วารสารเล่มที่ 190(ม.ค.-ก.พ.63)

Page 1



รายนามสมาชิก สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1. บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จ�ำกัด

28. บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จ�ำกัด

2. บริษัท แหลมทองสหการ จ�ำกัด

29. บริษัท ยู่สูง จ�ำกัด

3. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด

30. บริษัท แหลมทองอะควอเทค จ�ำกัด

4. บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด

31. บริษัท บางกอกแร้นซ์ จ�ำกัด (มหาชน)

5. บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน)

32. บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด

6. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน)

33. บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จ�ำกัด

7. บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน)

34. บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน)

8. บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน)

35. บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุป ๊ จ�ำกัด

9. บริษัท คาร์กิลล์สยาม จ�ำกัด

36. บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จ�ำกัด

10. บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด

37. บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จ�ำกัด (มหาชน)

11. บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จ�ำกัด

38. บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด

12. บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จ�ำกัด

39. บริษัท บุญพิศาล จ�ำกัด

13. บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จ�ำกัด

14. บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

40. บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จ�ำกัด 41. บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จ�ำกัด

15. บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุร)ี จ�ำกัด

42. บริษัท ไทย ฟูด ้ ส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด

16. บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน)

43. บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

17. บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด

44. บริษัท วีพีเอฟ กรุป ๊ (1973) จ�ำกัด

18. บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

45. บริษัท อาร์ที อะกริเทค จ�ำกัด

19. บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จ�ำกัด

46. บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จ�ำกัด

20. บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จ�ำกัด

47. บริษัท เจบีเอฟ จ�ำกัด

21. บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จ�ำกัด

48. บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จ�ำกัด

22. บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จ�ำกัด

49. บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จ�ำกัด

23. บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด

50. บริษัท ไทสัน ฟีด (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

24. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จ�ำกัด

51. บริษัท เกษมชัยฟาร์มอาหารสัตว์ จ�ำกัด

25. บริษัท อีสเทิรน์ ฟีดมิลล์ จ�ำกัด

52. บริษัท พนัส ฟีดมิลล์ จ�ำกัด

26. บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด

53. บริษัท เอพีเอ็ม อะโกร จ�ำกัด

27. บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด

54. บริษัท แสงทองอาหารสัตว์ จ�ำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจ�ำปี 2562     -     2563

1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

นายกสมาคม

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน)

2. นายชยานนท์ กฤตยาเชวง

อุปนายก

บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน)

3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์

อุปนายก

บริษัท ป. เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด

4. นายไพศาล เครือวงศ์วานิช

อุปนายก

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน)

5. นางเบญจพร สังหิตกุล

เหรัญญิก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน)

6. นายบุญธรรม อร่ามศิรวิ ัฒน์

เลขาธิการ

บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน)

7. น.ส. สุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์

รองเลขาธิการ

บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จ�ำกัด

8. นายสมภพ เอื้อทรงธรรม

รองเลขาธิการ

บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด

9. นายโดม มีกุล

ประชาสัมพันธ์

บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุร)ี จ�ำกัด

10. นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์

ปฏิคม

บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด

11. นายเธียรเทพ ศิรชิ ยาพร

นายทะเบียน

บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด

12. นายสุจิน ศิรม ิ งคลเกษม

กรรมการ

บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน)

13. น.ส. รติพันธ์ หิตะพันธ์

กรรมการ

บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด

14. นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล

กรรมการ

บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด

15. นายจ�ำลอง เติมกลิ่นจันทน์

กรรมการ

บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด

16. นายพน สุเชาว์วณิช

กรรมการ

บริษัท บางกอกแร้นช์ จ�ำกัด (มหาชน)


บรรณาธิการแถลง วิกฤติโลก วิกฤติภายใน วิกฤติภายนอก รุกคืบเข้ามาไม่หยุดหย่อน กระทบ ทุกฝ่าย ทุกผู้คน ไม่เว้นแม้แต่สัตว์เล็ก สัตว์น้อย เล็ก ใหญ่ คนไทย คนทั่วโลก ได้รับกันทั่วถึงมาตั้งแต่ต้นปี ทั้งปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปัญหา COVID-19 หน้ากาก อนามัย ใส่กันจนเคยชิน ไม่อึดอัดกันแล้ว วันไหนไม่ใส่ รู้สึกไม่สบายใจเลย ยิ่งเข้าไปอยู่ในคนหมู่มาก นึกแล้วเสียว ก็คงหวังให้ วิกฤติต่างๆ ผ่านพ้นไป โดยเร็ว สภาวะเศรษฐกิจฟื้นกลับมาให้เร็ว มิฉะนั้นอยู่ยาก ภาคปศุสตั ว์ โดยเฉพาะหมู เมือ่ ปลายปี มองว่าก�ำลังไปได้สวย เพราะทุกฝ่าย ร่วมมือร่วมใจกันเฝ้าระวังมิให้เกิดวิกฤติโรค ASF เมื่อผลการเลี้ยง และราคา เป็น ที่น่าพอใจ ท�ำให้ราคาปศุสัตว์อื่นๆ ได้รับผลดีไปด้วย เพราะการใช้บริโภคทดแทน กันได้ จึงมีการสั่งซื้อมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ ที่เหมาะสม เมื่อมาถึง ณ เวลานี้ ที่วิกฤติของ COVID-19 เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ท�ำให้การเคลื่อนย้ายคน การเดินทางท่องเที่ยวในภูมิภาคต่างๆ เป็นไปด้วยความ ยากล�ำบาก ก�ำลังซื้อถดถอย จะกระทบต่อภาคการผลิตตามไปด้วย อีกทั้งวิกฤติ ความแห้งแล้ง การขาดน�้ำในการเพาะปลูก ท�ำให้แนวโน้มผลผลิตทางการเกษตร จะได้รบั ความเสียหาย ปริมาณลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมทัง้ มีอปุ สรรค ในการน�ำเข้าวัตถุดิบมาทดแทนบางส่วนที่ขาดแคลน ดังนั้น จึงหวังการได้รับ ความช่วยเหลือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ เรื่องนโยบายการน�ำเข้า ให้พิจารณาช่วยเหลือทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคปศุสัตว์ ที่ยังมีก�ำลังพอที่จะช่วย ประคับประคอง และจะเป็นห่วงโซ่ที่ส�ำคัญ คอยเชื่อมภาคเกษตรต้นทาง ไปสู่ ปลายทางผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และทั่วโลก ที่ยังพึงพอใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ของไทย และเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานการผลิตที่ไม่แพ้ใครในโลกนี้ อย่าง แน่นอน...... บก.


