3 minute read

สศก. คาดปี 63 จีดีพีเกษตร ยังโต 2 3

ออกดอกและติดผลได้มากขึ้น อีกทั้งราคาในปี ที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการ บ�ำรุง และดูแลรักษามากขึ้น รวมทั้งมีพื้นที่ปลูก ใหม่ ที่เริ่มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ผลผลิตพืชที่ลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี เนื่อง จากเนื้อที่เพาะปลูกลดลงจากปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ ประสบภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในช่วงต้นฤดูปลูก เกษตรกรบางส่วนจึงปล่อยพื้นที่ว่าง และผลกระทบ จากพายุโพดุล และคาจิกิ ข้าวนาปรัง มีผลผลิต ลดลง เนื่องจากปริมาณน�้ำในอ่าง และแหล่งน�้ำ ธรรมชาติมีปริมาณน�้ำน้อย ภาครัฐจึงมีโครงการ สานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพด หลังฤดูท�ำนาแทนข้าวนาปรัง และโครงการส่งเสริม การปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรังปี 2562

Advertisement

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในภาพรวม มีผลผลิต ลดลง แม้ว่าช่วงครึ่งปีแรกจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก การปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา แต่สภาพอากาศ แห้งแล้ง และภาวะฝนทิ้งช่วง รวมทั้งมีการระบาด ของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตรวมทั้งปีลดลง อ้อยโรงงาน มี ผลผลิตลดลง เนื่องจากปริมาณน�้ำไม่เพียงพอต่อ

การเติบโต ท�ำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง สับปะรด โรงงาน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ราคา ตกต�่ำ ไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก รวมถึงต้นสับปะรดไม่สมบูรณ์จากภัยแล้ง

สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.8 ผลผลิต ปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการขยายการผลิตรองรับความต้องการของ ตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดหลัก ทั้งญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ที่ขยายตัว ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีความต้องการบริโภค จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทดแทนเนื้อสุกรที่เกิดโรค ระบาด ASF ทั้งในเกาหลีใต้ และจีน โคเนื้อ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายการ ผลิตโคเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้ง ในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับการ ด�ำเนินมาตรการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของ ภาครัฐ และน�้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น จาก จ�ำนวนแม่โครีดนมเพิ่มขึ้น การคัดทิ้งแม่โคที่มี อัตราการให้น�้ำนมน้อยออกจากฟาร์ม และทดแทน ด้วยแม่โคพันธุ์ดี รวมทั้งเกษตรกรมีการบริหาร จัดการฟาร์มที่ดี ส่งผลให้ปริมาณน�้ำนมดิบเพิ่มขึ้น

ผลผลิตปศุสัตว์ที่ลดลง ได้แก่ สุกร เนื่องจากการลดปริมาณการผลิต ของเกษตรกรรายย่อย จากราคาสุกรที่ตกต�่ำ อย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา และไข่ไก่ มีผลผลิตลดลง เนื่องจากการด�ำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพไข่ไก่ โดยการ ปรับลดแม่ไก่ยืนกรงให้มีปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งการปรับลดแผนการน�ำเข้า ไก่ไข่พันธุ์ (GP - PS) สาขาประมง หดตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากผลผลิตประมงทะเลในส่วนของ ปริมาณสัตว์น�้ำที่น�ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และการ ออกเรือจับสัตว์น�้ำลดลง ประมงน�้ำจืด ได้แก่ ปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับแหล่งผลิตส�ำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบอุทกภัยจากพายุโพดุล ส่งผลให้ผลผลิตประมงน�้ำจืดลดลง อย่างไรก็ตาม กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรมีการบริหารจัดการ ฟาร์มที่ดี ภาครัฐมีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ โดยผ่าน Modern Trade เช่น Lotus และ Macro

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.7 เนื่องจากการจ้างบริการ เครื่องจักรกลทางการเกษตรไปใช้ทดแทนแรงงานคนในกระบวนการผลิตมีมากขึ้น ทั้งการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันส�ำปะหลัง การจ้าง บริการเกี่ยวนวดข้าว การจ้างบริการเครื่องขุดมันส�ำปะหลัง การน�ำอุปกรณ์รถ ตัดอ้อย - สางอ้อยมาใช้เก็บเกี่ยว รวมทั้งมีการใช้บริการโดรนส�ำหรับฉีดพ่นในพื้นที่ เพาะปลูกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีและสนับสนุนในการจัดหา เครื่องจักรกลการเกษตรของภาครัฐ ท�ำให้ กลุ่มเกษตรกรบางส่วน หันมาใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อลด ต้นทุนการผลิต และประหยัดเวลา ในการท�ำงาน

สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากไม้ยูคาลิปตัส ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้ง ในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน และญี่ปุ่น ในการน�ำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต กระดาษ และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (wood pellet) ส่วนผลผลิตครั่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการ ขยายพันธุ์ และเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ประกอบกับประเทศคู่ค้าหลักอย่างประเทศอินเดียมีความต้องการ เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ไม้ยางพารา ลดลงจากการตัดโค่นพื้นที่สวนยางพาราเก่าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากโครงการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรชาวสวนยาง และโครงการประกันรายได้ เกษตรกร จึงตัดโค่นไม้ยางพาราลดลงเพื่อรอรับเงินชดเชย

อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร

หน่วย : ร้อยละ

สาขา 2562 2563 ภาคเกษตร 0.5 2.0 - 3.0 พืช 0.7 2.1 - 3.1 ปศุสัตว์ 0.8 2.3 - 3.3 ประมง -1.3 1.5 - 2.5 บริการทางการเกษตร 2.7 2.5 - 3.5 ป่าไม้ 2.0 1.2 - 2.2

เกษตรฯ ชง ครม. 8,900 ล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

เกษตรฯ ชง ครม. จัดสรรงบ 8,900 ล้าน บูรณาการ 7 กระทรวงด�ำเนิน 114 โครงการพัฒนา ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตามยุทธศาสตร์ชาติ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ กล่าวว่า จะน�ำเสนอกรอบแนวทางการจัดท�ำแผนงาน บูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จากการประชุมคณะกรรมการการจัดท�ำงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เสนอที่ประชุม ครม. วันนี้เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ทั้งนี้วงเงินงบประมาณรวม 8,900 ล้านบาท ขับเคลื่อนภารกิจ 114 โครงการ สอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบมี 8 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรม ส�ำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่นของรัฐ คือ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยงบบูรณาการประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มี วงเงินเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563 ถึง 5,900 ล้านบาท ส�ำหรับแผนงานบูรณาการการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากมีเป้าหมายคือ ชุมชน และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี ลดช่องว่างความเหลื่อมล�้ำของรายได้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรรายย่อย สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตผู้ประกอบการชุมชน พื้นที่ด�ำเนินการครอบคลุม 7,255 ต�ำบลทั่วประเทศ

โดยแนวทางการท�ำงาน ให้ความสําคัญแก่ การบริหารจัดการที่ดินแก่เกษตรกรรายย่อย และ ผู้ด้อยโอกาส ให้มีที่ดินท�ำกินอย่างถูกกฎหมาย ไม่มีการบุกรุกป่าเพิ่ม ผ่านกระบวนการของกลไก ต่างๆ เช่น ส.ป.ก. โฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน นิคมสหกรณ์ นิคมสร้างตนเอง อีกทั้งให้ความ สําคัญกับการคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มี ศักยภาพการผลิตสินค้า ควบคู่กับการท�ำการ ตลาด สินค้าที่ผลิตต้องขายได้ ส�ำหรับแผนบูรณาการปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นทางจะมุ่งเป้า การพัฒนาศักยภาพประชาชนตามกลุ่มเป้าหมาย สนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต (ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 2.4 แสนราย) และส่งเสริม การพัฒนาอาชีพ (ไม่น้อยกว่า 3 แสนราย) กลาง ทางจะมุ่งเป้าพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ และการ ให้บริการชุมชน พัฒนาผู้ประกอบการชุมชน/ วิสาหกิจชุมชน/เกษตรกรรุ่นใหม่ (ตั้งเป้าไม่ต�่ำกว่า 4,300 กลุ่ม)

ส่วนปลายทางพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกลไกตลาด สนับสนุนให้เข้าถึงตลาด รวมถึง ขยายสู่ตลาดออนไลน์ด้วย (เป้ารายได้จากการ จ�ำหน่ายสินค้าชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10) โครงการ ตัวอย่างได้แก่ โครงการบริหารจัดการที่ดินท�ำกิน แก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 1,100 ล้านบาท โครงการศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร วงเงิน 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 873 ล้านบาท โครงการ Smart Farmer วงเงิน 635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 434 ล้านบาท

โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิต ด้านการเกษตร วงเงิน 352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 266 ล้าน บาท โครงการพัฒนาสินค้าชุมชน วงเงิน 1,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 711 ล้านบาทเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าชุมชนซึ่งเกษตรกรฐานะยากจนในพื้นที่ 20 จังหวัด ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม วงเงิน 80 ล้านบาท เริ่มด�ำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นครั้งแรก

โครงการพัฒนาศักยภาพการด�ำเนินธุรกิจ ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน วงเงิน 503 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 423 ล้านบาท และโครงการ ส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในส�ำหรับ สินค้าเกษตร วงเงิน 538 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 459 ล้านบาท เช่น การพัฒนาระบบเก็บข้อมูล การบริหารจัดการ การผลิตและการตลาดของสหกรณ์ ด้วยเทค - โนโลยี Blockchain วงเงิน 73 ล้านบาท ซึ่ง เริ่มด�ำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็น ครั้งแรกๆ กลุ่มเป้าหมาย คือ สหกรณ์ และกลุ่ม เกษตรกร 30 แห่ง ในสินค้าเกษตร 4 ชนิด คือ ข้าว มันส�ำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน�้ำมัน

“กรอบแนวทางการท�ำงานบูรณาการ ดังกล่าว เป็นอีกกลไกส�ำคัญหนึ่งที่จะเข้าไปสร้าง ความเข้มแข็งแก่กลุ่มเกษตรกร และชาวบ้านใน ชุมชน อีกทั้งแก้ไขปัญหาการบริหารราชการ จาก แบบต่างคนต่างท�ำระหว่างกรม และกระทรวง น�ำ ไปสู่การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและสามารถ ปฏิบัติภารกิจให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้” นาย เฉลิมชัย กล่าว

This article is from: