ สอง, คุณผูห้ ญิง คุณรูห้ รือเปล่าว่าคุณจะไปทีไ่ หน?" ค�ำเตือนของเขาเขย่าประสาทดีแท้ "ทราบค่ะ ฉันจะไปที่นูเรมเบิร์ก, เยอรมนี ไปท�ำเอกสารในคดี อาชญากรสงคราม" "คุณรูไ้ หมว่านูเรมเบิรก์ มีสภาพยังไงในวันนี?้ นีเ่ พิง่ สิบแปดเดือนหลัง สงครามสงบ เมืองโดนทิง้ ระเบิดเหลือแต่ซาก ยังมีศพนับไม่ถว้ นใต้กองอิฐ กองหิน กลิน่ โชยลอยตามลม ไม่มคี วามร้อนไม่วา่ ทีไ่ หนๆ เว้นแต่ในเตาผิง ที่เดียว ไม่มีน�้ำร้อนเปิดลงอ่างให้อาบ น�้ำดื่มต้องเติมเม็ดคลอรีนทุกครั้ง ผู้ก่อการร้ายนาซียังซ่อนตัวอยู่ในซากอาคาร พวกมันจะออกมาในยาม ค�ำ่ คืน ยิงทุกคนทีห่ น้าตาเหมือนคนอเมริกนั อังกฤษ หรือลูกจ้างทีท่ ำ� งาน ให้สัมพันธมิตร...ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือน! บางคราวก็โยนระเบิด ใส่อาคารที่สัมพันธมิตรพักอาศัย" "เดาเอาว่าฉันยังไม่เคยรูเ้ รือ่ งพวกนี"้ ฉันให้คำ� ตอบ พยายามวาดภาพ ตามค�ำบรรยายของเขา อย่างไรก็ตาม ฉันจ�ำได้ว่าท�ำไมฉันถึงได้สมัครมา ท�ำงานนี้ "...แต่ฉันก็ต้องไปเห็นด้วยตาตัวเอง ฉันเป็นลูกครึ่งเยอรมัน ฉัน ยังไม่ปักใจเชื่อข่าวที่ฉายในโรงหนัง ไม่คิดว่าจะร้ายกาจชั่วช้าได้ขนาดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นหมอ ฉันอยากไปเห็นด้วยตาตัวเอง ฉันเป็น ผู้บันทึกถ้อยค�ำในศาล กระทรวงสงครามต้องการใช้ผู้บันทึกถ้อยค�ำศาล ฉันจะไปบันทึกปากค�ำของหมอ อยากไปดูหน้า อยากไปฟังว่าหมอจะ ให้การอย่างไร มีหลักฐานใดมาแก้ข้อกล่าวหาที่ว่าท�ำเรื่องชั่วช้าร้ายกาจ และจับมนุษย์ไปท�ำการทดลอง" 13
ผูพ้ นั ส่ายหัวไปมา มอบป้ายโลหะประจ�ำตัวให้ฉนั คล้องคอไว้ เอกสาร อีกปึกให้ฉนั อ่าน ผูพ้ นั ออกค�ำสัง่ ให้นายสิบน�ำฉันไปยังทีพ่ กั ฉันไม่รเู้ ลยว่า ในค�ำสั่งระบุว่างานของฉันอยู่ในล�ำดับความส�ำคัญสูงสุดจนผู้พันบอกกล่าว เร่งด่วนขนาดนั้น ก็ยังต้องรอเครื่องราวหกวัน ฉันสวมเสื้อสูทหนา เสื้อโค้ตหนาพาดท่อนแขน กระเป๋าถือสะพาย ไหล่ มือหิ้วกระเป๋าเดินทางหนึ่งใบ นายสิบคงมองเห็นท่าแตกตื่นของฉัน "ส่งกระเป๋ามาให้ผมเถอะ" น�ำ้ เสียงของเขาอ่อนโยน หิว้ กระเป๋าเดินน�ำหน้า ฉันไปยังที่พักชั่วคราว ทิ้งกระเป๋าไว้ที่นั่นก่อนจะพาฉันเดินชมทั่วฐาน เราเข้าไปในสโมสร เก้าอีโ้ ซฟาหนังเทียมน่านัง่ โต๊ะกาแฟวางนิตยสาร และที่เขี่ยบุหรี่ โต๊ะข้างโซฟาวางโคมไฟ วิทยุวางบนโต๊ะข้างเครื่องกาแฟ ตู้น�้ำอัดลมหยอดเหรียญวางชิดผนังห้อง แม้จะมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่...