Contents Thailand Focus สศก. คาดปี 63 จีดีพีเกษตร ยังโต 2 - 3%................................................5 เกษตรฯ ชง ครม. 8,900 ล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก.........................10 ส.กุ้งไทย ชี้ทิศทางอนาคตกุ้งไทย ผลิตกุ้งที่ดีท่ ีสุดมอบแด่ชาวโลก..........12

วารสาร

ธุรกิจอาหารสัตว์

ปีที่ 37  เล่มที่ 190 มกราคม      -      กุมภาพันธ์ 2563

งานสัตว์น้�ำไทย 2019 จัดได้ย่ิงใหญ่ มิติใหม่วงการสัตว์น้�ำไทย............... 16 6 ปัจจัยหนุนส่งออก ลุ้นฝ่าด่านโคโรนา ดันทั้งปีเป็นบวก......................... 19 คงเป้าแผนน�ำเข้า ปี 63 คุมเข้มไข่ล้นตลาด.............................................22 ยึดซากสัตว์ปีก ลักลอบน�ำเข้ามูลค่ากว่า 1.3 ล้าน....................................25

Food Feed Fuel เลขาฯ ฟันธง ปี 63 วัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ขาดแคลน...............................27

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรูแ ้ ละเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการปศุสัตว์ ่ี ยวข้ ่ ่ 2. เพื่อเป็ นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ทเกี องทัวไป ่ 3. เพือพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ ่ นประโยชน์ ของประเทศให้เจริญรุง ่ เรืองในแนวทางทีเป็ ต่อเศรษฐกิจของชาติ ่ 4. ไม่เกียวข้ องกับการเมือง

ด�ำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย

ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร

รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล 

กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ

กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล นางสาวดวงกมล รัชชะกิตติ นางสาวกรดา พูลพิเศษ 

ส�ำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265 Email: tfma44@yahoo.com Website: www.thaifeedmill.com

‘โคโรนา’ ทุบราคาไข่ไก่รว่ ง.....................................................................32 หมูติดร่างแห ‘โคโรนา’ พ่นพิษราคาร่วง..................................................34 ร้องรัฐช่วยเหลือ หลังผลผลิตมันส�ำปะหลังหาย 15%..............................35 รับปากแก้ปญ ั หานมโคล้นตลาด..............................................................37 ร้อง ข้าวโพดพม่า ทะลัก ‘สวมสิทธิ’ ทุบราคาดิ่ง.......................................38

Market Leader คาดปี 63 ก�ำลังผลิตสุกรขยับตัวสูงขึ้น................................................... 41 เลี้ยงกุ้งอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโรคตัวแดงดวงขาว...............................43 ความท้าทาย และประเด็นต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง: ประสบการณ์ของไทยในงานชริม ้ ป์ 2019........................................... 48 ฮ่องกง ผวา หมูจีน น�ำเข้าจากไทยเพิ่ม 2,000%....................................52 พลิกฟื้ นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ ทางเลือกอุตสาหกรรมสัตว์น้�ำ. ....................54 ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามในอาหาร และวัตถุดิบอาหารสัตว์..................57 กรมการค้ากลับล�ำไม่คุมส่งออกหมู ภัยแล้ง - โรคระบาดซ้�ำเติมราคาแพง..................................................62

Around the World งานแถลงข่าวการจัดงานอย่างเป็นทางการ ณ กรุงเทพ, ประเทศไทย VICTAM และ VIV ผลึกก�ำลังผลักดัน งาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia เปิดตัวงานแสดงสินค้า และเทคโนโลยี ด้านอาหารสัตว์ สุขภาพ และโภชนาการสัตว์ครบวงจร ครัง้ แรกของเอเชีย. .......................................................................... 65 ราคาวัตถุดิบและปศุสัตว์. ...................................................................... 69 ตารางประมาณการประชากรสัตว์ ปี 2562-2563...................................78 ขอบคุณ................................................................................................ 80



ระบบมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

GMP / HACCP

ISO 9001 : 2015 / ISO 14001 : 2015


T

Thailand Focus

วันที่ 18 ธันวาคม 2562 นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ำกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการวิเคราะห์ภาวะ เศรษฐกิจการเกษตร ปี 2562 โดยส�ำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยปัจจัยบวก ทีส่ ง่ ผลให้ภาคเกษตรขยายตัวได้ คือ สภาพอากาศ เย็นในช่วงปลายปี 2561 เอื้ออ�ำนวยให้ไม้ผล ทั้งทุเรียน มังคุด และเงาะมีการออกดอกติดผล ให้ผลผลิตได้จ�ำนวนมาก ไม้ยืนต้นมีเนื้อที่ให้ผล เพิ่มขึ้น ท�ำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และในส่วนของการ ผลิตสินค้าปศุสตั ว์ มีระบบการผลิตทีไ่ ด้มาตรฐาน มีการวางแผนการผลิตและการเฝ้าระวังควบคุม โรคระบาดอย่างต่อเนื่อง

สศก. คาดปี 63

จีดีพีเกษตร

ประกอบกับ กระทรวงเกษตรฯ ได้มงุ่ พัฒนา ภาคเกษตร โดยเน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และ ให้ความส�ำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การ ปฏิบตั ิ โดยได้ดำ� เนินนโยบายทีส่ ำ� คัญอย่างต่อเนือ่ ง อาทิ การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer และ พัฒนาสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ซึ่ง ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นเกษตรกรมืออาชีพ โดย ใช้หลักการตลาดน�ำการผลิตควบคูก่ บั การใช้เทค -   โนโลยีและนวัตกรรม ท�ำให้การผลิตสินค้าเกษตร สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของตลาด และมี คุณภาพมาตรฐานมากขึ้น

ยังโต 2 - 3% สศก. แถลงจีดีพีเกษตร 62 ยังขยายตัวได้ 0.5% แม้เผชิญ สภาพอากาศแปรปรวน และเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน คาดปี 63 ภาคเกษตร ยังโตต่อเนื่อง 2    -    3%

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับปริมาณน�้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผล ต่ อ การเติ บ โตของข้ า ว อ้ อ ย และสั บ ปะรด นอกจากนี้ ฝนที่มาล่าช้า และภาวะฝนทิ้งช่วง ยัง

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันพุธที ่ 18 ธันวาคม 2562 ทีมา

5

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ชว่ ยรัฐมนตรีประจ�ำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการ สศก.

