The Way of the Knife ซี ไอเอ : สงครามลับปลายขอบฟ้า Mark Mazzetti นพดล เวชสวัสดิ์
เขียน แปล
มาร์ก มาเซ็ตติ, ผูส้ อื่ ข่าวความมัน่ คงแห่งชาติของ เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ ในปี 2009 ได้รบั รางวัลพูลติ เซอร์รว่ ม ส�ำหรับข่าวความรุนแรงทีย่ กระดับ ขึ้ น ในอั ฟ กานิ ส ถานกั บ ปากี ส ถาน และการตอบสนองของวอชิ ง ตั น นอกจากนีย้ งั ได้รบั รางวัลจอร์จ โพลก์(ร่วมกับเด็กซเตอร์ ฟิลกินส์) รางวัล ลิฟวิงสตัน ส�ำหรับการเจาะข่าวการท�ำลายเทปบันทึกภาพการลงทัณฑ์ ทรมานของซีไอเอ มาเซ็ตติเขียนให้ ลอสแองเจลีส ไทมส์, ยูเอส นิวส์ & เวิลด์ รีพอร์ต และ ดิ อีโคโนมิสต์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ในวอชิงตัน ดีซี.
ผู้เล่นส�ำคัญ ส�ำนักงานข่าวกรองกลาง(ซีไอเอ) * ชาร์ลส แอลเลน, ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ, รวบรวมข่าว, 1998-2005 * เจ. โคเฟอร์ แบล็ก, ผูอ้ ำ� นวยการ, ศูนย์ตอ่ ต้านการก่อการร้าย CTCCounterterrorist Center, 1999-2002 * เดนนิส แบลร์, ผู้อ�ำนวยการร่วม, สนับสนุนการทหาร, 1995-1996, ผู้อ�ำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ, 2009-2010 * ริชาร์ด บลี, หัวหน้าสถานีอะเล็ก (หน่วยบิน ลาดินแห่งศูนย์ต่อต้าน การก่อการร้าย), 1999-2001 * วิลเลียม เคซีย์, ผู้อ�ำนวยการ, 1981-1987 * ดวน ‘ดิวอี้’ คลาร์ริดจ์, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และผู้ก่อตั้งศูนย์ต่อ ต้านการก่อการร้าย * เรย์มอนด์ เดวิส, เอกชนรับสัญญาซีไอเอ, ถูกจับในปากีสถานปี 2011 * พอร์เตอร์ กอสส์, ผู้อ�ำนวยการ, 2004-2006 * รอเบิร์ต เกรเนียร์, หัวหน้าสถานี, อิสลามาบัด, 1999-2002, ศูนย์ ต่อต้านการก่อการร้าย, 2004-2006 [ชื่อ CTC เปลี่ยนจาก Counterterrorist Center เป็น Counterterrorism Center ในปี 2005] * ไมเคิล เฮย์เด็น, ผู้อ�ำนวยการ, 2006-2009 * สตีเฟน แคปป์ส, รองผู้อ�ำนวยการ, 2006-2010 * อาร์ต เคลเลอร์, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในปากีสถาน, 2006 3
* ไมก์ ผู้อ�ำนวยการ, ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย, 2006* รอสส์ นิวแลนด์, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในลาตินอเมริกาและยุโรป ตะวันออก ในเวลาต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในศูนย์บัญชาการซีไอเอ * ลีออน พาเน็ตตา, ผู้อ�ำนวยการ, 2009-2011 * เจมส์ เพวิตต์, รองผู้อ�ำนวยการ, ปฏิบัติการ, 1999-2004 * พลเอกเดวิด เพทรัยอัส(เพ-ทรัย-อัส), ผู้อ�ำนวยการ, 2011-2012, ผู้ บัญชาการ, กองบัญชาการกลางสหรัฐอเมริกา, 2008-2010 * เอนริเก ปราโด, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ท�ำงานในศูนย์ต่อต้านการ ก่อการร้าย ในเวลาต่อมา เป็นพนักงานแบล็กวอเตอร์ * โฮเซ โรดิเกวซ, ผู้อ�ำนวยการ, ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย, 20022004, รองผู้อ�ำนวยการ, ปฏิบัติการ, 2004-2007 * จอร์จ เทเน็ต, ผู้อ�ำนวยการ, 1997-2004 กระทรวงกลาโหม * รอเบิร์ต แอนดรูว์ส, รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหม ฝ่ายปฏิบัติการ และความขัดแย้งระดับต�่ำ, 2001-2002 * สตีเฟน แคมโบน, รัฐมนตรีช่วยกลาโหม ฝ่ายข่าวกรอง, 2003-2007 * ไมเคิล เฟอร์ลอง, เจ้าหน้าทีก่ ลาโหม ปฏิบตั กิ ารการข่าว ในท้ายทีส่ ดุ บัญชาการปฏิบัติการสายลับเอกชน * รอเบิร์ต เกตส์, รัฐมนตรีกลาโหม, 2006-2011 * พลเอกสแตนลีย์ แม็กคริสตัล, ผู้บัญชาการ กองบัญชาการร่วมปฏิบัติ การรบพิเศษ JSOC-Joint Special Operations Command, 20032008 * พลเรือเอกวิลเลียม แม็กเครเว็น, ผูบ้ ญ ั ชาการ กองบัญชาการร่วมปฏิบตั ิ การรบพิเศษ JSOC, 2008-2011 * พลเรือเอกไมเคิล มุลเล็น, ประธานคณะเสนาธิการ, 2007-2011 4
* ทอมัส โอ’คอนเนลล์, ผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหม ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษ และความขัดแย้งระดับต�่ำ, 2003-2006 * ลีออน พาเน็ตตา, รัฐมนตรีกลาโหม, 2011-2013 * โดนัลด์ รัมสเฟลด์, รัฐมนตรีกลาโหม, 2001-2006 ท�ำเนียบขาว * จอห์น เบรนแนน, ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายความมั่นคงภายใน และ การต่อต้านการก่อการร้าย, 200-2013 * ริชาร์ด คลาร์ก, ผูป้ ระสานงานการต่อต้านการก่อการร้าย, 1998-2001 ปากีสถาน * ชาห์กิล อะฟริดี, แพทย์ชาวปากีสถาน ว่าจ้างให้เป็นสายลับให้ซีไอเอ * พลโทมมาห์มุด อาห์เม็ด, ผู้อ�ำนวยการใหญ่, ข่าวกรองกลาง ISIInter-Services Intelligence, 1999-2001 * พลโทอาลี จาน ออรัคไซ, แม่ทัพภาค รับผิดชอบพื้นที่ชนเผ่าของ รัฐบาลกลาง FATA-Federally Administered Tribal Areas * เรย์มอนด์ เดวิส, ผู้รับสัญญาซีไอเอ, ถูกจับในปากีสถานปี 2011 * พลโทเอห์ซาน อุล ฮัค, ผู้อ�ำนวยการใหญ่, ข่าวกรองกลาง, 20012004 * จาลาลุดดิน ฮัคคานี, ผู้น�ำเครือข่ายอาชญากรรม ที่มั่นในพื้นที่ชนเผ่า ผู้น�ำกองก�ำลังโจมตีทหารอเมริกันในอัฟกานิสถาน * พลเอกอัชฟาค ปาร์เวซ คายานี, ข่าวกรองกลาง, 2004-2007, เสนาธิการกองทัพบก, 2007* ไบตุลลาห์ เมห์ซุด, ผู้น�ำตอลิบันปากีสถาน หลังการตายของมูฮัม หมัด วาซีร์ * พลจัตวาอาซาด มูเนียร์, หัวหน้าสถานี ISI ในเปชาวาร์, 2001-2003 5
* คาเมรอน มันเตอร์, เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกันในอิสลามาบัด, 2010-2012 * พลโทอาห์มดั ชูจา ปาชา, ผูอ้ �ำนวยการใหญ่, ข่าวกรองกลาง, 20082012 * ฮาฟิซ มูฮัมหมัด ซาอีด, หัวหน้ากลุ่มลาชการ์-อี-ไทบา(กองทัพแห่ง ความบริสุทธิ์) * เน็ค มูฮัมหมัด วาซีร์, ผู้น�ำตอลิบันปากีสถานในพื้นที่ชนเผ่า เยเมน * อิบราฮิม อัล-อัสซิรี, เจ้าแห่งการสร้างระเบิดส�ำหรับอัลกออิดะห์ใน คาบสมุทรอาหรับ AQAP-al Qaeda in the Arabian Peninsula * อับดุลราห์มาน อัล-อะวากี, ลูกชายของอันวาร์ อัล-อะวากี * อันวาร์ อัล-อะวากี นักเทศน์หัวรุนแรง สมาชิกกลุ่ม AQAP ถือ สัญชาติอเมริกัน * อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์, ประธานาธิบดี, 1990-2012 โซมาเลีย * อาเด็น ฮาชิ ฟาราห์ อาโร, ผู้น�ำกลุ่มอัล ชาบับยุคต้น * ชีค ฮัสซัน ดาเฮียร์ อาวีย์, ผู้น�ำกลุ่มสหภาพศาลอิสลาม ICU- Islamic Courts Union * มิเชล ‘อะมิรา’ บัลลาริน นักธุรกิจอเมริกัน และผู้รับสัญญาว่าจ้าง จากรัฐบาลสหรัฐฯ * ซาเลห์ อาลี ซาเลห์ นาบาห์น, ชาวเคนยา สมาชิกกลุ่มอัลกออิดะห์ หน่วยแอฟริกาตะวันออก ถูกฆ่าในปี 2009 * พันธมิตรเพื่อฟื้นฟูสันติภาพและต้านการก่อร้าย ARPACT- Alliance for the Restoration of Peace and Counterterrorism กลุ่ม 6