วิทยุที่มี ภาพที่เรียกกันว่า โทรทัศน์ พัฒนาขึ้นมาในทศวรรษ 1930 แต่โทรทัศน์ ยังต้องใช้เวลาอีกนาน จนถึงปี 1948 ถึงจะได้รับความนิยมแพร่หลาย นั่นต้องรออีกสองปี ดังนั้น ในสโมสรจึงยังไม่มีโทรทัศน์ ภาพเครื่องบินทหารทุกขนาดติดประดับบนผนังห้อง ความอยากรู้ อยากเห็นของฉันท�ำให้ฉันถามไถ่ในรายละเอียดเรื่องกองทัพอากาศและ เครือ่ งบิน ฉันมีเหตุผลชัน้ ดีเสีย ด้วย เพราะฉันต้องนัง่ เครือ่ งบินในไม่ชา้ นี้ เครือ่ ง B-29 ป้อมบินทิง้ ระเบิดแม่นย�ำระยะไกลทีท่ ำ� ให้เยอรมนีปป้ี น่ เหลือแต่ซาก เครือ่ งบินทันสมัยทีส่ ดุ พัฒนามาในระหว่างสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ดาราดวงเด่นที่มอบความพ่ายแพ้เบ็ดเสร็จให้ญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 1945 ป้อมบินทิ้งระเบิดบรรทุกระเบิดได้คราวละมากๆ บินขึ้นจากฐาน บินห่างไกล สหรัฐฯ มีเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดราว 80,000 ล�ำ เต็มอัตราศึก ในตอนสิน้ สุดสงครามในเดือนพฤษภาคม 1945 บนผนังมีรปู เครือ่ งบินอืน่ ที่ใช้ในการรบกับเยอรมนีและญี่ปุ่น เครื่องบินขับไล่ เครื่องบินล�ำเลียง และป้อมบินทิ้งระเบิด ฉั น เห็ น เครื่ อ งบิ น ที่ ฉั น จะนั่ ง ไปยั ง เยอรมนี . ..ดั ก ลาส C-54 14
สกายมาสเตอร์ เครื่องบินล�ำเลียงระยะไกลสี่ใบพัด ฉันอุ่นใจได้หน่อย เพราะมีเครือ่ งยนต์สเี่ ครือ่ ง การบินครัง้ แรกในชีวติ ของฉันในช่วงคริสต์มาส ปี 1943 ฉันเพิง่ จบการศึกษาจากวิทยาลัยธุรกิจเกร็กก์ในชิคาโก บินไปยัง ดีทรอยต์ เพื่อรับงานบันทึกถ้อยค�ำในศาล ตอนนั้นเป็นเครื่องบินโดยสาร ของอเมริกันแอร์ไลน์ สองเครื่องยนต์ เที่ยวบินน่ากลัวที่สุด บินฝ่าพายุ ฟ้าคะนองเหนือทะเลสาบมิชแิ กน สายฟ้าแลบแปลบปลาบรอบตัวเรา บิน กลับมาดีทรอยต์ นั่งรถไฟกลับบ้านที่วู้ดสต็อก, อิลลินอยส์ ฉันรู้ว่าการบินไปเยอรมนีน่าจะกินเวลานาน หลายชั่วโมงที่ต้องลอย อยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก...ฉันหวาดขนาดหนัก เกรงว่าจะบินไม่ ตลอดรอดไปถึงฝั่งตรงข้าม ในตอนที่เดินชมสโมสร เสียงเกล็นน์ มิลเลอร์ 'อิน เดอะ มู้ด' แว่วมาจากตู้เพลง อาการปั่นป่วนในอกซาลงแล้ว เสียงเพลงพาฉันย้อน กลับไปในอดีต ร้านน�้ำอัดลม หยอดเหรียญนิกเกิลลงในตู้เพลง เต้นร�ำ กับเพื่อนมัธยมปลาย นายสิบพาเดินชมห้องบรรยายสรุปก่อนขึน้ บิน เดินต่อไปยังโรงอาหาร ทีฉ่ นั จะร่วมมือ้ อาหารกับทหารและพลเรือนคนอืน่ ๆ ทีจ่ ะร่วมเดินทางออก นอกประเทศ นายสิบทิ้งฉันไว้ที่สโมสร พร้อมค�ำก�ำชับไม่ให้เดินเพ่นพ่าน เข้าไปในเขตหวงห้าม เขาขอตัวกลับไปท�ำงาน ฉันหาทางกลับมายังห้องพัก เปิดกระเป๋าเดินทาง น�ำเสื้อผ้าออก มาห้อยแขวน ตรวจสอบเตียงทหาร และคิดว่าคงยากที่จะท�ำตัวให้ผ่อน คลายในแวดวงทหารที่บุรุษครองความเป็นใหญ่ กังวลต่อการผจญภัยที่ ฉันจะได้พบในไม่ช้านี้ ฉันไม่มที างรูเ้ ลยว่าการเดินทางไปยังเยอรมนีในคราวนี้ จะเปลีย่ นชีวติ ฉันอย่างส�ำคัญ เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงชั่วกาลนาน ฉันจะได้เห็นภาพยนตร์ และรูปถ่ายของความชัว่ ร้ายทีม่ นุษย์กระท�ำต่อเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกัน ได้เห็น บาดแผลการตัดหั่นชิ้นส่วนร่างกายที่หมอกระท�ำต่อเหยื่อ ได้เห็นพยาน 15