ท�ำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช รวม ไปถึงในช่วงปลายเดือนสิงหาคม - กันยายน 2562 พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน “โพดุล” ส่งผล พืน้ ทีเ่ พาะปลูกพืชได้รบั ความเสียหาย รวมทัง้ การ ระบาดของโรค และแมลงศัตรูพืช อาทิ หนอน กระทู้ข้าวโพดลายจุด โรคใบด่าง มันส�ำปะหลัง โรคไหม้ขา้ ว และโรคใบร่วงยางพารา ท�ำให้ผลผลิต ได้รบั ความเสียหาย อีกทัง้ การส่งออกสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ มีทิศทางลดลง จากเศรษฐกิจโลก ชะลอตัว

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยโดยรวม และเศรษฐกิจโลก ในปี 2563 ยังมีแนวโน้มขยายตัว รวมทัง้ การส่งเสริม การบริโภค และการใช้สินค้าเกษตรในประเทศ อย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ภาค เกษตรในปี 2563 ขยายตัวได้ดี

ด้านนายระพีภทั ร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการ สศก. กล่าวว่า หากพิจารณาแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืช สาขาปศุสตั ว์ สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ยังคงขยายตัว ในขณะที่สาขา ประมงหดตัว โดย สาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 0.7 เป็นผลจากไม้ผลและไม้ยืนต้นมีการเติบโต และ ส�ำหรับทิศทางภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี ให้ผลผลิตได้ดี โดยผลผลิตพืชที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ 2563 คาดว่า จะขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 2.0 -   ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน เนื่องจาก เนื้อที่ให้ผลเพิ่ม 3.0 ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการด�ำเนินนโยบาย ขึน้ และต้นยางพาราและต้นปาล์มน�ำ้ มันส่วนใหญ่ ด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการ อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตได้มาก ทรัพยากรน�ำ้ การส่งเสริมการรวมกลุม่ การส่งเสริม มันส�ำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเนื้อที่ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพ เก็บเกีย่ วเพิม่ ขึน้ ซึง่ เป็นผลจากราคามันส�ำปะหลัง สินค้าเกษตร การบริหารการผลิตให้สอดคล้อง ในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ไม้ผล ทุเรียน มังคุด กั บ ความต้ อ งการของตลาด ซึ่ ง ช่ ว ยลดต้ น ทุ น และเงาะ มีผลผลิตเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากสภาพอากาศ ท�ำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น เย็นในช่วงปลายปี 2561 เอื้ออ�ำนวยให้มีการ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

6


T

Thailand Focus

ออกดอกและติดผลได้มากขึ้น อีกทั้งราคาในปี ที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการ บ�ำรุง และดูแลรักษามากขึ้น รวมทั้งมีพื้นที่ปลูก ใหม่ ที่เริ่มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย

การเติบโต ท�ำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง สับปะรด โรงงาน มีผลผลิตลดลง เนือ่ งจากในปีทผ่ี า่ นมา ราคา ตกต�่ำ ไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก รวมถึงต้นสับปะรดไม่สมบูรณ์จากภัยแล้ง

ผลผลิตพืชที่ลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี เนื่อง จากเนือ้ ทีเ่ พาะปลูกลดลงจากปีทผี่ า่ นมา บางพืน้ ที่ ประสบภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในช่วงต้นฤดูปลูก เกษตรกรบางส่วนจึงปล่อยพืน้ ทีว่ า่ ง และผลกระทบ จากพายุโพดุล และคาจิกิ ข้าวนาปรัง มีผลผลิต ลดลง เนื่องจากปริมาณน�้ำในอ่าง และแหล่งน�้ำ ธรรมชาติมีปริมาณน�้ำน้อย ภาครัฐจึงมีโครงการ สานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพด หลังฤดูทำ� นาแทนข้าวนาปรัง และโครงการส่งเสริม การปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรังปี 2562

สาขาปศุสตั ว์ ขยายตัวร้อยละ 0.8 ผลผลิต ปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการขยายการผลิตรองรับความต้องการของ ตลาด โดยเฉพาะการส่ ง ออกไปยั ง ตลาดหลั ก ทั้งญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ที่ขยายตัว ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีความต้องการบริโภค จากต่างประเทศเพิม่ ขึน้ ทดแทนเนือ้ สุกรทีเ่ กิดโรค ระบาด ASF ทั้งในเกาหลีใต้ และจีน โคเนื้อ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายการ ผลิตโคเพือ่ ตอบสนองความต้องการของตลาด ทัง้ ในประเทศ และประเทศเพือ่ นบ้าน ประกอบกับการ ด� ำ เนิ น มาตรการส่ ง เสริ ม การเลี้ ย งโคเนื้ อ ของ ภาครัฐ และน�้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น จาก จ�ำนวนแม่โครีดนมเพิ่มขึ้น การคัดทิ้งแม่โคที่มี อัตราการให้นำ�้ นมน้อยออกจากฟาร์ม และทดแทน ด้วยแม่โคพันธุ์ดี รวมทั้งเกษตรกรมีการบริหาร จัดการฟาร์มทีด่ ี ส่งผลให้ปริมาณน�ำ้ นมดิบเพิม่ ขึน้

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในภาพรวม มีผลผลิต ลดลง แม้วา่ ช่วงครึง่ ปีแรกจะมีผลผลิตเพิม่ ขึน้ จาก การปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา แต่สภาพอากาศ แห้งแล้ง และภาวะฝนทิง้ ช่วง รวมทัง้ มีการระบาด ของหนอนกระทู ้ ข ้ า วโพดลายจุ ด ในหลายพื้ น ที่ ส่งผลให้ผลผลิตรวมทั้งปีลดลง อ้อยโรงงาน มี ผลผลิตลดลง เนื่องจากปริมาณน�้ำไม่เพียงพอต่อ