กองก�ำลังโซมาเลียที่ซีไอเอหนุนหลัง * อัล-ชาบับ (‘ผู้เยาว์’) กองก�ำลังติดอาวุธของสหภาพศาลอิสลาม
7
บทน�ำ : สงครามไกลโพ้น “งานข่าวกรองชั้นดี จะปลูกฝังการควบคุมให้เนิบช้าทีละน้อยทีละนิดและ นุ่มนวลอ่อนโยน นักล่าหนังหัวจะเป็นข้อยกเว้น เล่นตามกติกาตัวเอง พวกนี้ห่างไกลความเนิบช้าและอ่อนโยน...” จอห์น เลอ คาเร, Tinker, Tailor, Soldier, Spy
ต�ำรวจปากีสถานลากตัวสายลับอเมริกันร่างใหญ่เข้าไปในห้องสอบปากค�ำ คนพลุกพล่าน ในเสียงเซ็งแซ่ของมือถือและการพูดคุยกันโหวกเหวก ภาษา อูรดู ปัญจาบ และอังกฤษ พนักงานสอบสวนพยายามรีดข้อเท็จจริงของ คดีนี้ “อเมริกา, แกมาจากอเมริกา?” “ใช่” “แกมาจากอเมริกา และแกสังกัดสถานทูตอเมริกัน?” “ใช่” เสียงคนอเมริกันกระวนกระวายใจ เสียงดังกว่าเสียงอื้ออึง รอบข้าง “หนังสือเดินทางของฉันอยูท่ เี่ กิดเหตุ ฉันหยิบให้ต�ำรวจดู...ทีไ่ หน สักแห่ง หายไปแล้ว” วิดีโอเต้นกระตุก บันทึกภาพของชายสหรัฐฯ ล้วงเข้าไปในเชิ้ต สักหลาดอ่อนตาหมากรุก ดึงเอาตราห้อยแขวนเชือกห้อยคอ หลักฐานที่ 8
รักษาไว้ได้ในความโกลาหลกลางการจราจรวุ่นวาย “ตราเก่า นี่คือ อิสลามาบัด” เขายื่นตราให้คนอีกฟากโต๊ะดู พลิก มาหาตราล่าสุด พิสจู น์ยนื ยันว่าเขาท�ำงานในสถานกงสุลอเมริกนั ในลาฮอร์ เสียงดังขึน้ ต�ำรวจนายหนึง่ รับสายและรายงาน “จับตัวคนสถานทูต ฉันจะโทรกลับ” การสอบปากค�ำด�ำเนินต่อไป “แกท�ำงานในสถานกงสุลใหญ่ในลาฮอร์?” “ใช่” “ต�ำแหน่ง...” “ฉัน, ฉันท�ำงานเป็นที่ปรึกษาที่นั่น” “ทีป่ รึกษา?” คนอีกฟากหนึง่ ของโต๊ะแคลงใจ นิง่ คิดชัว่ ครู่ ก่อนพ่น ภาษาอูรดูถามต�ำรวจอีกคน “ชื่ออะไร?” “เรย์มอนด์ เดวิส” ต�ำรวจคนนั้นให้ค�ำตอบ “เรย์มอนด์ เดวิส” คนอเมริกันยืนยัน “ขอนั่งลงได้ไหม?” “ได้โปรด, เชิญนั่ง ให้น�้ำ?” ต�ำรวจถาม “มีขวดไหม? น�้ำในขวด?” เดวิสถาม ต�ำรวจอีคนในห้องหัวเราะ “แกต้องการน�ำ้ ?” เขาถาม “ไม่มีเงิน ไม่มีน�้ำ” หลังเก้าอี้ที่เดวิสนั่ง ต�ำรวจอีกคนเดินเข้ามาในห้อง สอบถามความ คืบหน้า “มันเข้าใจเรื่องทั้งหมดไหม? มันเพิ่งฆ่าคนตายสองคน?” เรย์มอนด์ แอลเลน เดวิส อดีตดาราฟุตบอลอเมริกัน นักมวยปล�้ำ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เวอร์จิเนีย และกรีนเบเรต์ เกษียณอายุจาก กองทัพบก ครั้งหนึ่งเคยเป็นทหารรับจ้างของ ‘แบล็กวอเตอร์ ยูเอสเอ’ บัดนี้ เป็นสายลับซีไอเอในปากีสถาน หลายชั่วโมงก่อนหน้านั้น แทรก เรือนกายใหญ่ยกั ษ์นงั่ ในเบาะคนขับรถฮอนด้าซีวกิ สีขาวฝ่าการจราจรแออัด 9
ในลาฮอร์ มหานครทีเ่ คยตกอยูใ่ ต้ปกครองของจักรวรรดิโมกุล ซิกข์ และ อังกฤษ ลาฮอร์เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและปัญญาของปากีสถาน สิบ ปีที่ผ่านมา ล่อแหลมต่อการเป็นสนามรบของสงครามลับของอเมริกาใน ปากีสถาน ลุถึงปี 2011 แผนที่กองก�ำลังอิสลามในปากีสถานมีการขีดเส้นเสีย ใหม่ กลุ่มเล็กก๊กย่อยที่แทบไม่เคยติดต่อกัน บัดนี้ ลงนามผนึกก�ำลังกัน เพื่อให้รอดพ้นจากการถล่มด้วยโดรนของซีไอเอในเทือกเขาตะวันตก กอง ก�ำลังที่เคยทุ่มเทรบรากับอินเดีย ขณะนี้ โอนเอียงเข้ามาใกล้อัลกออิดะห์ และองค์กรอืน่ ทีก่ ระเหีย้ นกระหือรืออยากท�ำญิฮาด-สงครามศักดิส์ ทิ ธิท์ วั่ ทุก มุมโลก บางกลุ่มหยั่งรากลึกในลาฮอร์ ด้วยเหตุผลนี้เองที่เรย์มอนด์ เดวิ สกับทีมซีไอเอออกปฏิบัติการจากเซฟเฮาส์ในมหานคร แต่ในตอนนี้ เดวิสนั่งอยู่ในสถานีต�ำรวจลาฮอร์ ยิงชายสองคนดิ้น กลางถนน ชายสองคนชักปืนถือในมือ ขี่มอเตอร์ไซค์แทรกเข้ามาในแถว รถยนต์ จักรยาน และรถลาก พุ่งตรงดิ่งมาหาฮอนด้าซีวิก เดวิสดึงปืน กล็อกออกมา ยิงผ่านกระจกหน้า กระจกแตกกระจาย กระสุนก�ำมือใหญ่ เจาะเข้าหน้าท้อง แขน และส่วนอื่นของร่างกายของชายคนแรก อีกคน หลบหนี เดวิสเปิดประตูรถ ยิงตามไปหลายนัดเข้าแผ่นหลัง เขาวิทยุขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุลอเมริกัน ไม่กี่นาที รถโต โยต้าแลนด์ครูเซอร์โผล่มาให้เห็น แล่นสวนเข้ามาในช่องการเดินรถทาง เดียว รถชนหนุม่ ปากีสถานตายไปหนึง่ ทิง้ เรย์มอนด์ เดวิสให้ยนื โดดเดีย่ ว กลางถนน สมบัติส่วนตัวกระจายเกลื่อนในรถฮอนด้าซีวิก ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากไอ้โม่งสีด�ำ กระสุนราวร้อยนัด เศษผ้าที่เป็นผืนธงสหรัฐฯ มือ ถือที่มีภาพถ่ายฐานที่ตั้งค่ายทหารปากีสถาน แอบถ่ายอย่างลับ หลายวันหลังเรื่องวุ่นวายกลางถนน ผู้อ�ำนวยการซีไอเอโกหกเจ้าพ่อ สายลับปากีสถานในการพูดคุยทางโทรศัพท์วา่ เรย์มอนด์ เดวิสไม่ได้ท�ำงาน ให้ซไี อเอ ประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวคลุมเครือในการแถลงข่าวต่อ 10