หลั่งน�้ำตาร�่ำไห้ในคอกพยาน เรื่องราวเหล่านี้จะเตือนความจ�ำให้ฉันระลึก เสมอว่าชีวิตมีค่ามากแค่ไหน ฉันโชคดีขนาดไหนที่ได้เกิดในประเทศเสรี ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย นับแต่จุดนั้นเป็นต้นมา ฉันไม่อาจ ท�ำใจรับการดันทุรังได้อีกแล้ว แม้จะมีการเผชิญหน้ากับคนพาลหลายครั้ง ในสหรัฐฯ หลังจากฉันเดินทางกลับมาแล้ว เมื่อถึงเวลาอาหาร ฉันเดินตรงไปยังโรงอาหาร พยายามท�ำตัวตาม สบาย หยิบถาดโลหะมาถือ เดินต่อแถวทหาร ฉันไม่เห็นสตรีแม้แต่คน เดียวในโรงอาหาร! บรรยากาศเป็นมิตร จีไอที่ยืนอยู่ในแถวส่งเสียงทักทายชวนคุย สอบถามกันไม่ขาดปาก ในเมื่อฉันไม่ได้สวมเครื่องแบบ ทหารจีไออยาก รู้ว่าท�ำไมฉันต้องเดินทางไปยังเยอรมนี ฉันเล่าให้พวกเขาฟังว่ากระทรวง สงครามรับฉันมาท�ำงานในหน้าที่พลเรือนผู้บันทึกถ้อยค�ำในศาล ในคดี อาชญากรสงคราม ซึ่งเริ่มพิจารณาแล้ว ทหารเกณฑ์ไม่รู้เรื่องรู้ราวการ ด�ำเนินคดีในศาล เมือ่ ได้รบั อาหาร พวกเขาเชิญฉันไปนัง่ ร่วมโต๊ะยาว จาก การพูดคุยกัน พวกเขาจะบินไปยังเยอรมนีเช่นกัน ไปสับเปลี่ยนกองก�ำลัง ที่นั่นให้กลับมาพัก ทหารหนุ่มกลุ่มนี้ไม่เคยผ่านการรบ เพื่อนร่วมโต๊ะอาหารบอกฉันว่าจะมีปาร์ตีฮัลโลวีนเย็นวันพรุ่งนี้ เชิญ ฉันให้ไปร่วมงานถ้าไปได้ ฉันตอบรับ เพราะเหลือเวลาอีกห้าวันก่อนฉัน จะบินออกจากที่นี่ แน่ น อนที่ สุ ด ฉั น จะต้ อ งมี ชุ ด ฮั ล โลวี น พวกเขาเตรี ย มชุ ด แปลกประหลาดกันไว้แล้ว เต็มอกเต็มใจช่วยฉันออกแบบชุด พวกเขา หาเครื่องแบบจีไอตัวโคร่ง ใช้ม็อบเช็ดพื้นเป็นวิกผม ผ้ากันเปื้อนพ่อครัว คาดเอว แม้ร่างของฉันสูงโปร่งเพรียวบาง แต่เมื่อสวมชุดฮัลโลวีน ฉัน กลายเป็นพ่อครัวทหาร อ้วนม่อต้อไปเสียได้ ฉันค่อยรู้สึกผ่อนคลาย ได้หน่อย โรงอาหารตกแต่งด้วยบรรยากาศฮัลโลวีน ริ้วสีส้มด�ำพาดบนเพดาน 16
แขวนห้อยด้วยฟักทองท�ำจากกระดาษพับ ประดับด้วยรูปแมวด�ำ แม่มด และผีๆ โผล่มาจากทุกซอกทุกมุมบนผนังห้อง เพลงบิก๊ แบนด์ทศวรรษ 40 จากตู้เพลง เพลงยอดนิยมดังก้องห้อง จาก 'รัม แอนด์ โคคาโคลา' ของแอนดรูว์ ซิสเตอร์ส เรื่อยไปจนถึง 'บูกี วูกี บิวเกิล บอย ฟรอม คัมปานี บี', 'ซิมโฟนี' และ 'ฮาร์เบอร์ ไลต์ส' สาวรุ่นจากวิทยาลัย เมานต์ โฮลโยค ใกล้เมืองแฮดลีย์ แมสซาชูเช็ตต์ส มาร่วมงาน...สตรี คนแรกทีฉ่ นั ได้พบตัง้ แต่เดินทางมาทีน่ ี่ งานเลีย้ งครัง้ ใหญ่ทสี่ ดุ ในยีส่ บิ สองปี ของชีวิตของฉัน สนุกสุดเหวี่ยง ฉันกลับเข้าที่พักตีหนึ่ง นอนได้เพียงชั่วโมงเดียวตอนที่มีเสียงเคาะ ประตู