7

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

ผลผลิตปศุสัตว์ที่ลดลง ได้แก่ สุกร เนื่องจากการลดปริมาณการผลิต ของเกษตรกรรายย่อย จากราคาสุกรที่ตกต�่ำ อย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา และไข่ไก่ มีผลผลิตลดลง เนื่องจากการด�ำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพไข่ไก่ โดยการ ปรับลดแม่ไก่ยืนกรงให้มีปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งการปรับลดแผนการน�ำเข้า ไก่ไข่พันธุ์ (GP - PS) สาขาประมง หดตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากผลผลิตประมงทะเลในส่วนของ ปริมาณสัตว์น�้ำที่น�ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และการ ออกเรือจับสัตว์น�้ำลดลง ประมงน�้ำจืด ได้แก่ ปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับแหล่งผลิตส�ำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบอุทกภัยจากพายุโพดุล ส่งผลให้ผลผลิตประมงน�้ำจืดลดลง อย่างไรก็ตาม กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรมีการบริหารจัดการ ฟาร์มทีด่ ี ภาครัฐมีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ โดยผ่าน Modern Trade เช่น Lotus และ Macro สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.7 เนื่องจากการจ้างบริการ เครื่องจักรกลทางการเกษตรไปใช้ทดแทนแรงงานคนในกระบวนการผลิตมีมากขึ้น ทั้งการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันส�ำปะหลัง การจ้าง บริการเกี่ยวนวดข้าว การจ้างบริการเครื่องขุดมันส�ำปะหลัง การน�ำอุปกรณ์รถ ตัดอ้อย - สางอ้อยมาใช้เก็บเกี่ยว รวมทั้งมีการใช้บริการโดรนส�ำหรับฉีดพ่นในพื้นที่ เพาะปลูกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยี แ ละสนั บ สนุ น ในการจั ด หา เครือ่ งจักรกลการเกษตรของภาครัฐ ท�ำให้ กลุม่ เกษตรกรบางส่วน หันมาใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อลด ต้นทุนการผลิต และประหยัดเวลา ในการท�ำงาน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

8


T

Thailand Focus

สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากไม้ยูคาลิปตัส ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้ง ในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน และญี่ปุ่น ในการน�ำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต กระดาษ และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (wood pellet) ส่วนผลผลิตครั่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการ ขยายพันธุ์ และเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ประกอบกับประเทศคู่ค้าหลักอย่างประเทศอินเดียมีความต้องการ เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ไม้ยางพารา ลดลงจากการตัดโค่นพื้นที่สวนยางพาราเก่าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากโครงการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรชาวสวนยาง และโครงการประกันรายได้ เกษตรกร จึงตัดโค่นไม้ยางพาราลดลงเพื่อรอรับเงินชดเชย อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร

สาขา ภาคเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร ป่าไม้

2562 0.5 0.7 0.8  -1.3 2.7 2.0

9

หน่วย : ร้อยละ

2563 2.0 - 3.0 2.1 - 3.1 2.3 - 3.3 1.5 - 2.5 2.5 - 3.5 1.2 - 2.2

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

เกษตรฯ ชง ครม. 8,900 ล้าน

กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เกษตรฯ ชง ครม. จัดสรรงบ 8,900 ล้าน บูรณาการ 7 กระทรวงด�ำเนิน 114 โครงการพัฒนา ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตามยุทธศาสตร์ชาติ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ กล่าวว่า จะน�ำเสนอกรอบแนวทางการจัดท�ำแผนงาน บูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จากการประชุมคณะกรรมการการจัดท�ำงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เสนอทีป่ ระชุม ครม. วันนีเ้ พือ่ พิจารณาเห็นชอบ ทั้งนี้วงเงินงบประมาณรวม 8,900 ล้านบาท ขับเคลื่อนภารกิจ 114 โครงการ สอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบมี 8 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผูร้ บั ผิดชอบหลัก กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรม ส�ำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่นของรัฐ คือ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยงบบูรณาการประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มี วงเงินเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563 ถึง 5,900 ล้านบาท ส�ำหรับแผนงานบูรณาการการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากมีเป้าหมายคือ ชุมชน และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี ลดช่องว่างความเหลื่อมล�้ำของรายได้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผูม้ รี ายได้นอ้ ย เกษตรกรรายย่อย สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผูผ้ ลิตผูป้ ระกอบการชุมชน พื้นที่ด�ำเนินการครอบคลุม 7,255 ต�ำบลทั่วประเทศ ่ : คม ชัด ลึก ออนไลน์ วันอังคารที ่ 21 มกราคม 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

10


T

Thailand Focus

โดยแนวทางการท�ำงาน ให้ความสําคัญแก่ การบริหารจัดการทีด่ นิ แก่เกษตรกรรายย่อย และ ผู้ด้อยโอกาส ให้มีท่ีดินท�ำกินอย่างถูกกฎหมาย ไม่มกี ารบุกรุกป่าเพิม่ ผ่านกระบวนการของกลไก ต่างๆ เช่น ส.ป.ก. โฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน นิคมสหกรณ์ นิคมสร้างตนเอง อีกทั้งให้ความ สําคัญกับการคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มี ศักยภาพการผลิตสินค้า ควบคู่กับการท�ำการ ตลาด สินค้าที่ผลิตต้องขายได้ ส�ำหรับแผนบูรณาการปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นทางจะมุ่งเป้า การพัฒนาศักยภาพประชาชนตามกลุ่มเป้าหมาย สนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต (ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 2.4 แสนราย) และส่งเสริม การพัฒนาอาชีพ (ไม่นอ้ ยกว่า 3 แสนราย) กลาง ทางจะมุ่งเป้าพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ และการ ให้บริการชุมชน พัฒนาผู้ประกอบการชุมชน/ วิสาหกิจชุมชน/เกษตรกรรุน่ ใหม่ (ตัง้ เป้าไม่ตำ�่ กว่า 4,300 กลุ่ม) ส่วนปลายทางพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกลไกตลาด สนับสนุนให้เข้าถึงตลาด รวมถึง ขยายสู่ตลาดออนไลน์ด้วย (เป้ารายได้จากการ จ�ำหน่ายสินค้าชุมชนเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10) โครงการ ตัวอย่างได้แก่ โครงการบริหารจัดการที่ดินท�ำกิน แก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 1,100 ล้านบาท โครงการศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร วงเงิน 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 873 ล้านบาท โครงการ Smart Farmer วงเงิน 635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 434 ล้านบาท

โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิต ด้านการเกษตร วงเงิน 352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 266 ล้าน บาท โครงการพัฒนาสินค้าชุมชน วงเงิน 1,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 711 ล้านบาทเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าชุมชนซึง่ เกษตรกรฐานะยากจนในพืน้ ที่ 20 จังหวัด ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม วงเงิน 80 ล้านบาท เริ่มด�ำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นครั้งแรก โครงการพัฒนาศักยภาพการด�ำเนินธุรกิจ ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน วงเงิน 503 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 423 ล้านบาท และโครงการ ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาระบบตลาดภายในส� ำ หรั บ สินค้าเกษตร วงเงิน 538 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 459 ล้านบาท เช่น การพัฒนาระบบเก็บข้อมูล การบริหารจัดการ การผลิตและการตลาดของสหกรณ์ ด้วยเทค โนโลยี Blockchain วงเงิน 73 ล้านบาท ซึ่ง เริ่มด�ำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็น ครั้งแรกๆ กลุ่มเป้าหมาย คือ สหกรณ์ และกลุ่ม เกษตรกร 30 แห่ง ในสินค้าเกษตร 4 ชนิด คือ ข้าว มันส�ำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน�้ำมัน “กรอบแนวทางการท� ำ งานบู ร ณาการ ดังกล่าว เป็นอีกกลไกส�ำคัญหนึง่ ทีจ่ ะเข้าไปสร้าง ความเข้มแข็งแก่กลุม่ เกษตรกร และชาวบ้านใน ชุมชน อีกทัง้ แก้ไขปัญหาการบริหารราชการ จาก แบบต่างคนต่างท�ำระหว่างกรม และกระทรวง น�ำ ไปสู่การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและสามารถ ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ให้ บ รรลุ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ไ ด้ ” นาย เฉลิมชัย กล่าว

11

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

ส.กุ้งไทย ชี้ทิศทางอนาคตกุ้งไทย

ผลิตกุ้งที่ดีที่สุดมอบแด่ชาวโลก คาดปี หน้า จะผลิตกุ้งเพิ่ ม 20% มุ่งเน้นคุณภาพ ความปลอดภัย ปลอดสารตกค้าง ผลิตกุ้งไซส์ใหญ่ โปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็ นมิตรสิ่ งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางการค้าให้ดียิ่งๆ ขึน ้ วอนรัฐช่วยแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป ซึ่งท�ำให้ส่งออก/ แข่งขันไม่ได้ ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้โอกาสเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย เข้าถึงแหล่งทุน การเสริมสภาพคล่อง การเพิม่ ความสามารถในการแข่งขัน ให้กับภาคการผลิต ภาคการส่งออก และส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ฯลฯ เพื่อ ความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้งไทย

ดร.สมศั กดิ์ ปณีตัธยาศั ย นายกสมาคมกุ้งไทย

เมือ่ วันที่ 12 ธันวาคม 2562 ทีผ่ า่ นมา ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย น�ำทีม คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประกอบด้วย ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์ และที่ปรึกษาสมาคมกุ้งไทย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ อุ ป นายกสมาคมกุ ้ ง ไทย และผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ด้ า นการเพาะเลี้ ย งสั ต ว์ น�้ ำ คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ นายปกครอง เกิดสุข อุปนายกสมาคม และประธานที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ นายสมชาย ฤกษ์โภคี นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ งกุง้ ทะเลไทย และเลขาธิการสมาคมกุง้ ไทย และนางสาว พัชรินทร์ จินดาพรรณ นายกสมาคมกุง้ ตะวันออกไทย และกรรมการบริหาร สมาคมกุง้ ไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์กงุ้ ของไทยปี 2562 ว่า ผลผลิตกุง้ เลีย้ ง ปี 2561 โดยรวมอยู่ที่ 290,000 ตัน ส่วนผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2562 นี้ อยู่ที่ ประมาณ 290,000 ตัน (จ�ำนวนเท่ากับปี 2561) คาดการณ์ว่าปี 2563 จะผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 หรือประมาณ 350,000 ถึง 400,000 ตัน หากทุกปัจจัยเอื้ออ�ำนวย

่ : วารสารข่าวกุ้ง ปี ที่ 31 ฉบับที ่ 377 เดือนธันวาคม 2562 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

12


T

Thailand Focus

“ผลผลิตกุ้งไทยปี 2562 นี้ คาดว่าจะผลิต ได้ 290,000 ตัน เท่าปีที่แล้ว (โดยร้อยละ 34 เป็นผลผลิตกุ้งจากภาคใต้ตอนล่าง ร้อยละ 30 จากภาคตะวั น ออก ร้ อ ยละ 25 จากภาคใต้ ตอนบน และร้อยละ 12 จากภาคกลาง ตามล�ำดับ) แม้เกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถรับมือ - จัดการกับ สถานการณ์โรคได้ดีขึ้น และยังต้องเผชิญกับโรค ต่างๆ แต่ด้วยสภาพอากาศแปรปรวน และราคา กุ้งที่ไม่จูงใจ/ต�่ำ ผลผลิตกุ้งจึงยังไม่เพิ่มขึ้น ส่วน ผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ดังแสดงในตารางที่ 1 ซึง่ จะเห็นว่า หลายประเทศ เช่น เวียดนาม อินเดีย ประเทศแถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ฯลฯ ผลิตกุง้ ได้เพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะอินเดีย ปีนที้ ผี่ ลิตกุง้ ได้เกือบ 600,000 ตัน ทั้งที่ประสบปัญหาการ เลี้ยง โรคระบาด สภาพแวดล้อม และอื่นๆ นั้น เป็นสาเหตุส�ำคัญท�ำให้ราคากุ้งทั่วโลกตกต�่ำ ส่ง ผลกระทบต่อราคาสินค้ากุ้งในประเทศ และความ สามารถในการแข่งขันของกุ้งไทยในตลาดโลก ส่วนข้อมูลการส่งออกกุ้ง เดือนมกราคม ตุลาคม ปีนี้ ปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ที่ส่งออกปริมาณ 143,129 ตัน มูลค่า 45,545 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 6 และร้อยละ 12 ตามล�ำดับ” นายก สมาคมกุ้งไทย กล่าว นายปกครอง เกิดสุข นายกสมาคมกุ้งไทย และประธานที่ ป รึ ก ษาชมรมผู ้ เ ลี้ ย งกุ ้ ง จั ง หวั ด กระบี่ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ ตอนล่างว่า “ผลผลิตปี 2562 คาดการณ์ว่า มี ผลผลิตประมาณ 99,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมาประมาณร้อยละ 4 จากปัญหาภาวะราคา