สือ่ มวลชน เรียกร้องเพียงแค่ “ให้ปล่อยตัวนักการทูตของเราในปากีสถาน” หัวหน้าสถานีซไี อเอในอิสลามาบัด เพิง่ เดินทางมาถึงไม่กวี่ นั ก่อนการยิงกัน กลางถนน มีปากเสียงเถียงกับทูตอเมริกันรุนแรง ยืนยันว่า สหรัฐฯ จะ ต้องไม่ต่อรอง ไม่ยอมแลกสิ่งใดในการปล่อยตัวเดวิส แจ้งให้ทูตทราบ ว่า เกมในปากีสถานเปลี่ยนไปแล้ว ความสัมพันธ์ฉันมิตรในความร่วมมือ สายลับระหว่างซีไอเอกับปากีสถานผ่านพ้นไปแล้ว นับแต่นไี้ ป การท�ำงานทุกเรือ่ งจะต้องใช้ ‘กติกามอสโก’ * วิถสี ายลับ ที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เหี้ยมเกรียมดุดัน เหมือนที่ปฏิบัติ ต่อข้าศึกศัตรูในช่วงสงครามเย็น ค�ำกล่าวนัน้ ยืนยันทฤษฎีสมคบคิดของการดวลปืนโชกเลือดกลางตลาด จอแจ และในโครงสร้างอ�ำนาจในปากีสถาน : สหรัฐอเมริกาส่งกองทัพ ลับเข้ามาในปากีสถาน กระจายอยู่ทุกหัวระแหง หว่านโปรยความวุ่นวาย โกลาหลและความรุนแรง เป็นส่วนหนึ่งของสงครามลับของสหรัฐฯ ใน ประเทศนี้ ภรรยาของเหยื่อกระสุนของเดวิส เชื่อแน่ว่ามือปืนที่คร่าชีวิต สามีของเธอ ไม่มีวันได้รับโทษ เธอกลืนสารหนูฆ่าตัวตาย แต่ไล่ยงิ กันกลางตลาดของเดวิสฉายให้เห็นภาพใหญ่กว่านัน้ อดีตรบ พิเศษกรีนเบเรต์รับจ้างซีไอเอล่าหัวมนุษย์ในปากีสถาน เป็นโฉมหน้าใหม่ ขององค์กรสายลับอเมริกนั ทีแ่ ปลงร่างหลังความขัดแย้งนานหลายทศวรรษ ห่างไกลจากสงครามที่มีการประกาศเป็นทางการ ไม่มีอีกแล้ว การท�ำ จารกรรมรูปแบบดั้งเดิม ทุ่มเทเวลาและพลังงานสืบความลับของรัฐบาล ชาติอื่น...ส�ำนักงานข่าวกรองกลาง-ซีไอเอ กลายเป็นเครื่องจักรกลสังหาร หมกมุ่นอยู่กับการไล่เด็ดหัวมนุษย์ ในขณะที่ซีไอเอโอบรับภารกิจที่เคยเป็นของทหาร สายลับกลาย เป็นทหาร ผลสะท้อนตรงกันข้ามเกิดขึ้นเช่นกัน กองทัพอเมริกันกระจาย แทรกซึมเข้าไปในนโยบายลับของรัฐบาล ชุดปฏิบัติการพิเศษท�ำภารกิจ สายลับที่วอชิงตันไม่อาจฝันถึง ก่อน 9/11 ก่อนการบังคับเครื่องบินพุ่ง 11
ชนตึกเวิลด์เทรดในวันที่ 11 กันยายน เพนตากอนแทบจะไม่มปี ฏิบตั กิ าร สายลับ และซีไอเอไม่ได้รับอนุญาตให้ล่าสังหาร หลายปีหลังจาก 9/11 ทั้งทหารและซีไอเอท�ำทั้งสองอย่าง ศูนย์งานข่าวทหารผุดขึ้นมาให้เห็น เปิดฉากรุกรบในสงครามอเมริกันครั้งใหม่ ประวัติศาสตร์การสู้รบในอัฟกานิสถานและอิรักเป็นที่ทราบกันดีแล้ว แต่สบิ ปีเศษทีผ่ า่ นมา สงครามลับ แยกไปอีกทิศและคูข่ นานกัน ด�ำเนินไป อย่างเข้มข้น และสะท้อน ‘มหาสงคราม’ ทีส่ หรัฐฯ รุกรบขนานใหญ่หลัง การโจมตี 9/11 ในดินแดนสหรัฐฯ สงครามในเงามืดไล่ล่าศัตรูทั่วทุกมุม โลก เสาะหาและสังหารด้วยหุ่นยนต์สังหาร และหน่วยรบพิเศษ ว่าจ้าง เอกชนให้วางเครือข่ายสายลับ ร่วมมือใกล้ชิดกับผู้น�ำเผด็จการ เครือข่าย สายลับที่เชื่อใจไม่ได้ และกองก�ำลังผ้าขี้ริ้วท�ำสงครามตัวแทน ในสถานที่ ที่ไม่อาจส่งกองทัพสหรัฐฯ เข้าไป จะมีคนพิลึกโผล่มาท�ำหน้าที่แทน ไม่ ว่าจะเป็นเจ้าหน้าทีเ่ พนตากอนสูบบุหรีม่ วนต่อมวน จับมือกับสายลับซีไอเอ ที่เคยมีประวัติด่างพร้อยซื้อขายอาวุธอิหร่าน-คอนทรา ปฏิบัติการสายลับ นอกต�ำราในปากีสถาน และทายาทสาวจากแดนม้าแข่งในเวอร์จิเนีย ผู้ หมกมุ่นฝังใจกับการสู้รบในโซมาเลีย เดินทางเข้ามารบเร้าเพนตากอนให้ ว่าจ้างเธอให้ล่าหัวอัลกออิดะห์ในประเทศนั้น สงครามลับแพร่ขยายข้ามหลายทวีป จากเทือกเขาในปากีสถานไป จนถึงทะเลทรายในเยเมนและแอฟริกาเหนือ จากการสู้รบแย่งชิงอ�ำนาจ ของชนเผ่าในโซมาเลียไปจนถึงป่าทึบในฟิลปิ ปินส์ สงครามลับวางรากฐาน โดยประธานาธิบดีรีพับลิกันอนุรักษนิยม และโอบรับโดยประธานาธิบดีเด โมแครตลิเบอรัลทีร่ บั มอบมรดกนีม้ า ประธานาธิบดีบารัก โอบามามองว่า สงครามเป็นทางออก ทางเลือกแทนที่สงครามยืดเยื้อราคาแพงในการโค่น ล้มรัฐบาลและต้องใช้การยึดครองของกองก�ำลังอเมริกันนานหลายปี จาก ค�ำจ�ำกัดความของจอห์น เบรนแนน หนึง่ ในทีป่ รึกษาใกล้ชดิ ประธานาธิบดี ที่สุด ประธานาธิบดีบารัก โอบามาเลือกที่จะใช้บริการของซีไอเอ แทน 12
การใช้ ‘ค้อน’ ทุบ อเมริกาหันมาใช้วิธี ‘มีดผ่าตัด’ การเทียบเคียงบ่งบอกว่าสงครามประเภทใหม่ ไม่เปลืองต้นทุนสูง ไม่ เสี่ยงต่อความผิดพลาดหละหลวม...การผ่าตัดที่ไม่เกิดผลแทรกซ้อนตามมา แต่โดยความเป็นจริง หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ วิถีแห่งมีด(ผ่าตัด) สร้างศัตรู หน้าใหม่ได้มากพอกับศัตรูที่กำ� จัดทิ้ง กลายเป็นการเพาะบ่มความเกลียด แค้นชิงชังในมวลหมูก่ ลุม่ ทีเ่ คยเป็นพันธมิตร ท�ำลายเสถียรภาพความมัน่ คง แม้ประสงค์จะน�ำความสงบเป็นระเบียบไปก�ำราบความวุน่ วายโกลาหล วิธี การนีต้ อ่ สายลัดวงจรกระบวนวิธที สี่ หรัฐฯ เข้าสูส่ งคราม ในฐานะประเทศ เอกราช เปลี่ยนประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้กลายเป็นผู้พิพากษา ตัดสินใจ ลงความเห็นว่ามนุษย์คนหนึ่งในดินแดนไกลโพ้น จะอยู่หรือตาย วิถีแห่ง มีดประสบความส�ำเร็จล้นหลาม รวมตลอดไปถึงการปลิดชีวิตอุซามะ บิน ลาดิน และกลุ่มคนวงในใกล้ชิดที่สุด แต่ก็เป็นการลดมาตรฐานการท�ำ สงครามให้ต�่ำลง บัดนี้ สหรัฐฯ ออกปฏิบัติการล่าสังหารปลายขอบฟ้า มากกว่าช่วงเวลาไหนๆ ในประวัติศาสตร์ เนื้อหาที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของการทดลองที่กระท�ำต่อเนื่องยาวนานเกินกว่าสิบปี และ สิ่งที่โผล่ออกมาจากห้องปฏิบัติการ เซอร์ริชาร์ด เดียร์เลิฟ ได้สัมผัสอนาคต หลายสัปดาห์หลังเหตุการณ์ 9/11 หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ, MI6 เดินทางมายังสหรัฐฯ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ MI6 เพื่อแสดงความเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกันของพันธมิตรแนบแน่นที่สุดของสหราชอาณาจักร เดียร์เลิฟเดิน ทางมาถึงศูนย์บัญชาการซีไอเอในแลงลีย์, เวอร์จิเนีย น�ำข่าวมาแจ้ง เป็นการส่วนตัวให้ซไี อเอทราบว่า MI6 พร้อมจะมอบข้อมูลของอัลกออิดะห์ ทั้งหมดที่มีอยู่ในมือให้ซีไอเอ สายลับอังกฤษเป็นครูสอนสั่งศาสตร์โลกมืดของการท�ำจารกรรมให้ สหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ครูกับลูกศิษ์แยกทางกันเดิน 13