ร่วมงานกับกระทรวงสงครามสหรัฐฯ เมือ่ สิบแปดเดือนก่อนหน้านี้ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 สงคราม เพิ่งสิ้นสุดในเยอรมนี ฉันเพิ่งเข้ารับงานผู้บันทึกถ้อยค�ำในศาลในดีทรอยต์ ท�ำงานให้ส�ำนักจัดหางานอิสระนับแต่ปี 1943 วันหนึ่ง แผ่นพับจาก กระทรวงสงคราม ส่งมาถึงส�ำนักงานของเรา ต้องการรับพนักงานชวเลข ความเร็วสูง ทั้งเขียนและใช้เครื่อง จ�ำนวน 26 ต�ำแหน่ง เดินทางไปยัง เยอรมนีเพื่อบันทึกถ้อยค�ำศาลอาชญากรสงคราม พิจารณาคดีแฮร์มานน์ วิลเฮล์ม โกริง กับนาซีระดับแนวหน้าอีกหลายคน การพิจารณาคดี อาชญากรสงครามจะเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน 1945 คดีนี้เป็นศาล ทหารระหว่างประเทศ ประกอบด้วยองค์คณะผู้พิพากษาสี่นาย และ ผูพ้ พิ ากษาสมทบอีกสี่ จากประเทศชนะสงครามทัง้ สี่ ประเทศละสองนาย อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย หลังจากนั้น จะ เป็นการพิจารณาคดีระลอกถัดไปอีก 12 คดี รวมทั้งคดีที่ยื่นฟ้องแพทย์ เยอรมัน ฉันอยากไปท�ำงานคดีนี้ 17
การรายงานข่าวต่อสาธารณชนปรากฏบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ ทุกฉบับ รายงานข่าวทีเ่ รารับฟังจากวิทยุฟลิ โคในบ้าน และหนังข่าวในโรง ภาพยนตร์ ฉันยืน่ ใบสมัครทันที แต่กก็ ลัวว่าจะไม่ได้รบั คัดเลือกเพราะไม่มี ประสบการณ์ และต�ำแหน่งงานมีไม่กี่ต�ำแหน่ง ฉันรอคอยด้วยความกระวนกระวายในดีทรอยต์ ข่าวที่ตอบกลับมา ฉันอายุนอ้ ยเกินไป ฉันจะต้องอายุไม่ตำ�่ กว่ายีส่ บิ เอ็ดปีบริบรู ณ์ ในช่วงเวลา นั้น ฉันอายุเพิ่งยี่สิบ ฉันผิดหวังแทบหัวใจสลาย แต่ก็ยังเหลือความหวัง ฉันมีสิทธิได้งานนี้ถ้าอายุครบยี่สิบเอ็ด และสอบผ่านมาตรฐานข้ารัฐการ จดชวเลข 200 ค�ำต่อนาที ความแม่นย�ำไม่ต�่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ เดือนถัดมา ฉันแทบอดใจรอไม่ไหว อยากเร่งอายุให้แก่กว่านี้เร็วที่สุด ฉันตื่นเต้นในวันที่ได้รับข่ าวว่าใบสมัครของฉันผ่ านการพิจารณา เอกสารปึกใหญ่ในซอง รายละเอียดการตรวจร่างกาย ฉีดยาและปลูกฝี ฉันไปสอบวัดฝีมือ ฉันผ่านเกณฑ์นั้นด้วยความแม่นย�ำ 98 เปอร์เซ็นต์! ในการพิจารณาคดีนาซีระดับผูน้ ำ� ได้ตวั พนักงานชวเลขแล้ว ฉันต้องรอค�ำ สั่งอีกหนึ่งปีเต็ม ส�ำหรับการพิจารณาคดีระลอกหลัง ค�ำสั่งมาถึงในเดือน ตุลาคม 1946 ฉันอายุได้ยี่สิบสองปี
การปฐมนิเทศและการขึ้นเครื่อง การเดินทางเริ่มต้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 1946 ฉันก�ำลัง จะก้าวขึ้นเครื่องบินตรงไปยังปารีส จากนั้น แฟรงเฟิร์ต และนูเรมเบิร์ก เป็นจุดหมายปลายทาง ฉันอาบฝักบัวน�้ำอุ่น เก็บของลงกระเป๋าอีกครั้ง เพิ่งรื้อเสื้อผ้าออกมาห้อยแขวนเมื่อวันครึ่งที่ผ่านมานี่เอง กระเป๋าเดินทาง เรือเดินสมุทรเคยรับใช้คณ ุ ตากับคุณตาทวดจากเมืองเนียร์แบร์ก, เยอรมนี เดินทางมายังสหรัฐฯ ในปี 1846 บัดนี้ กระเป๋าได้เดินทางกลับบ้าน เกิดอีกครั้งในอีกหนึ่งร้อยปีให้หลัง บรรทุกเสื้อผ้ าและข้าวของ ด้วย 18