กุ้งผันผวน ท�ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งฝั่งอันดามัน ปรับตัวไปเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำมากขึ้น นอกจากนี้ พบ ปัญหาโรคอีเอ็มเอส อาการขี้ขาว และโรคตัวแดง ดวงขาว” นายสมชาย ฤกษ์โภคี นายกสมาคมกุ้ง ทะเลไทย และเลขาธิการสมาคมกุ้งไทย กล่าว ว่า “ผลผลิตกุ้งปี 2562 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ประมาณ 85,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา เล็กน้อย พบปัญหาขี้ขาวตลอดทั้งปี รวมถึง EMS โดยเฉพาะ จ.สุราษฎร์ธานี และพบตัวแดงค่อนข้าง มากในช่วงปลายปี ส่งผลให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร จากความเสียหายดังกล่าว ประกอบกับทิศทาง ราคากุง้ ไม่คอ่ ยดี เกษตรกรจึงลดความหนาแน่นลง ลดจ�ำนวนกุ้งลง จ�ำนวนบ่อลง” นางสาวพัชรินทร์ จินดาพรรณ นายกสมาคม กุ้งตะวันออกไทย และกรรมการบริหารสมาคม กุง้ ไทย กล่าวว่า “ผลผลิตกุง้ ปี 2562 ในพืน้ ทีภ่ าค ตะวันออก ประมาณ 73,000 ตัน ใกล้เคียงกับ ปีที่ผ่านมา ต้นปี จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ประสบปั ญ หาการเลี้ ย งจากโรคขี้ ข าวค่ อ นข้ า ง รุนแรง ส่วน จ.ฉะเชิงเทรา พบปัญหา EHP และ โรคหัวเหลือง และปัจจุบันก็ยังคงพบขี้ขาวอยู่ แต่ เบาบางลง แต่มีปัญหา WSSV เข้ามาแทนในช่วง ปลายปี ท� ำ ให้ ก ารเลี้ ย งยั ง คงประสบกั บ ความ เสียหาย ท�ำให้ผลผลิตออกมาได้ไม่ดีนัก ส่วน ภาคกลาง ผลผลิตกุ้งปี 2562 ในพื้นที่ภาคกลาง ประมาณ 33,000 ตัน ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ กับปีที่ผ่านมา” นายบรรจง นิสภวาณิชย์ อุปนายกสมาคม กุง้ ไทย และผูท้ รงคุณวุฒ ิ - ด้านการเพาะเลีย้ งสัตว์ น�้ำ คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ กล่าว ว่า “โดยภาพรวมการเลีย้ งกุง้ ของไทย เกษตรกรยัง

13

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

ตารางที่ 1 ผลผลิตกุ้งเลี้ยงโลก ปี 256    -    2562*

ประเทศ/ปี ไทย จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อเมริกากลาง  - ใต้ อื่นๆ รวม

2556

2557

2558

250 650 240 180 270 46 52 555 65 2,308

230 625 300 200 420 35 57 630 70 2,567

260 600 210 220 470 30 48 628 100 2,566

หน่วย : พันตัน

2559 300 550 260 270 530 40 53 669 110 2,782

2560

2561

300 525 320 260 600 45 55 810 160 3,075

290 525 410 270 560 39 56 870 200 3,220

2562* 290 625 440 260 580 48 58 973 135 3,409

% เปลี่ยนแปลง 61/62     -     +19% +7%     -4% +4% +23% +36% +12%     -33% +5%

ที่มา : สมาคมกุ้งไทย, *ประมาณการ

คงเผชิญหน้ากับปัญหาโรคตัวแดงดวงขาว อาการ ขี้ขาว ที่ยังคงสร้างความเสียหายกระจายในพื้นที่ เลี้ยงหลักๆ ท�ำให้เกษตรกรไม่สามารถสร้างผล การเลี้ยงที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้มีต้นทุนแฝง จากความเสียหาย และกุ้งที่โตได้ไม่เต็มศักยภาพ ในปีนี้หลายๆ ฟาร์ม จึงปรับลดความหนาแน่น ในการเลี้ยงลงมาประมาณร้อยละ 20 - 30 เพื่อ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค นอกจากนี้ ยังพบ รายงานการเกิดโรค EMS อย่างต่อเนื่องในปีนี้ เช่นกัน แต่มั่นใจว่าปีหน้าปัญหาดังกล่าวจะดีขึ้น ด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงเองมีความรู้ ความเข้าใจใน ปัญหา มีการปรับตัว ปรับเปลีย่ นรูปแบบการเลีย้ ง ผนึกก�ำลังเป็นหนึ่ง ที่ส�ำคัญทุกภาคส่วนได้หันมา ช่วยกันอย่างเต็มที่” ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ไทย กล่าวว่า “อนาคตกุง้ ไทย ก็ยงั สามารถกลับมา ได้แน่นอน เพราะความต้องการกุง้ ในตลาดโลกยังมี อยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ ความ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