เนิ่นนานมาแล้ว ในปี 1943 หนึ่งในสมาชิกของผู้อ�ำนวยการปฏิบัติการ พิเศษของวินสตัน เชอร์ชิล บ่นโวยวายว่า “สภาพจิตของคนอเมริกัน ต้องการผลลัพธ์เร็วหวือหวา ในขณะทีน่ โยบายอังกฤษคืบเคลือ่ นทีละน้อยที ละนิด ผูกสัมพันธ์ระยะยาว” เขาชีใ้ ห้เห็นถึงภัยอันตรายของ OSS-Office od Strategic Service หน่วยสืบราชการลับทหารอเมริกัน บรรพบุรุษ ของซีไอเอ ซึ่งนิยมการระเบิดคลังแสง ตัดสายโทรศัพท์ และวางทุ่น ระเบิดดักทางล�ำเลียงของข้าศึก คนอเมริกนั มีเงินมากกว่าสมอง เขาเตือน ว่า วิถีปฏิบัติของ OSS ‘เล่นบทเคาบอยอินเดียนแดง’ จะสร้างปัญหา ให้แก่พันธมิตร เดียร์เลิฟเติบใหญ่มาในขนบสายลับสุดคลาสสิกของอังกฤษ จบการ ศึกษาจากควีน’ส คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะ บ่มสายลับ รับราชการกระทรวงการต่างประเทศในแอฟริกา ยุโรป และ วอชิงตัน เหมือนเช่นบรรพบุรุษใน MI6 เขาจะใช้นามเรียกขาน C และ โดยขนบ ใช้หมึกสีเขียวเซ็นชื่อ ไม่นานนัก หลังจากเครือ่ งบิน นามเรียกขาน ASCOT-1 ร่อนลงพืน้ ใน วอชิงตัน เดียร์เลิฟเข้าไปในศูนย์ตา้ นการก่อการร้ายทีก่ องบัญชาการซีไอเอ บนจอภาพขนาดยักษ์ เจ้าหน้าทีซ่ ไี อเอดูวดิ โี อรถมิตซูบชิ สิ ขี าว แล่นไปบน ถนนในปากีสถาน เดียร์เลิฟทราบแล้วว่าสหรัฐฯ พัฒนาการท�ำสงคราม ด้วยรีโมตคอนโทรล แต่เขาไม่เคยเห็นโดรนในปฏิบัติการจริง หลายนาทีผ่านไป รถมิตซูบิชิล้อมกรอบด้วยเป้าตาวัวกลางจอภาพ อึดใจถัดมา ขีปนาวุธแต้มจอด้วยแสงขาวเจิดจ้า อีกหลายวินาที จอภาพ แสดงให้เห็นซากรถกระบะ เหล็กหงิกงอไฟลุกท่วม เดียร์เลิฟหันไปหาเจ้าหน้าที่ซีไอเอ รวมทั้งรอสส์ นิวแลนด์, มือเก่า ของซีไอเอทีเ่ ข้าร่วมโครงการพรีเดเตอร์เมือ่ หลายเดือนก่อนหน้านี้ เดียร์เลิฟ ยิ้มมุมปาก “ไม่ใคร่มีน�้ำใจเป็นนักกีฬาเลย, ว่าไหม?” 14
1 : ค�ำสั่งฆ่า “ท่านไปที่นั่นเพื่อฆ่าผู้ก่อการร้าย มิใช่สร้างศัตรู” -เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีปากีสถาน กล่าวกับเวนดี เชมเบอร์เลน เอกอัครราชทูตอเมริกัน วันที่ 14 กันยายน 2001
แสงไฟในห้องสถานการณ์ของท�ำเนียบขาวหรี่ลง เจ้าหน้าที่ซีไอเอเริ่มฉาย สไลด์ ภาพที่เห็นเลอะเลือน ถ่ายภาพเร่งร้อน บางรูปมีคนเดินลงจากรถ หรือเดินไปตามท้องถนน ฉากของห้องมืด คล้ายภาพยนตร์มาเฟียที่เจ้า หน้าที่เอฟบีไอจิบกาแฟ เลื่อนดูภาพชนชั้นผู้น�ำของแก๊งมาเฟีย ในกรณีนี้ เป็นภาพของชายที่ตกเป็นเป้าสังหารของส�ำนักงานข่าวกรองกลาง-ซีไอเอ โต๊ะประชุมมีรองประธานาธิบดี รวมทั้งเดวิด แอดดิงตัน ที่ปรึกษา ทางกฎหมาย ไอ. ลูอิส, เสนาธิการทหาร มือเก่าในวอชิงตันทีรู้จักกันใน ชือ่ ‘สกูตเตอร์’ ทีห่ วั โต๊ะ รองประธานาธิบดีดกิ๊ เชนีย์ จ้องมองภาพบน จอด้วยความสนใจยิง่ วันอากาศหนาวเย็น ปลายฤดูใบไม้รว่ งของปี 2001 หลายสัปดาห์หลังจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู, บุช ลงนามมอบ อ�ำนาจให้ซไี อเอ อ�ำนาจทีเ่ หือดหายไปตัง้ แต่ทศวรรษ 1970 หลังจากการ พยายามลอบสังหารล้มเหลว กลายเป็นตัวตลกต่อสายตาชาวโลก ในครั้ง นัน้ ท�ำเนียบขาวสัง่ ห้ามสายลับซีไอเอไม่ให้เข่นฆ่าศัตรูของสหรัฐอเมริกาอีก 15
ในวันนี้ ในห้องสถานการณ์ ซีไอเอมารายงานต่อท�ำเนียบขาว ถึงขัน้ ตอน ปฏิบัติการ ตาม ‘ค�ำสั่งฆ่า’ ที่เพิ่งได้รับมอบมา เจ้าหน้าที่ซีไอเอสองนายผู้ให้การบรรยายสรุปคือ โฮเซ โรดิเกวซกับ เอนริเก ปราโด รายงานทีป่ ระชุมว่า ซีไอเอจะเกณฑ์เจ้าหน้าทีเ่ ข้ามาสังกัด โครงการใหม่ลับสุดยอด : การส่งชุดมือสังหารแทรกซึมเข้าไปในประเทศ อื่น เพื่อล่าและสังหารคนที่คณะรัฐบาลบุชลงมติแล้วว่าสมควรตาย หนึ่ง ในรูปถ่ายชุดนั้นมี มามอน ดาร์กาซานลี ชาวซีเรียที่ซีไอเอเชื่อว่า เป็น ผู้ประสานงานการโจมตี 9/11 อาศัยอย่างเปิดเผยในเยอรมนี และยังมี รูปของดร. อับดุล กาเดียร์ ข่าน วีรบุรุษของปากีสถาน ผู้พัฒนาระเบิด อะตอม แต่ก็เป็นผู้ร้ายในสายตาโลกตะวันตก เพราะแบ่งปันเทคโนโลยีนี้ ให้อิหร่าน ลิเบีย และรัฐนอกคอกทั้งหลาย การฉายภาพขึ้นบนจอยืนยัน ประเด็นสยองได้ชัด : ถ้าเราเข้าใกล้แกพอจะถ่ายรูปได้ เราก็เข้าใกล้พอ จะฆ่าแกได้ ทว่า เบื้องหลังความกร่างค�ำคุยโต ยังมีค�ำถามหลายข้อที่ยังไม่มีค�ำ ตอบ ซีไอเอจะส่งชุดปฏิบัติการพิเศษเข้าไปในเยอรมนี ปากีสถาน หรือ ประเทศอื่นได้อย่างไร โดยไม่มีใครสังเกตเห็น? ชุดล่าสังหารอเมริกันจะ ติดตั้งเครือข่ายสอดแนมดิ้ย่างไร? และเมื่อถึงเวลานัดหมาย เดินไปจ่อยิง กะโหลกของเหยือ่ สังหารได้เชียวหรือ? ซีไอเอยังไม่มคี ำ� ตอบต่อการเคลือ่ น ย้ายก�ำลัง โรดิเกวซกับปราโดไม่ได้เดินทางมาท�ำเนียบขาวเพือ่ อภิปรายราย ละเอียดของค�ำถาม...มาที่นี่ เพื่อขอค�ำอนุมัติ เชนีย์ผงกศีรษะ บอกให้ไปท�ำงานได้แล้ว ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู, บุช บุตรของอดีตผู้อ�ำนวยการซีไอเอ (ก่อนปี 2005 ชื่อต�ำแหน่งเป็นทางการคือ DCI-director of central intelligence) กองบัญชาการในแลงลีย์ตั้งชื่อตามบุชผู้พ่อ ได้รับมรดก องค์กรสายลับป้อแป้ท้อแท้ หมดรูปไม่เหลือเค้าความยิ่งใหญ่ในสมัย 16
สงครามเย็น แต่ในห้วงเดือนปลายปี 2001 ประธานาธิบดีบชุ มอบอ�ำนาจ สิทธิข์ าดให้ซไี อเอเป็นหัวหอกล่าสังหารหัวโจกก่อการร้าย ผลงานแต้มภาพ ลักษณ์โดดเด่นให้องค์กร รวดเร็วฉับไว ตอบสนองค�ำสัง่ ผูบ้ ญ ั ชาการทหาร สูงสุดของชาติ(ประธานาธิบดี) ได้ดกี ว่าเพนตากอนอืดอาดเชือ่ งช้า สัง่ การ ตามสายบังคับบัญชา ในขณะนี้ ซีไอเอท�ำสงครามลับตามการชี้ทิศสั่งการของท�ำเนียบขาว ศูนย์ต้านการก่อการร้ายที่แทบจะทิ้งร้าง บัดนี้กลายเป็นศูนย์บัญชาการ การรบ ศูนย์ต้านการก่อการร้ายที่เคยเป็นดินแดนหลังเขาของซีไอเอ กรุเก็บสายลับล้มเหลว หลังเหตุการณ์ 9/11 ขยายตัวรวดเร็ที่สุดใน ประวัติศาสตร์ ในทศวรรษถัดมา จะกลายเป็นหัวใจสูบฉีดเลือดของซีไอ เอไปแล้ว เจ้าหน้าที่หลายร้อยนายถูกดึงตัวจากโต๊ะเอเชียและรัสเซีย ได้รับ มอบงานใหม่แออัดยัดเยียดในศูนย์ปฏิบัติการต้านการก่อการร้ายที่เพิ่งเร่ง ก่อสร้าง เขาวงกตในศูนย์ซับซ้อนจนแทบจะหาตัวเพื่อนร่วมงานไม่เจอ ป้ายชั่วคราวท�ำจากแผ่นลังกระดาษ ติดให้เห็นเหนือศีรษะเช่น ‘ซอยอุซา มะ บิน ลาดิน’ หรือ ‘บาทวิถีซาวาฮิรี’ ท้ายที่สุด ป้ายถาวรติดเหนือ บานประตูทางเข้าของศูนย์ เตือนใจให้ระลึกเสมอว่า การโจมตีครั้งใหม่ อาจเกิดขึ้นในอีกหลายวัน หรืออีกไม่กี่นาทีข้างหน้า ป้ายนั้นอ่านว่า วันนี้คือวันที่ 12 กันยายน 2001 ผู้บัญชาการในห้วงเดือนแรกของพายุร้ายสาดซัดคือ เจ. โคเฟอร์ แบล็ก สายลับสุดกร่างผู้หมกมุ่นฝังใจในการไล่ล่าอุซามะ บิน ลาดินมา ตัง้ แต่สมัยทีเ่ ขาเป็นหัวหน้าสถานีซไี อเอในคาร์ทมู เมืองหลวงของซูดาน ใน ช่วงนั้น อุซามะ บิน ลาดินลี้ภัยอยู่ในประเทศนั้น แบล็กฉายภาพตนเอง ให้ปรากฏในให้ทุกคนในซีไอเอได้เห็น นักวิทยาศาสตร์บ้าคลั่งเสียสติผสม 17
พันธุ์กับนายพลแพตตัน ในวันที่ 11 กันยายน บางคนเกรงว่าเครื่องบิน ของผู้ก่อการร้าย อาจเปลี่ยนมุ่งหน้ามาหาแลงลีย์ แบล็กปฏิเสธไม่ยอม อพยพออกจากศูนย์บญ ั ชาการซีไอเอ ค�ำสัง่ นีค้ รอบคลุมเจ้าหน้าทีท่ กุ คนใน แผนก หลายเดือนหลังจากนั้น จอร์จ เทเน็ต ผู้อ�ำนวยการซีไอเอ แทบไม่ เคยเดินทางไปยังท�ำเนียบขาวโดยไม่มีแบล็กเคียงข้าง แบล็กสานต�ำนาน เล่าขาน ประกาศจะเด็ดหัวกองก�ำลังของอัลกออิดะห์ให้มากที่สุดเท่าที่จะ ท�ำได้ ในการบรรยายสรุปครัง้ หนึง่ ในห้องรูปไข่ ประธานาธิบดีบชุ สอบถาม แบล็กว่าพร้อมรับงานใหม่ที่จะมอบหมายให้หรือไม่? ซึ่งจะเป็นการส่งชุด ปฏิบัติการพิเศษเข้าไปในอัฟกานิสถาน ท�ำงานร่วมกับกองก�ำลังติดอาวุธ รบกับพวกตอลิบัน แบล็กคุยโอ่ อวดว่าหลังจากที่ซีไอเอจัดการอัลกออิด ะห์ได้แล้ว บิน ลาดินกับสมุน ‘จะมีแมลงวันเดินไต่อยูบ่ นลูกตา’ นัน่ เป็น ค�ำอวดศักดาที่บุชอยากได้ยิน แบล็ก, ผู้อ�ำนวยการศูนย์ต้านการก่อการ ร้าย กลายเป็นคนโปรดของบุช แต่คณะเสนาธิการของรัฐบาลไม่ชื่นชอบ ทัศนคติอวดเบ่งเช่นนี้นัก ตั้งชื่อเล่นให้แบล็กว่า ‘ไอ้คนแมลงวันไต่ลูกตา’ สถานะโดดเด่นของแบล็กและคณะคนโปรดของท�ำเนียบขาว ก่อให้ เกิดแรงเสียดทานในซีไอเอ และปะทะกับเจ้านาย, เจมส์ เพวิตต์ ผู้ที่ แบล็กมองว่าอ่อนปวกเปียกและไร้จินตนาการ เพวิตต์เป็นประธานส�ำนัก ปฏิบตั กิ าร แผนกหนึง่ ของซีไอเอ รับผิดชอบงานจารกรรมในต่างแดนและ ปฏิบตั กิ ารลับ เพวิตต์มองว่าแบล็กเปิดหน้าฟูฟ่ า่ และเป็นเคาบอย แบล็กก ระเหี้ยนกระหือรือเกินไป รังแต่จะน�ำซีไอเอเข้าไปติดหล่มปัญหาข้ามชาติ ที่เป็นต้นตอปัญหาของซีไอเอก่อนจะมีการโจมตี 9/11 ทั้งสองเคยมีปาก เสียงทะเลาะกันว่า ซีไอเอควรโอบรับโครงการโดรนล่าสังหาร ไล่ล่าและ ปลิดชีวิตบิน ลาดินในอัฟกานิสถานหรือไม่? ความส�ำเร็จของกลยุทธเชิงรุกของซีไอเอปลายปี 2001 ถือเป็น ชัยชนะของแบล็กและศูนย์ต้านการก่อการร้าย และดูเหมือนจะเป็นข้อ 18
พิสูจน์ให้ผู้แคลงใจต่อซีไอเอได้ประจักษ์ว่า ยังมีคนกลุ่มเล็กๆ ในองค์กร ที่พร้อมจะทุ่มเททุกอย่างเพื่อไล่ล่าอัลกออิดะห์ เจ้าหน้าที่กึ่งทหารของซี ไอเอ(ในเวลาต่อมาดึงกรีนเบเรต์เข้าร่วม) เปลี่ยนกองก�ำลังติดอาวุธอัฟกัน ให้กลายเป็นกองทัพที่รุกรบได้ชัยชนะ รบบนหลังม้า รบด้วยยานเกราะ ขึ้นสนิมของโซเวียต คนอัฟกันขับไล่ตอลิบันออกจากคาบูลและกันดาฮาร์ ได้ส�ำเร็จ ความขัดแย้งใหม่แปลกพิลึก พลิกขนบการท�ำสงครามของสหรัฐฯ สายบังคับบัญชาปกติในช่วงสงครามของสหรัฐฯ จะสั่งตรงลงมาจาก ท�ำเนียบขาว ผ่านรัฐมนตรีว่าการกลาโหมมายังนายพลสี่ดาว ซึ่งมีคณะ เสนาธิการนับร้อยวางแผนรบ บัดนี้ สายบังคับนั้นถูกปลดเงียเบเชียบ ผู้ อ�ำนวยการซีไอเอกลายเป็นผู้บัญชาการรบไปแล้ว ท�ำสงครามลับ ท�ำ สงครามทุกมุมโลก โดยใช้เจ้าหน้าที่น้อยคน มองข้ามความพลั้งเผลอผิด พลาด เทเน็ตเร่งผลักดันขยายกองทัพ เพิ่มจ�ำนวนทหารของซีไอเอใน อัฟกานิสถาน เร่ขายไอเดียต่อท�ำเนียบขาวในการจับตัวผู้ก่อการร้าย ขัง ลืมไว้ในคุกลับ ใช้วธิ ลี งทัณฑ์ทรมานทุกรูปแบบ มีเพียงบุช/เชนีย/์ คนกลุม่ เล็กๆ ในท�ำเนียบขาวเท่านั้นที่ท�ำหน้าที่ลงความเห็นว่า ควรจับผู้ใด ฆ่า ใคร และปล่อยใครบ้างให้รอดชีวิตไปได้ นีเ่ ป็นความเปลีย่ นแปลงไม่คาดฝันส�ำหรับเทเน็ต เพราะในห้วงหลาย ปีกอ่ นเหตุการณ์ 9/11 เขาจะแจ้งให้เจ้านายในท�ำเนียบขาวทราบเสมอว่า เจ้าหน้าทีซ่ ไี อเอควรจะไม่เข้าไปยุง่ เกีย่ วกับการก�ำหนดนโยบาย เขาแทบจะ ตราภาพสายลับถือเคร่งแทบเป็นบาทหลวงทีแ่ ลงลียไ์ ว้วา่ เป็นผูป้ ระเมินข่าว กรอง ในขณะที่ ‘พวกท่านทีอ่ ยูอ่ กี ฟากหนึง่ ของแม่นำ�้ ’ ทีท่ ำ� เนียบขาวและ สภาคองเกรส จะตัดสินใจลงความเห็นจากการประเมินข่าวนัน้ ในเวลาต่อ มา เจมส์ เพวิตต์บอกเล่าให้ผู้ตรวจสอบ 9/11 ได้ทราบถึงเรื่องอื้อฉาว ‘อิหร่าน-คอนทรา’ จากทศวรรษ 1980 บทเรียนส�ำคัญ “พวกเรา (ที่ แลงลีย์) ไม่ได้ก�ำหนดนโยบาย...พวกท่านคงไม่อยากให้เราท�ำอย่างนั้น” 19
หากแนวคิดเช่นนั้นยังพอจะมีประโยชน์อยู่บ้าง ปลายปี 2001 แนวคิดนั้นไม่เหลืออยู่อีกแล้ว ปลายปี 2001 ซีไอเอไม่อาจปฏิเสธว่าตน แยกยืนจากการลงมติหย�ำเหยอะเรือ่ งสงครามและสันติภาพ ประธานาธิบดี บุชมีบญ ั ชา จอร์จ เทเน็ตจะต้องเดินทางมาท�ำเนียบขาวทุกวัน มาบรรยาย สรุปให้ประธานาธิบดีฟงั นีเ่ ป็นครัง้ แรก นับแต่กอ่ ตัง้ องค์กรนีท้ ผี่ อู้ ำ� นวยการ ซีไอเอจะมาบรรยายสรุปด้วยตนเอง แทนที่จะเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข่าว ระดับล่าง เหมือนผู้อ�ำนวยการคนก่อนๆ ของซีไอเอ เทเน็ตอยากเข้าถึง ประธานาธิบดี อยากอยูใ่ กล้ชดิ หมายเลขหนึง่ ของประเทศ ทุกวัน เทเน็ต กับโคเฟอร์ แบล็กจะเดินทางมายังท�ำเนียบขาว ในมือมีแคตตาล็อกของ แผนการก่อการร้าย รายชื่อผู้ก่อการร้าย และแผนปฏิบัติการที่ซีไอเอจะ ลงมือกระท�ำเพือ่ ปกป้องประเทศชาติ การร่วมประชุมรายวัน ท�ำให้เทเน็ต กับแบล็กเป็นขวัญใจของท�ำเนียบขาว รัฐบาลบุชหิวกระหาย รับฟังข้อมูล จากซีไอเอได้อย่างไม่รู้เบื่อ แต่ความสนใจในระดับสูงในซีไอเอ ก่อผลบิดเบี้ยวในการวิเคราะห์ ข่าวกรองของซีไอเอ บัดนี้ ซีไอเอเจาะข่าวมุมแคบ มุ่งแต่ผลเชิงยุทธวิธี เพียงอย่างเดียว นักวิเคราะห์ซีไอเอหลายร้อยคนทุ่มเทท�ำงานต้านการ ก่อการร้าย ซึ่งพอจะเข้าใจได้ หลังเหตุการณ์บังคับเครื่องบินชนตึกใน อเมริกา และคร่าชีวิตคนอเมริกันไปเกือบสามพันคน แต่ก็เห็นได้ชัดอยู่ แล้ว หากต้องการเลื่อนชั้นปรูดปราดในซีไอเอ ก็ต้องเริ่มงานในศูนย์ต่อ ต้านการก่อการร้าย เป้าหมายจะเป็นการหาข่าวที่จะน�ำไปอ่านให้เข้าหู ประธานาธิบดีในห้องท�ำงานรูปไข่เป็นประจ�ำทุกวัน สิง่ ทีท่ ำ� เนียบขาวอยาก ได้ยิน จะเป็นความคืบหน้า และเบาะแสใหม่ของผู้ปฏิบัติการอัลกออิด ะห์...ไม่สนใจเนื้อหากว้างๆ เช่นว่า อัลกออิดะห์ได้การสนับสนุนจากโลก มุสลิมเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือว่าผลกระทบต่อกองทัพสหรัฐฯ และปฏิบัติ การงานข่าวที่จะยับยั้งไม่ให้เกิดนักรบถืออาวุธรุ่นถัดไป ซีไอเอปฏิบัติตาม ความประสงค์ของรัฐบาลบุช 20