วัตถุประสงค์ผิดแผกแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฉันเหนือ่ ยตาปิด แทบจะเดินไม่ไหว ไปถึงห้องบรรยายสรุปตีสี่ เกือบ ผิดเวลานัด ทหารจีไอทุกคนรอพร้อมทีน่ นั่ นายสิบ ผูก้ อง และผูพ้ นั อยู่ กันครบ ไม่มีใครตื่นเต็มตากระปรี้กระเปร่า ฉันคงแย่กว่าเพื่อน อีกครั้งที่ ฉันเป็นผูห้ ญิงคนเดียวในห้องนัน้ การปฐมนิเทศก่อนขึน้ เครือ่ ง เริม่ ต้นด้วย การบรรยายการสวมร่มชูชีพและเสื้อชูชีพ ผู้กองคงสังเกตเห็นอาการง่วงนอนของฉัน ปลุกฉันให้สะดุ้งสุดตัว ด้วยการเชิญฉันมาสาธิตหน้าห้อง แน่นอนอยู่แล้ว ฉันไม่ผ่านการทดสอบ ผู้กองยิ้มอารมณ์ดี บอกวิธีสวมร่มชูชีพเทอะทะ แถมด้วยถุงร่มส�ำรอง ห้อยใต้บั้นท้าย ผู้กองชี้ให้ดูสายกระตุกร่ม บอกวิธีดึงสาย ถ้าจ�ำเป็น ต้องกระโดดออกจากเครื่องบิน...กระโดดออกจากเครื่องบิน! ค�ำสั่งนั้น กระทุ้งสมองส่วนควบคุมการนอนของฉันเต็มรัก ฉันตื่นเต็มตา สนใจทุก ค�ำบรรยายแล้ว ฉันเริ่มลังเล ฉันจะเดินทางดีไหม? ผู้กองสาธิตวิธีสวม เสื้อชูชีพ ในครึ่งชั่วโมงถัดมา ฉันลองสวมและถอดร่มชูชีพและเสื้อชูชีพ โชคดีที่ฉันเลือกกางเกงผ้าขนสัตว์ขายาวส�ำหรับการเดินทางคราวนี้ หลังการบรรยายสรุป ฉันเดินกลับทีพ่ กั ไปเก็บรวบรวมข้าวของ จีไอ มีเป้หลังและอาวุธคู่มือ ฉันมีกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าสะพายไหล่ และ เสื้อโค้ตบุขนสัตว์ตัวโคร่ง เราเดินขึ้นเครื่องบินล�ำเลียง ดักลาส C-54 สกายมาสเตอร์ เคบินรับผู้โดยสารได้ 26 คน ในห้องนักบิน นักบินกับผู้ช่วยนั่ง เคียงข้างกัน คันบังคับสองชุด น�ำร่องกับพนักงานวิทยุนงั่ แถวหลัง ลูกเรือ ส�ำรองนัง่ อยูใ่ นห้องพักทีม่ เี ตียงนอน ห้องสุขา ถังน�ำ้ และห้องเก็บร่มชูชพี กับแพยาง ห้องเคบินมีชั้นวางเหนือหัว เก็บสัมภาระและแพยาง 4 ล�ำ ทางท้ายเครื่องเป็นห้องเก็บเสื้อคลุม ชั้นเก็บอาหาร ห้องสุขา และ อ่างล้างหน้า สัมภาระขนขึน้ เครือ่ งเวลาหกโมงเช้า ในความมืดหนาวเยือกลมพัดจัด 19
ฉันกับเพื่อนร่วมเครื่องเหนื่อยสาหัสจากการปาร์ตีสุดเหวี่ยงห้าชั่วโมงเต็ม แต่กก็ ระวนกระวายและตืน่ เต้นเมือ่ เครือ่ งใบพัดทัง้ สีส่ ง่ เสียงกระหึม่ ถึงเวลา แล้ว! เราจะโผบินขึ้นฟ้า นักบินอุ่นเครื่องอยู่ชั่วระยะ จากนั้น เครื่องเร่ง ความเร็วบนรันเวย์ เครื่องลอยขึ้นฟ้ามืดเดือนพฤศจิกายน เครื่องยนต์ ครางกระหึ่ม มืดเกินกว่าจะมองเห็นอะไร มีเพียงแสงไฟวิบวับที่ลดขนาดเล็กลง ในขณะที่เครื่องไต่เพดานบินขึ้นสูง เสียงเครื่องยนต์ดังจนพูดคุยกันไม่ได้ เราทุกคนนั่งเงียบ เครื่องบ่ ายหน้าไปทางเหนือตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดข้ามฟ้าสางไปยังโนวาสโกเชีย, นิวฟันด์แลนด์ ปลายแหลมกรีนแลนด์ และในไอซแลนด์ ห่างออกไป 1,500 ไมล์ อัตราเร็วสูงสุดของเครื่อง คือ 229 ไมล์ต่อชั่วโมงที่ 7,500 ฟุต และความเร็วของการบินอยู่ที่ 185 ไมล์ต่อชั่วโมงที่ระดับความสูง 10,000 ฟุต ความหวาดกลัวเรือ่ งทีไ่ ม่อาจคาดเดาได้ผดุ เข้ามาในความคิด แต่กอ่ น เครื่องจะบินไปถึงโนวาสโกเชีย ฉันหลับลึก ไม่ได้ตื่นลืมตาขึ้นอีกจนกว่า แปดชั่วโมงให้หลัง ในตอนที่เครื่องร่อนลงจอดที่เรคยาวิก เมืองหลวง ประเทศไอซแลนด์ ดินแดนหิมะขาวโพลน และทุ่งน�้ำแข็ง ความกว้างไม่ เกินสามร้อยไมล์ เรารอคอยในหอควบคุมการบินในระหว่างการซ่อมเครือ่ ง รออยูน่ าน ก่อนจะขึ้นเครื่องอีกครั้ง มุ่งตรงไปยังจุดหมายถัดไป ฉันได้รับการแนะน�ำ ให้รจู้ กั เพือ่ นร่วมทาง ภริยานายกรัฐมนตรีไอซแลนด์ เครือ่ งบินมีผโู้ ดยสาร สตรีสองคนแล้ว
ขวัญผวาเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก
เครื่องขึ้นฟ้าอีกครั้ง เรามุ่งหน้าทางตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่าน แอตแลนติกเหนือ มุง่ หน้าไปยังปารีส บินไปนานหลายชัว่ โมงจนถึงจุดทีไ่ ม่ 20
อาจย้อนกลับได้ เกิดเรือ่ งขวัญผวา เราไม่ได้รบั ค�ำบอกกล่าวว่าเป็นเรือ่ งใด แต่เราก็ปฏิบัติตามค�ำสั่งโดยไม่มีการตื่นตระหนกเสียขวัญ ขอให้ผู้โดยสาร ทุกคนสวมเสื้อชูชีพ เผื่อจะได้ลงอาบน�้ำ...หมายความว่ายังไง ลงอาบน�้ำ? ในน�ำ้ เย็นเฉียบคลืน่ สูง กลางมหาสมุทรแอตแลนติกนีน่ ะ จะโยนแพยางลง ไปก่อน พวกเราจะกระโจนลงน�้ำ แหวกว่ายตรงไปขึ้นแพยาง? เครื่องบิน จะจมเชือ่ งช้า แพยางของเราจะต้องหนีจากเครือ่ งบินให้ไกลทีส่ ดุ จะได้ไม่ โดนเครื่องดูดลงไปใต้คลื่นด�ำสูงทะมึนเหมือนภูผา เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน วันที่ 3 ตุลาคม ภัยพิบัติเลวร้ายที่สุดใน ประวัตศิ าสตร์การบินพลเรือนเกิดขึน้ เมือ่ เครือ่ งบินอเมริกนั มุง่ หน้าตรงไป ยังเบอร์ลิน ตกที่นิวฟันด์แลนด์ ลูกเรือพร้อมผู้โดยสารบุรุษสตรีและเด็ก 39 คน เสียชีวิตทั้งหมด ทุกคนเป็นลูกจ้างของกระทรวงสงคราม เป็น ญาติของเจ้าหน้าที่ที่ประจ�ำการในเยอรมนี เราใช้เวลาสวดมนต์ในใจนานหลายชั่วโมงในเสื้อชูชีพ หวาดหวั่น พรั่นกลัว ไม่รู้เรื่องอื่นใด เว้นแต่เพียงว่าเครื่องบินยังลอยอยู่ในอากาศ ฉันลืมไปแล้วว่าแรงขับเข้มข้นทีท่ ำ� ให้ฉนั ตัง้ ใจแน่วแน่วา่ จะเดินทางมา เยอรมนีเป็นเรือ่ งใด ความคิดเดียวทีอ่ ยูใ่ นหัว...ฉันมาอยูท่ นี่ ไี่ ด้ไง? ฉันมาท�ำ อะไรที่นี่? ชีวิตของฉันจะจบสิ้นก่อนจะได้เริ่มต้นเสียอีก แล้วทหารพวกนี้ อายุก็เท่าฉัน บางคนอ่อนกว่าด้วยซ�้ำ? ภาพในความคิ ด ของฉั น ฉั น มองเห็ น แม่ ยื น ร้ อ งไห้ อ ยู ่ ที่ ฐานบิ น เซลฟริดจ์ในดีทรอยต์เมื่อหลายวันก่อน กอดลูกสาวอายุยี่สิบสอง โบกมือ อ�ำลา ใจหายใจคว�่ำไม่รู้ว่าลูกสาวจะปลอดภัยหรือไม่ เราจะไปถึงทีห่ มายได้หรือไม่นะ? เครือ่ งบินมีปญ ั หาอะไรหรือ? ความ หวาดหวั่นจุดความตระหนกเงียบงันในอก ฉันพอจะมองเห็นความกลัวใน สายตาเหลียวซ้ายแลขวาของทหาร ไม่มีใครพูดคุย เรากลัวจนตัวแข็งไป แล้ว หมายความว่ายังไง เผื่อจะได้ลงไปอาบน�้ำ?