สามารถในการผลิตกุ้ง ที่สามารถสู้กับคู่แข่งใน ตลาดโลกทั้งปริมาณ คุณภาพ และต้นทุนที่ไม่ สูงมาก” “จากการประชุมนานาชาติ Shrimp 2019 หรือกุ้ง 2019 ซึ่งสมาคมกุ้งไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดงาน กับ FAO กรมประมง เมื่อเร็วๆนี้ ที่ กรุงเทพฯ นั้น สินค้ากุ้งจากการเลี้ยง ยังเป็นที่ ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในปริมาณทีส่ งู ขึน้ ด้วยเป็นอาหารโปรตีนเนื้อขาวที่มีโภชนาการดี ผลผลิ ต สั ต ว์ น�้ ำ ที่ จั บ จากทะเลมี แ นวโน้ ม ลดลง เรื่อยๆ จ�ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แม้มีหลาย ประเทศหันมาเลี้ยงกุ้งกันมากขึ้นก็ตาม เชื่อว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเคยเป็นแชมป์ผลิตกุ้ง และ ส่งออกกุ้งมากที่สุดในโลกในหลายปีติดต่อกันมา กอปรกับตลาดน�ำเข้ากุง้ ส�ำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ก็ยังให้เครดิต และเชื่อมั่นในสินค้า กุ้งไทยว่าคุณภาพดี ปลอดภัยที่สุด ขอให้เราผลิต ได้มากพอ และสม�ำ่ เสมอ ในราคาทีส่ ามารถแข่งขัน ได้เท่านั้น

14


T

Thailand Focus

ดร.สมศั กดิ์ ปณีตัธยาศั ย นายกสมาคมกุ้งไทย น�ำทีมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และที่ปรึกษา ร่วมกันถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

ในงานแถลงข่าว สมาคมกุ้งไทยพบสื่ อฯ เมือ ่ วันที่ 12 ธันวาคม 2562 ที่ผา ่ นมา ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว บางกอก ฟอร์จูน กรุ งเทพฯ

ที่ส�ำคัญ ด้วยประเทศไทย มีลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก จากสายพันธุ์ที่ โตเร็ว แข็งแรง ปลอดโรค ท�ำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงที่จะผลิตกุ้งไซส์ใหญ่ ทิศทางการผลิตกุ้งไทยจะไม่เน้นปริมาณ แต่มุ่งเน้นผลิตกุ้งคุณภาพ ดี ปลอดภัย ปลอดสารตกค้าง ผลิตกุ้งไซส์ใหญ่ โปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นมิตร สิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางการค้าให้ดียิ่งๆ ขึ้น ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นโอกาส ที่ประเทศไทยจะกลับมาทวงแชมป์คืนเป็นไปได้สูง และหากทุกปัจจัยเอื้ออ�ำนวย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้เรายังเผชิญปัญหาการเลี้ยงและอุปสรรคต่างๆ ที่ พี่น้องเกษตรกร และส่วนที่เกี่ยวข้องต้องไปช่วยกันปรับปรุงแก้ไขพัฒนาร่วมกัน ส่วนเรื่องที่ต้องให้รัฐด�ำเนินการให้ ได้แก่ แก้ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป ท�ำให้ไม่สามารถส่งออกและแข่งขันได้ ภาครัฐควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีการเจรจา กับตลาดคู่ค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ เพื่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยที่ยั่งยืน และที่ส�ำคัญ ต้องเจรจาเรื่อง FTA เพื่อเปิดตลาด EU ให้กุ้งจากไทยสามารถกลับมาแข่งขันได้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การให้โอกาสเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยเข้าถึง แหล่งทุน การเสริมสภาพคล่อง การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาค การผลิต ภาคการส่งออก และส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ฯลฯ เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้ง ของประเทศอยู่รอด ได้รับการพัฒนาให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ” ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย กล่าวทิ้งท้าย

15

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

งานสัตว์น�้ำไทย 2019

จัดได้ยิ่งใหญ่ มิติใหม่วงการสัตว์น�้ำไทย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสัตว์น�้ำ ผนึกก�ำลัง จัดงานยิง่ ใหญ่ “สัตว์นำ�้ ไทย 2019 (Thai Aqua Expo 2019)” ในวันที่ 2 - 4 ธันวาคม2562 ณ โรงแรม ซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่น�ำเอาสัตว์น�้ำเศรษฐกิจ ของไทย และห่วงโซ่อปุ ทานสัตว์นำ�้ มารวมกันในงาน โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ เกียรติเป็นประธานเปิดงาน มี นายสรายุทธ แก้วกุลปรีชา รองผู้ว่า ราชการจั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทรา กล่ า วต้ อ นรั บ และนางสาวพั ช ริ น ทร์ จินดาพรรณ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง นายถาวร จิระโสภณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้น�ำองค์กรฯ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์น�้ำจากทั่วประเทศ และผู้สนใจเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง งานดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ข้อมูล ทางวิชาการให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเศรษฐกิจในประเทศไทย ยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทย ให้ไป สู ่ ร ะดั บ โลก ส่ ง เสริ ม การผลิ ต ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ ท างการ ตลาดสัตว์นำ้� และยังเป็นการสร้างความสามัคคีในอุตสาหกรรมเพาะเลีย้ ง สัตว์นำ�้ ไทยให้เป็นหนึง่ เดียว ภายในงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักด้วยกัน คือ 1. งานสัมมนาวิชาการเพื่อให้ความรู้เกษตรกร 2. งานแสดงสินค้า เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้พบปะกับผู้ค้า ปัจจัยการผลิตสัตว์น�้ำ ทั้ง ลูกพันธุ์สัตว์น�้ำ ปัจจัยการผลิตอื่นๆ 3. กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น�้ำ ่ : วารสารข่าวกุ้ง ปี ที่ 31 ฉบับที ่ 377 เดือนธันวาคม 2562 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