แม้แต่ศพั ท์บญ ั ญัตใิ นวงการสายลับกก็เปลีย่ นไป ‘เป้า’ ของเจ้าหน้าที่ ซีไอเอดูแลเรือ่ ง และนักวิเคราะห์ เคยหมายถึงรัฐบาลต่างชาติทเี่ ป็น ‘เป้า’ ในการสืบเจาะข้อมูล หรือคนในชาตินั้นที่จะหันมาเป็นสายข่าวให้ซีไอเอ ในท้ายทีส่ ดุ ‘เป้า’ ในความหมายใหม่ มีความหมายต่างกันสุดขัว้ ส�ำหรับ เจ้าหน้าที่ที่ย้ายมาท�ำงานในศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย ‘เป้า’ กลายเป็น บุคคลที่มีภัยคุกคามต่อสหรัฐฯ สืบเสาะแกะรอยเพื่อจับกุมตัวหรือฆ่าทิ้ง การปะทะกันระหว่างโคเฟอร์ แบล็กกับเจมส์ เพวิตต์ เข้มข้นขึน้ ทุก ขณะ ต้นปี 2002 แบล็กตัดสินใจย้ายออกจากส�ำนักงานข่าวกรองกลาง ไปรับงานกระทรวงการต่างประเทศ ผู้มาด�ำรงต�ำแหน่งแทนคือ โฮเซ โร ดิเกวซ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของศูนย์ต้านการก่อการร้าย และเป็นคนถ่วง ดุลแบล็ก โรดิเกวซมีประสบการณ์ตะวันออกกลาง และเป็นหนึ่งในไม่กี่ คนในซีไอเอที่เคยคุ้นกับเครือข่ายก่อการร้ายของอุซามะ บิน ลาดิน โรดิ เกวซไม่เคยลงพื้นที่ในโลกมุสลิม พูดภาษาอาหรับไม่ได้ แต่โรดิเกวซสนิท กับเพวิตต์ และสายลับคนอื่นๆ จนมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า เพวิตต์แต่งตั้งโรดิ เกวซ ไว้ในศูนย์ต้านการก่อการร้าย เพื่อเฝ้าจับตาดูแบล็ก โรดิเกวซเป็น คนเปอร์โตริโก พ่อแม่เป็นครู เข้ามาท�ำงานในซีไอเอกลางทศวรรษเจ็ด ศูนย์หลังจากจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา อาชีพบังหน้างาน สายลับ จะอยู่ในละตินอเมริกา ฐานปฏิบัติการของซีไอเอในนิคารากัว เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัสในช่วงทศวรรษ 1980 ในช่วงนั้น โรดิเกวซ ยังเด็กเกินกว่าจะมีสว่ นร่วมในเรือ่ งอือ้ ฉาว ‘อิหร่าน-คอนทรา’ ซึง่ จะท�ำให้ ซีไอเอเป็นอัมพาตไปนานหลายปี โรดิเกวซเป็นทีช่ นื่ ชอบในหมูส่ ายลับ แต่ ไม่มีผลงานโดดเด่น เขาท�ำงานในสถานีซีไอเอในละตินอเมริกาหลายแห่ง รวมทัง้ ในโบลิเวียและเม็กซิโก เพาะบ่มทัศนคติสดุ ห้าว กระทุง้ ผูเ้ ฒ่าในแลง ลีย์ กล่าวหาว่าผูเ้ ฒ่าจุน้ จ้านเรือ่ งยิบย่อยในปฏิบตั กิ ารภาคสนามมากเกินไป โรดิเกวซชืน่ ชอบการขีม่ า้ ในระหว่างทีเ่ ป็นหัวหน้าสถานีในเม็กซิโกซิตี เขา ตัง้ ชือ่ ม้าว่า ‘บิซเนสส์’ บอกลูกน้องไว้วา่ ถ้าเจ้านายจากแลงลียโ์ ทรมาถาม 21
ว่าหายตัวไปไหน ตอบไปได้เลยว่า ‘ออกไปดูแลบิซเนสส์’ ในตอนที่ไปรับต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการภาคละตินอเมริกาในปี 1995 สถานการณ์อึมครึมอีกครั้ง จอห์น ดอยช์ ผู้อ�ำนวยการซีไอเอคนที่สอง ของบิล คลินตัน ไล่ออกเจ้าหน้าที่ดูแลคดีด้วยข้อหา ‘สนิทสนมและ ติดต่อสัมพันธ์คนต่างชาติ’ กล่าวได้อกี อย่างหนึง่ ว่า ซีไอเอในละตินอเมริกา นัวเนียกับสาวพื้นเมือง การเล่นรักกับสาวๆ อาจน�ำไปสู่การขู่กรรโชก โร ดิเกวซเองก็มีปัญหา เพื่อนวัยเด็กถูกจับในข้อหายาเสพติดในสาธารณรัฐ โดมินกิ นั โรดิเกวซแทรกแซง ไม่ให้ตำ� รวจซ้อมเพือ่ นของเขาในคุก ถือเป็น ผลประโยชน์ทบั ซ้อนแท้จริงทีห่ วั หน้าภาคซีไอเอละตินอเริกา ขัดขวางการ ท�ำงานของรัฐบาลประเทศอื่น เพียงเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเก่า ผู้ตรวจการ ของซีไอเอปรามโรดิเกวซ “ถือเป็นการขาดดุลยพินิจอย่างร้ายแรง” โรดิ เกวซถูกปลดจากต�ำแหน่ง แต่ในปี 2001 อาชีพการงานของเขาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โฮเซ โรดิ เกวซพบเพื่อนเก่าคุ้นหน้าจากโต๊ะละตินอเมริกา รวมทั้งเอนริเก ปราโด มาช่วยเหลือการท�ำสงครามรูปแบบใหม่ของซีไอเอ เขามาร่วมโต๊ะประชุม ห้าโมงเย็นของเทเน็ตเป็นประจ�ำ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีไอเอรับฟังข่าว คืบหน้าในสนามรบในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน หรือสถานทีอ่ นื่ ในการปะชุมนีเ้ องทีโ่ รดิเกวซออกความเห็นทีจ่ ะส่งผลใหญ่ หลวงต่อรัฐบาลของประธานาธิบดีบุช ค�ำถามต่อผู้ร่วมประชุม : จะท�ำยังไงกับนักรบตอลิบันที่ทหาร อเมริกันและเจ้าหน้าที่ซีไอเอจับตัวมาได้ในอัฟกานิสถาน? จะขังระยะยาว ไว้ที่ไหน? การประชุมเปลี่ยนเป็นการระดมสมอง เจ้าหน้าที่ซีไอเอเสนอ ประเทศต่างๆ ที่อาจเต็มใจรับคนพวกนี้ไปขังไว้ เจ้าหน้าที่นายหนึ่งเสนอ คุกอุสวายเอียบนเกาะเทียร์รา เดล ฟูเอโกของอาร์เจนตินา ติ่งแผ่นดิน ปลายขอบโลก อีกคนเสนอเกาะคอร์น เกาะเล็กจิ๋วในทะเลแคริบเบียน ทางเหนือของชายฝั่งนิคารากัว แต่ข้อเสนอตกไป ทางเลือกที่ไม่อาจเป็น 22
ไปได้จริง ในท้ายที่สุด โรดิเกวซเสนอไอเดียพิสดาร คล้ายเป็นการหยอก เย้าเล่นสนุก “เราพอจะส่งพวกมันไปขังไว้ที่อ่าวกวนตานาโม” ทุกคนรอบโต๊ะประชุมหัวเราะครืน ฟิเดล คาสโตรจะยินดีปรีดาเชียว หรือที่สหรัฐอเมริกาจะส่งนักโทษจากสงครามใหม่ไปยังฐานทัพอเมริกัน ในคิวบา? แต่ยิ่งคิด ก็ยิ่งเข้าท่า ทุกคนมองเห็นแล้วว่า อ่าวกวนตานา โมเหมาะสมที่สุด ฐานทัพอเมริกัน ชะตากรรมของนักโทษไม่เปลี่ยนไป เหมือนคุกประเทศอื่น เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ นโยบายเปลี่ยนไป อีกอย่าง หนึ่งคุกที่อ่าวกวนตานาโมอยู่นอกเขตอ�ำนาจศาลสหรัฐฯ คิวบาเป็นข้อเสนอชัน้ เยีย่ มทีส่ ดุ ทีซ่ ไี อเอน�ำเสนอต่อประธานาธิบดีบชุ ไม่นานเลย ซีไอเอเริ่มก่อสร้างคุกลับที่มุมหนึ่งของอ่าวกวนตานาโม คุก ความมั่นคงสูงสุด เจ้าหน้าที่ซีไอเอเรียกขานคุกนี้ว่า ‘สตรอเบอรี ฟิลด์’ ตั้งชื่อตามเพลงของบีตเติลส์ เพราะนักโทษที่ไปพ�ำนักที่นั่น ‘จะอยู่ชั่วกัป ชั่วกัลป์’ ในสนามรบโกลาหล ห่างจากวอชิงตันเจ็ดพันไมล์ สงครามครั้งแรกสุดใน ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด เลอะเทอะวายป่วงเกินกว่าที่มองเห็นในจอภาพของซี ไอเอ หรือสไลด์น�ำเสนอพาวเวอร์พอยนต์ในห้องบุไม้ ชั้นบนของเพนตา กอน เมื่อถึงต้นปี 2002 อัฟกานิสถานไม่ได้เป็นเพียงการการลากปืน มายิงกันเป็นประจ�ำทุกวัน หรือการรบที่มองเห็นสันติภาพร�ำไร แท้จริง แล้ว อัฟกานิสถานเป็นแดนสนธยา ความขัดแย้งระหว่างสายลับกับทหาร ภารกิจมักจะเริ่มต้นด้วยเศษเสี้ยวข่าวกรองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือไม่ได้ ครั้งนั้น นาวิกโยธินและซีลหลายสิบนาย ใช้เวลาแปดวันเต็มขุดหลุมศพ ในระบบถ�้ำที่ชาวาร์ คิลี ในอัฟกานิสถานตะวันออก จากข่าวกรองว่าบิน ลาดินอาจถูกฆ่าตายในการทิง้ ระเบิดถล่มฐานทางอากาศ ทหารคาดหวังว่า จะได้ศพน�ำกลับไปยืนยัน หาเหตุผลที่จะจบสงครามอัฟกันในเวลาแค่สาม 23