21
ร่อนลงปลอดภัยที่ปารีส ในที่ สุ ด เราบิ น ข้ า มมาถึ ง ดิ น แดนเขี ย วขจี ข องไอร์ แ ลนด์ เรา ดีอกดีใจที่ได้เห็นแผ่นดิน จนลืมไปว่าเราอาจจะตกลงมาโหม่งโลกก็เป็น ได้ เราเปลื้องเสื้อชูชีพเทอะทะออกจากตัว เริ่มหายใจได้เต็มปอดอีกครั้ง ในที่สุด หลังการบินอยู่นาน 22 ชั่วโมงเต็ม เราร่อนลงอย่างปลอดภัย ในปารีส เราได้รับค�ำบอกกล่าวว่าเครื่องบินน�้ำมันหมด! เราเหนื่อยล้า อ่อนเพลียจากการเดินทางไกลระทึกขวัญ ฉันกับ เพือ่ นทหารจีไอแยกย้ายกันไปยังจุดหมายตามค�ำสัง่ เจ้าหน้าทีส่ ถานทูตน�ำ ลิมซู นี มารับตัวภริยานายกรัฐมนตรีไอซแลนด์ ทหารมารับตัวฉันทีเ่ ครือ่ งบิน ขับรถไปส่งยังที่พักใกล้ชองป์ เอลิเซและประตูชัย รอคอยค�ำสั่งอยู่ในที่พัก เดินตระเวนในปารีสสองสามวัน ดูเหมือน ว่ามหานครนี้สะกดจิตฉัน ในที่สุด ค�ำสั่งตกมาถึง ฉันจะออกเดินทางไป ยังแฟรงก์เฟิร์ตด้วยเครื่องบิน C-47 สกายเทรนของกองทัพบกสหรัฐฯ เครื่องบินใบพัดสองเครื่องยนต์
ขึ้นเครื่องดักลาส C-47 สกายเทรน
เครือ่ งบินสกายเทรนมีนกั บิน ผูช้ ว่ ยนักบิน และพนักงานวิทยุ ห้องเก็บ สัมภาระ ห้องเคบิน และห้องสุขา พวกเขาเรียกเครื่องนี้ว่า 'กูนีย์ เบิร์ด' เพื่อนร่วมทางของฉันเป็นพลเรือนสังกัดกระทรวงสงคราม กลับจาก การหยุดพัก บินจากปารีสกลับไปท�ำงานในแฟรงก์เฟิร์ต หน้าที่ของเขา จะเป็นการลงบันทึกหลุมฝังศพทหารอเมริกันที่ฝังอยู่ในยุโรป เขาหอบหิ้ว ผ้าแสนสวยหลายหลา เตรียมไปมอบให้ฟรอไลน์ เพื่อนหญิงในเยอรมนี เขามีภรรยาแล้วในสหรัฐฯ นับเป็นครัง้ แรกทีฉ่ นั ได้รบั ข้อมูลพิเศษของทหาร ที่ท�ำหน้าที่ยึดครองเยอรมนี เมื่อฉันเดินทางมาถึงนูเรมเบิร์ก ฉันได้ทราบ ว่าการใช้ชีวิตสองครอบครัวเป็นเรื่องปกติสามัญ 22
ฉันไม่ตื่นตระหนกนักในการเดินทางเที่ยวนี้ มีโอกาสได้มองออกไป นอกหน้าต่าง ดูทิวทัศน์สวยงามของฝรั่งเศส ดูเหมือนว่าอาคารหลังใหญ่ หลังเล็ก ล้วนแต่มีหลังคากระเบื้องสีแดง ภาพที่ฉันไม่เคยเห็นมาก่อน ทันทีทันใด ทิวทัศน์เบื้องล่างเปลี่ยนไปสิ้น เราบินอยู่เหนือเยอรมนี แล้ว มองลงไปเห็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดทลายราบ ด�ำแกมเทา ดินแดน ภัยพิบตั จิ ากสงคราม น่าเศร้าชวนให้หดหู่ ฉันไม่อาจละสายตาไปจากซาก ปรักหักพังในแฟรงก์เฟิร์ต ก่อนสงคราม เป็นมหานครใหญ่มีประชากร หกแสนคน บัดนี้เหลือแต่เพียงซากหักพังไกลสุดลูกหูลูกตา เหลือเพียง โครงอาคารเท่านั้นที่ยังยืนตระหง่านอยู่ หน้าต่างกลวงว่างเปล่าคล้ายจะ เบิ่งตามองฉัน เครือ่ งร่อนลงในแฟรงก์เฟิรต์ ทหารมารับตัวฉัน น�ำเข้าทีพ่ กั ชัว่ คราว ค้างคืน ฉันได้รู้จักที่นอนยัดขนนกหนาเป็นฟุตแบบเยอรมันเป็นครั้ง แรก เช้าวันถัดมา ฉันไปรายงานตัวกับผู้พัน ผู้แจ้งให้ฉันทราบว่าค�ำสั่ง ของฉันเปลี่ยนไปแล้ว ฉันจะต้องรั้งรออยู่ในแฟรงก์เฟิร์ต ท�ำงานบันทึก ถ้อยค�ำพยานหลักฐานทีจ่ ะมีการพิจารณาคดีทนี่ ี่ เรือ่ งทีท่ ำ� ให้ฉนั ตกใจและ ผิดหวัง ฉันไม่อยากท�ำงานในแฟรงก์เฟิร์ต ฉันต้องการจะไปท�ำงานที่ นูเรมเบิร์ก ฉันตกตะลึง ฉันรวบรวมความคิดได้ทันท่วงที สะกดข่มความโกรธ "ไม่, ฉัน ลงชื่อท�ำสัญญากับกระทรวงสงครามให้มาท�ำงานบันทึกถ้อยค�ำศาลใน นูเรมเบิร์ก ฉันจะไปที่นูเรมเบิร์ก ไม่เช่นนั้น คุณก็ต้องส่งฉันกลับสหรัฐฯ" ฉันประหลาดใจในตัวเองเหมือนกันที่ยืนยันได้หนักแน่นขนาดนั้น อย่างไร ก็ตาม นี่เป็นคราวแรกที่ฉันรู้สึกถึงพลังอ�ำนาจในการเป็นราษฎรอเมริกัน (ที่มีสัญญากระทรวงสงครามหนุนหลัง) ถ้าฉันเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวง สงคราม ส่งตัวมาเพื่อท�ำงานในเยอรมนี ฉันก็คงไม่มีอ�ำนาจต่อรอง ผู้พันไม่เถียงกับฉันให้มากความ ฉันรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่หนักแน่นแน่วแน่ ในงานที่ท�ำ 23
การเดินทางตื่นตระหนกช่วงสุดท้า
ไม่นานหลังจากนั้น ค�ำสั่งยังไม่แปรเปลี่ยน ฉันเดินทางมุ่งหน้า ไปยังนูเรมเบิรก์ ด้วยเครือ่ ง C-47 อีกล�ำ คราวนี้ มีเก้าอีเ้ ฉพาะตัวเรียงราย ติดสองฟากข้าง เท่าที่ฉันจ�ำได้ ผู้โดยสารสี่คนนั่งจองเก้าอี้ตรงกันข้ามกัน อนุศาสนาจารย์นั่งตรงข้ามฉันคั่นกลางด้วยทางเดินเล็กแคบ ไม่มีใครพูด คุยกัน เหนือบ่าของคนที่นั่งตรงกันข้าม ฉันมองเห็นเมฆสีเทากราดเกรี้ยว อากาศแปรปรวน เมฆหนา ด้านล่างมองไม่เห็นอะไร เครือ่ งบินกระเพือ่ ม โยนตัว นักบินกองทัพอากาศคุยกับใครสักคนในห้องนักบิน อาจเป็นนักบิน ผู้ช่วยหรือพนักงานวิทยุ บอกว่าต้องบินวนเหนือนูเรมเบิร์ก รอคอยค�ำสั่ง ให้รอ่ นลง ประตูหอ้ งนักบินเปิด เราได้ยนิ ทุกอย่างทีพ่ ดู คุยกัน เสียงถัดมา บอกกันว่าน�้ำมันแทบไม่เหลือแล้ว เสียงสบถไร้ขีดจ�ำกัด ส�ำทับด้วยเสียง การตัดสินใจเด็ดขาด "ฉันจะพาเครื่องทะลุเมฆลงไปแล้ว ไม่ ว่างไม่ว่าง ก็ต้องหาที่ให้ฉันลง" เราได้ยินเต็มสองหู ความเงียบสงัด อนุศาสนาจารย์ฝั่งตรงข้ามพริ้ม ตาหลับ ปากขยับสวดมนต์ ฉันเองก็สวดมนต์เช่นกัน เร็วเกินไปจนท�ำใจ ไม่ทัน เพิ่งผ่านพ้นวิกฤติกลางแอตแลนติกมาหมาดๆ ต้องมาเจออีกครั้ง แล้ว ในระหว่างทีเ่ ครือ่ งกระเพือ่ มเป็นวงเหนือสนามบิน นักบินวิทยุแจ้งหอ บังคับการบิน ขอร่อนลงฉุกเฉิน เสียงตะโกนก้อง "ฉันรอต่อไปไม่ไหวแล้ว น�้ำมันเกลี้ยงถัง ปักหัวลงมาแล้ว" เรารู้สึกได้ถึงการลดความสูงรวดเร็ว เครื่องแหวกผ่านเมฆหนา และ แล้ว ล้อกระแทกพืน้ ความหวาดหวัน่ ของฉันแล่นเอือ่ ยมาจนจอดนิง่ ไม่มี ใครพูดอะไร ในท้ายที่สุด ฉันเดินทางมาถึงนูเรมเบิร์ก เมืองหนาวเหน็บ หิมะปกคลุมซากปรักหักพัง ฉันมายืนอยู่บนพื้นดินของนูเรมเบิร์กในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1946 24
การเดินทางยาวนาน 45,000 ไมล์อากาศ เวลา 35 ชั่วโมงกลาง อากาศ จากดีทรอยต์ถึงนูเรมเบิร์ก ฉันไม่เคยถามว่าจะต้องไปรายงานตัว ที่ไหน นายทหารจะรอท่าอยู่เสมอ ตรวจค�ำสั่ง ชี้ทาง และน�ำฉันไปส่ง เข้าที่พัก ดูแลว่าฉันจะเดินทางไปถึงที่หมายได้ทันเวลา มีอาหารสามมื้อ ฉันเริ่มรู้สึกได้แล้วว่ากระทรวงสงครามให้ความส�ำคัญต่องานนี้แค่ไหน ฉัน เดินทางทุกระยะด้วยเครื่องบิน ในขณะที่ผู้พิพากษาและพนักงานคนอื่นๆ เดินทางทางเรือ กินเวลาสิบกว่าวันกลางทะเล ต่อด้วยรถจากเบรเมอร์ฮาเวน ทางตอนเหนือของเยอรมนีมายังนูเรมเบิรก์ ก็จริง, ฉันเป็นหญิง ตัวคนเดียว อายุยังน้อย แต่ก็น่าจะเอนเอียงมาทาง การขาดไร้ผู้บันทึกถ้อยค�ำในศาล เสียมากกว่า กระทรวงสงครามจะเริ่มพิจารณาคดีระลอกหลัง 12 คดี คดีหมายเลข 1 จะเป็นการพิจารณาคดีแพทย์ผู้กระท�ำความผิดต่อ มนุษยชาติ
25