เดือน ทหารขุดได้หลายศพ แต่ไม่พบสิ่งที่ตนเองตามหา บางคราว การสือ่ สารล้มเหลวระหว่างซีไอเอกับทหาร ก่อให้เกิดการ ตายหมู่ วันที่ 23 มกราคม ชุดปฏิบัติการกรีนเบเรต์ แฝงตัวไปในความ มืด ถล่มกลุ่มอาคารสองชุดในฮาซาร์ กาดัม ราวหนึ่งร้อยไมล์ทางตะวัน ออกเฉียงเหนือของกันดาฮาร์ อาคารหลายหลังรวมกันเป็นกระจุกบนเนิน เขา ป้อมปืน AC-130 บินวนเหนือหัว ชุดปฏิบัติการสองชุดบุกเข้าไปใน กลุ่มอาคาร เสียงปืนอาก้าดังระงมเมื่อกรีนเบเรต์ระเบิดก�ำแพงด้านนอก กรี นเบเรต์ยิงโต้ตอบ เคลียร์ไปทีละห้อง บางนายสู้ประชิดตัวกับนักรบตอลิ บัน เมื่อภารกิจสิ้นสุดลง กรีนเบเรต์ฆ่านักรบตอลิบันได้ราวสี่สิบคน และ AC-130 ยิงถล่มกลุ่มอาคารให้เป็นกองอิฐกองปูน กลับมาถึงฐาน กรีนเบเรต์ทราบความจริงว่า สองวันก่อนหน้านี้ ซี ไอเอกล่อมนักรบในกลุ่มอาคารให้แปรพักตร์จากตอลิบัน หันมารบให้ซีไอ เอ ในกลุ่มอาคาร มีธงชาติอัฟกันใหม่ของฮามิด คาร์ไซ ซีไอเอไม่เคย แจ้งข่าวนี้ให้หน่วยเฉพาะกิจรบพิเศษได้ทราบว่า นักรบในกลุ่มอาคารนั้น เป็นพันธมิตร ความสับสน ส่วนหนึ่งเกิดจากความวุ่นวายในสนามรบ แต่อีกส่วน หนึ่ง มาจากการแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างเพนตากอนกับซีไอเอใน ความขัดแย้งครั้งใหม่ของสหรัฐฯ รัฐมนตรีกลาโหมโดนัลด์ รัมสเฟลด์ไม่ สบอารมณ์นักที่ชุดปฏิบัติการทหารของซีไอเอเป็นหน่วยแรกที่บุกเข้าไป ในอัฟกานิสถาน ไม่ใช่แค่ว่ากรีนเบเรต์ของเพนตากอนล่าช้าไปเพราะลม ฟ้าอากาศ หรือการประสานงานเข้าฐานปฏิบัติการ แต่เป็นการหักหน้า โดยตรง การรุกรานวางแผนและสั่งการให้ปฏิบัติ โดยมีซีไอเอเป็นหัว หอก และทหารเล่นบทสนับสนุน การเคลื่อนพลรวดเร็วของซีไอเอ แม้มี งบประมาณและก�ำลังพลเพียงเศษเสีย้ งของเพนตากอน กัดกร่อนกินใจรัมส เฟลด์ เขายกเครื่องเพนตากอนเสียใหม่ ไม่อยากเห็นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น 24
ซ�้ำสอง รัมสเฟลด์หงุดหงิดใจในการปรับแต่งกระทรวงกลาโหม เขามองว่า อืดอาด และแต่ละเหล่าทัพปกป้องระบบอาวุธของตนอย่างเหนียวแน่น รัมสเฟลด์เคยเป็นรัฐมนตรีกลาโหมสมัยฟอร์ด ออกไปท�ำธุรกิจ ประสบ ความส�ำเร็จอย่างสูง มั่งคั่งร�่ำรวยจากธุรกิจยา บริษัท จี. ดี. เซิร์ล เข็น ผลิตภัณฑ์ประสบความส�ำเร็จดียิ่ง เช่น นูตราสวีต และส้มมูตาซิล ก่อน จะย้อนกลับมาด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมอีกครัง้ สมัยบุช เขาประกาศ ให้ทราบทั่วกันตั้งแต่แรกเริ่ม เขาจะน�ำวิถีการด�ำเนินธุรกิจเอกชนมาปรับ แต่งกลาโหมอ้วนฉุอุ้ยอ้าย รั ม สเฟลด์ อ ายุ ห กสิ บ เก้ า รั ฐ มนตรี ก ลาโหมอายุ ม ากที่ สุ ด ใน ประวัตศิ าสตร์สหรัฐฯ บ่อยครัง้ ทีเ่ สียงต�ำหนิของเขา จะเจือด้วยนิทานคุณปู่ ‘เมือ่ ครัง้ ยุคเศรษฐกิจตกต�่ำนะ...’ ความพยายามยกเครือ่ งกลาโหมของเขา ได้รับการเปรียบเทียบกับรอเบิร์ต แม็กนามารา (สมัยเคนเนดี้และจอห์น สัน) แม็กนามารามาจากฟอร์ดมอเตอร์ ได้รับการขนานนามว่า ‘Whiz kid-หนุ่มสมองใส’ ดังนั้น นายพลในเพนตากอนตั้งชื่อเล่นให้นักธุรกิจ ชราที่จะมาควบคุมทหารผู้นี้ว่า ‘Wheeze kid-เฒ่าหอบหวีด’ จนกระ ทั่งโบอิ้งเที่ยวบิน 77 พุ่งชนตึกเพนตากอนตอนรุ่งเช้าวันที่ 11 กันยายน ทหารขัดขวางแผนการยกเครื่องกลาโหมของรัมสเฟลด์ไปได้มากโขแล้ว ไม่ยอมให้รัมสเฟลด์ยกเลิกอาวุธยุคสงครามเย็นราคาแพงระยับ มีข่าวลือ แพร่หลายว่า รัมสเฟลด์จะเป็นคนแรกที่จะกระเด็นไปจากคณะรัฐบาลขอ งบุช แต่แล้ว ในปีถัดมา รัมสเฟลด์กลายเป็นดาวดวงเด่นในคณะรัฐบาล สหรัฐอเมริกาประสบความส�ำเร็จ ผลักดันตอลิบันออกจากนครใหญ่ใน อัฟกานิสถานในเดือนธันวาคม 2001 โดยใช้แผนการรบนวัตกรรมใหม่ รัมสเฟลด์ได้ความชื่นชมจากสาธารณชน การแถลงข่าวดุดันส่งรัมสเฟลด์ ให้เป็นภาพฉายตัวแทนของคณะรัฐบาลบุช ตอบโต้การก่อการร้ายที่คร่า ชีวิตคนอเมริกันเกือบสามพันคน รัมสเฟลด์ไม่ได้พูดคลุมเครือ ไม่ซ่อนตัว 25
อยูห่ ลังม่านควันทางทหาร ในยามทีเ่ ขาพูดถึงเป้าประสงค์ของสงคราม เขา ตอบสั้นกระชับเพียงแค่ “ฆ่าตอลิบัน” รัมสเฟลด์มองเห็นเช่นกันว่าสงครามครั้งใหม่ จะสู้รบกันในมุมมืด ทุกมุมโลก ห่างไกลจากสนามรบที่ประกาศให้ทราบทั่วกัน จะไม่เหลือ เค้าการน�ำทหารราบไปตรึงแนวยันกันในสนามเพลาะในฝรั่งเศสเหมือนใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ในศตวรรษที่สิบเก้า หรือมหายุทธ์รถถังเหมือน สงครามครั้งที่ 2 เพตากอนจ�ำเป็นต้องส่งหน่วยรบไปยังสถานที่ที่...ตาม ขนบและประเพณีสงคราม มีแต่สายลับเท่านัน้ ทีจ่ ะเดินทางไปได้ ตัวอย่าง เช่น ในช่วงนัน้ เพนตากอนไม่มศี นู ย์ตา้ นการก่อการร้ายเหมือนซีไอเอ แต่ ในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังเหตุการณ์ 9/11 รัมสเฟลด์เสนออาคารที่เป็นที่ ท�ำงานของเขาให้เป็นทีต่ งั้ ศูนย์ตา้ นการก่อการร้าย...สร้างทีหลังแต่ใหญ่กว่า ในบันทึกทีส่ ง่ ไปหาผูอ้ �ำนวยการซีไอเอเทเน็ต รัมสเฟลด์เขียนว่า “จากทุก อย่างที่ฉันได้ยิน ศูนย์ต้านการก่อการร้ายเล็กเกินกว่าจะรับงาน 24/7... เจ็ดวันต่อสัปดาห์ วันละ 24 ชั่วโมง” เขายื่นข้อเสนอต่อเทเน็ตตั้งหน่วย เฉพาะกิจข่าวกรองร่วม องค์กรใหม่ทจี่ ะมอบอ�ำนาจให้เพนตากอนมีอ�ำนาจ ควบคุมสั่งการการรบในสงครามครั้งใหม่ สี่วันหลังจากยื่นข้อเสนอให้เทเน็ต รัมสเฟลด์รวบรวมความคิด ส่ง บันทึกลับสุดยอด ‘ขอบเขตสงครามใหม่’ ไปยังประธานาธิบดีบชุ สงคราม ครั้งนี้จะรุกรบไล่ล่าทั่วโลก สหรัฐอเมริกาจะต้องเปิดหน้าชก ยืนยันเป้า หมายของตนให้ประชาคมโลกได้ประจักษ์ “หากสงครามครั้งนี้ ไม่เขียน แผนทีท่ างการเมืองเสียใหม่ เช่นนัน้ สหรัฐฯ จะไม่บรรลุผลสมดังทีต่ งั้ ไว้” เพนตากอนยังไม่มกี ลไกทีจ่ ะขับเคลือ่ นสงครามครัง้ นี้ รัมสเฟลด์ทราบเรือ่ ง นี้ เหมือนที่ทุกคนรู้ดีแล้ว ยังมีงานอีกมากที่ต้องก่อสาน ในค�ำ่ คืนฟ้าโปร่ง ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ชายอัฟกันสามคน และเด็ก น้อย กระโดดลงจากรถกระบะสีขาวในความมืดมิด เสือ้ ผ้าตัวโคร่งพองโป่ง 26
จากแรงลมของโรเตอร์เฮลิคอปเตอร์ พัดเป่าฝุน่ ผงคลุง้ ในความมืด ทัง้ สาม โบกมือขวักไขว่ เมื่อกลุ่มคอมมานโดคืบเคลื่อนตรงมาหา ปากกระบอก ปืนในมือชี้น�ำหน้า สี่สิบไมล์ทางเหนือ ในศูนย์ปฏิบัติการชั่วคราวข้างอาคารที่พักผู้ โดยสารของสนามบินกันดาฮาร์ที่ถูกระเบิดถล่ม ชุดปฏิบัติการรบพิเศษดู ความคืบหน้าของภารกิจบนจอภาพ สัญญาณส่งตรงจากโดรนของซีไอเอ ผู้บังคับการปฏิบัติการพิเศษ นาวาเอกรอเบิร์ต ฮาร์วาร์ด หยิบโทรศัพท์ ต้านการดักฟัง โทรไปหาเจ้านายในคูเวต รายงานเชลยทีจ่ บั มาได้...มุลลาห์ ไครูลลาห์ คาเออร์กาห์ ผูน้ ำ� ตอลิบนั ทีท่ กุ คนต้องการตัว ขณะนี้ ควบคุม ตัวไว้ได้แล้ว เสียงจากปลายสายขาดหายไปนานาน ในท้ายที่สุด พลโทพอล มิ โกลาสเช็กในคูเวตส่งเสียงถาม “ถ้าจับผิดตัว คุณจะส่งพวกเขากลับที่เดิมได้ไหม?” ฮาร์วาร์ดหันไปมองทหารคนอืน่ ๆ ในศูนย์ปฏิบตั กิ ารด้วยสายตางุนงง สูดลมหายใจยาวเข้าปอดสะกดความเดือดดาล เขายืนยันต่อท่านนายพลว่า เชลยถูกสับกุญแจมือ ดันขึน้ เฮลิคอปเตอร์ และจะบินตรงมายังฐานกันดา ฮาร์ และหากจ�ำเป็น ส่งกลับไปยังที่ที่จับตัวมาได้ สิ่งที่นายพลมิโกลาสเช็กเพิ่งทราบ และฮาร์วาร์ดไม่รู้ คนที่จับตัว มานั้นไม่ใช่มุลลาห์ ไครูลลาห์ คาเออร์กาห์กับคนสนิท...คาเออร์กาห์, รัฐมนตรีมหาดไทยของตอลิบัน นั่งรถกระบะสีขาวอีกคัน ข้ามพรมแดน เข้าไปในปากีสถาน...ซีไอเอทราบเรื่องนี้ นี่ เ ป็ น เดื อ นที่ สี่ ใ นสงครามอั ฟ กั น ทหารอเมริ กั น ไหลหลั่ ง เข้ า ไป ในอัฟกานิสถานเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ มีการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ในคาบูล และมุลลาห์ ไครูลลาห์ คาเออร์กาห์เจรจาต่อรองกับลูกพี่ลูกน้องของ ประธานาธิบดีอัฟกันคนใหม่, อาเหม็ด วาลี คาร์ไซ...ยอมแพ้และยอม เป็นสายข่าวให้ซีไอเอ อาเหม็ด วาลีรับเงินเดือนจากซีไอเอ พันธมิตรที่ 27
จะเป็นแหล่งแห่งความขัดแย้งระหว่างทหารกับซีไอเอในคาบูล สายลับ อเมริกนั แอบส่งข่าวไปบอกคาเออร์กาห์ให้ใช้เส้นทางอืน่ หลบหนี หลีกเลีย่ ง การเป็นนักโทษหน้าใหม่ในคุกอ่าวกวนตานาโม การเจรจาต่อรองหลายวัน คาเออร์กาห์ไม่แน่ใจนักว่าจะเชือ่ ใจสายลับ อเมริกนั ได้ เขาโทรไปบอกผูน้ ำ� ตอลิบนั อีกคนว่าวางแผนจะหลบหนีเข้าไปใน ปากีสถาน สายลับทหารอเมริกนั ดักฟังโทรศัพท์ เจ้าหน้าทีก่ ารข่าวรายงาน ต่อนายพลมิโกลาสเช็ก ผูส้ งั่ ให้ผกู้ ารฮาร์วาร์ดจับตัวคาเออร์กาห์ให้ได้ ก่อน จะหลบเข้าไปในปากีสถาน เฮลิคอปเตอร์ยกตัวขึน้ จากพืน้ บ่ายหน้าลงใต้ เพื่อไปคว้าตัวคาเออร์กาห์ โดยมีพรีเดเตอร์ของซีไอเอเป็นดวงตาน�ำทาง แต่ซีไอเอมีแผนต่างไปจากนั้น สงครามในอัฟกานิสถานบีบบังคับ องค์กรสายลับให้โอบรัดสายลับปากีสถานให้แน่นขึ้น ข่าวกรองกลางของ ปากีสถานกับข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ เชื่อว่าน่าจะให้สายลับปากีสถาน จับตัวคาเออร์กาห์ โน้มน้าวจูงใจให้มาเป็นสายข่าวให้ซีไอเอ หรืออย่าง น้อยทีส่ ดุ การจับตัวผูน้ ำ� ระดับสูงของตอลิบนั ได้ในอิสลามาบัด น่าจะเพิม่ ไมตรีจิตวอชิงตันต่อปากีสถานได้ระดับหนึ่ง ไม่นานหลังจากเฮลิคอปเตอร์ขึ้นจากกันดาร์ฮาร์ สัญญาณของโดรน ของซีไอเอขาดหาย ชุดปฏิบัติการตาบอดไปชั่วขณะ เจ้าหน้าที่ข่าวกรอง ทหารกรีดร้องใส่โทรศัพท์ในศูนย์ปฏิบัติการ ขอสัญญาณสอดแนมจาก โดรน หลายนาทีผา่ นไป สัญญาณจากโดรนคืนกลับมา จ้องจับทีร่ ถกระบะ สีขาว...อีกคัน ซีไอเอชี้ทางให้คอมมานโดในเฮลิคอปเตอร์ตามรถกระบะผิดคัน ใน ขณะที่รถกระบะสีขาวพาคาเออร์กาห์และคณะ แล่นข้ามทะเลทรายที่ สปิน โบลดัก เข้าไปในปากีสถาน หลายวันหลังจากนั้น หลังการเจรจา ไร้ผล ไม่อาจเปลี่ยนใจคาเออร์กาห์ให้มาเป็นสายข่าวซีไอเอได้ กองก�ำลัง ความมั่นคงของปากีสถานปิดบ้านที่คาเออร์กาห์ซ่อนตัวอยู่ในหมู่บ้านชา มัน สายลับปากีสถานส่งตัวคาเออร์กาห์ให้เจ้าหน้าที่ซีไอเอในเควตตา, 28
ปากีสถาน และมุลลาห์ ไครูลลาห์ คาเออร์กาห์ได้เดินทางไกลไปยังอ่าว กวนตานาโม, คิวบา กลายเป็นนักโทษคนแรกของคุกอ่าวกวนตานาโม ชายอัฟกันสามคนกับเด็กน้อยที่ถูกจับและขังไว้ในกันดาฮาร์ ทหาร พากลับขึ้นเฮลิคอปเตอร์ บินลงใต้ไปสี่สิบไมล์ ปล่อยลงพื้นข้างรถกระบะ สีขาวที่เฮลิคอปเตอร์ร่อนลงมาดักหน้า ทหารมอบอาหารยังชีพให้หลาย กล่อง ด้วยความเคารพต่อศรัทธาของผู้ที่ถูกจับผิดตัว มีการถอดอาหาร ที่เป็นหมูออกจากชุดนั้น
29
* กติกามอสโก ได้ชื่อนี้มาเพราะมอสโกเป็นเมืองเลื่องชื่อจัดการสายลับที่ถูกเปิดโปงอย่างเหี้ยม เกรียม ไม่มบี ญ ั ญัตไิ ว้เป็นลายลักษณ์อกั ษร แต่สายลับทุกคนทีเ่ ดินทางไปถึงมอสโก รูไ้ ด้เอง กฎ หัวแม่โป้ง หรือเรื่องสามัญส�ำนึกนี่เอง พิพิธภัณฑ์สายลับนานาชาติในวอชิงตันดีซี บันทึกไว้ 10 ข้อคือ 1. Assume nothing. อย่าคาดเดาเรื่องใด 2. Never go against your gut. อย่ามองข้ามสังหรณ์ในอก 3. Everyone is potentially under opposition control. ทุกคนที่พบ เป็นไปได้ว่า ตกอยู่ในการควบคุมของฝ่ายตรงข้าม 4. Don’t look back; you are never completely alone. อย่าเหลียวหลัง แกไม่ เคยอยู่โดดเดี่ยวคนเดียว 5. Go with the flow, blend in. ไหลไปตามกระแส กลืนหายไป 6. Vary your pattern and stay within your cover. เปลี่ยนรูปแบบ ยึดหน้าฉาก ไว้ให้มั่น 7. Lull them into a sense of complacency. ลวงล่อให้ฝ่ายตรงข้ามผ่อนคลาย สบายใจ 8. Don’t harass the opposition. อย่ายั่วยุฝ่ายตรงข้าม 9. Pick the time and place for action. เลือกเวลาและสถานที่ในการลงมือ 10. Keep your options open. เปิดทางเลือกให้หลากหลาย 30