16


T

Thailand Focus

ซึ่งเป็นหลักการส�ำคัญขององค์การสหประชาชาติ เข้ามาผสมผสานกันในการด�ำเนินนโยบาย และ ในวันที่ 1 มกราคม 2563 หน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 22 หน่วยงาน จะมีโครงการบริการออนไลน์ครบทุกหน่วยงาน เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ลงไปบน Platform มือถือ ของเกษตรกร เป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี AI ทั้งราคาในประเทศ และต่างประเทศ ปัญหา ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสดง ข่าวด่วน แนวโน้มของสถานการณ์ในตลาดโลก ความคิดเห็นในเรื่องความส�ำคัญการเพาะเลี้ยง หรือองค์ความรู้ที่มาจาก FAO สิ่งเหล่านี้เป็น สัตว์น�้ำไทย และนโยบายภาครัฐที่จะสนับสนุน การใช้เทคโนโลยีการตลาดน�ำส�ำหรับมิติใหม่ของ ภาคการเพาะเลีย้ งสัตว์นำ�้ รวมทัง้ กล่าวชืน่ ชมการ สัตว์น�้ำไทย  มีการวางโครงสร้างและระบบ จัดงานในครั้งนี้ ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ ส� ำ หรั บ อนาคตเพื่ อ ให้ ศั ก ยภาพของเราได้ เ ติ ม ผู้ผลิตและส่งออกผลผลิต และผลิตภัณฑ์ประมง เต็ม และก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นน�ำของโลก อันดับต้นๆ ของโลก เป็นประเทศที่ได้รับการ ในด้านของการประมงก็คอื การร่างพระราชบัญญัติ ยกย่องชื่นชมจากองค์การสหประชาชาติทั้ง 3 กองทุนประมง  การจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติ องค์กร (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสห -  การจัดตั้งสภาการประมงแห่งชาติ เพื่อให้การ ประชาชาติ FAO, กองทุนระหว่างประเทศเพื่อ ประมงของเราในทุกภาคส่วนจะมีองค์กรระดับชาติ พัฒนากสิกรรม หรือ IFDA และ World Food เหมือนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  จัด Programme) ว่าประสบความส�ำเร็จในการพัฒนา ตัง้ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมการเกษตร ภาคเกษตรกรรมจนกระทัง่ เป็นประเทศชัน้ น�ำของ (Agritech and Innovation Center) ทุกจังหวัด โลกในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร อยู่ ภายใน 1 ปี โดยเริ่มในปีหน้า โดยอาศัยความ ในฐานะที่สามารถสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือของ 6 องค์กรคือ 1. กระทรวงเกษตร ความรู้ทางเทคนิค องค์ความรู้ในการเกษตร และ และสหกรณ์ 2. กระทรวงอุตสาหกรรม (กลางน�ำ้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแก่ประเทศอื่นๆ ได้ แปรรูป) 3. กระทรวงพาณิชย์ (การค้าภายในและ ขณะที่ ภาครั ฐ มี น โยบายซึ่ ง สอดรั บ กั บ การส่งออก) 4. สถาบันเกษตรกร เช่น สมาคม -  พลังขับเคลื่อนของภาคเอกชนและทุกภาคส่วน ชมรมเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ 5. ภาควิชาการ  นโยบายการตลาดน�ำการผลิต  นโยบาย (มหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง หมด) และ 6. ภาคเอกชน เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ซึ่งจากนี้ไป การท�ำฟาร์ม เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ น�ำมาใช้ลดต้นทุน จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และที่ส�ำคัญ เป็น ลดต้นทุน สร้างระบบ Food Safety GAP GMP เทคโนโลยีของคนไทยเพื่อคนไทย  การจัดตั้ง และต้องใช้เรือ่ งของ Food lost และ Food Waste ธนาคารสัตว์นำ�้ เพือ่ เป็นแหล่งอาหารส�ำหรับชุมชน

17

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

แต่หวั ใจของโครงการคือ ต้องการสร้างสปิรติ ของชุมชนเป็นวัฒนธรรมพืน้ ฐาน ต้องสร้างโมเดลโครงการ บางประการ และเป็นแนวทางหมูบ่ า้ นเข้มแข็งของในหลวงรัชกาลที่ 10 แล้วก็ศาสตร์พระราชาบนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ กรมประมงเป็นเสมือนเพือ่ นคูค่ ดิ มิตรคูฟ่ าร์มของเกษตรกร ซึง่ ขณะนีจ้ ดั ท�ำยุทธศาสตร์ สัตว์น�้ำเศรษฐกิจของไทย มีการใช้ Smart Farming และ Digital Technology ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ มีการจัดท�ำข้อมูลการผลิต การตลาด ปัญหาและอุปสรรคของสินค้าสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยง “สัตว์น�้ำไทย 2019…เป็นการคิกออฟก้าวใหญ่ๆ ก้าวส�ำคัญของประเทศไทยในด้านการประมง ที่จะท�ำให้ประเทศไทยของเรากลับสู่ความเป็นแชมป์โลก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น�้ำที่เราเพาะเลี้ยงกัน ที่เคย เป็นแชมป์แล้วสูญเสียแชมป์ไป เช่น กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลานิล ฯลฯ สัตว์น�้ำไทย คือ อนาคตของไทย คืออนาคตของโลก สัตว์น�้ำไทยคือ Future Food ไม่ใช่เพื่อไทย แต่เพื่อคนทั้งโลก และขอให้เราเกิดความภูมิใจว่า ประเทศไทยของเราเป็นประเทศชั้นน�ำของโลกในด้านของสัตว์น�้ำ แม้วา่ จะมีปญ ั หาอุปสรรคใดๆ ก็ตาม รัฐบาลไม่นงิ่ นอนใจ ได้ดำ� เนินการในการดูแล ท�ำงานหามรุง่ หามค�ำ่ ... และทุ่มเทท�ำงาน ปัญหาก็สะสมหมักหมมมามาก แต่ขอให้พวกเราได้เดินไปด้วยกันนะครับ วันนี้ เราจะทวงคืนความเป็นประเทศชั้นน�ำ และแชมป์โลกของสัตว์น�้ำไทยกลับคืนมา” นายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวทิ้งท้าย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

18




T 6 ปัจจัยหนุนส่งออก

Thailand Focus

ลุ้นฝ่าด่านโคโรนา ดันทั้งปีเป็นบวก พาณิชย์ยังมั่นใจ ส่งออกไทยปี 63 จะกลับมาขยายตัว ชู 6 ปัจจัยหนุน ลุ้นไวรัสโคโรนากระทบระยะสั้น ดันความต้องการจีนน�ำเข้าสินค้าอาหารเพิ่ม ขณะตลาดหลักทิศทางกลับมาโต

นางสาวพิ ม พ์ ช นก วอนขอพร ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก งานนโยบายและ ยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง แนวโน้มการส่งออกว่า สนค. ประเมินการส่งออกไทยจะกลับมาขยายตัวในปี 2563 (จากปี 2562 ติดลบ 2.7%) โดยการส่งออกล่าสุดเดือน ธันวาคม 2562 ที่ลดลงหรือหดตัว 1.3% แต่ หากหักน�้ำมัน และทองค�ำ จะขยายตัวที่ 1.2% เป็นสัญญาณดีว่าการส่งออกไทย เริม่ ฟืน้ ตัว และมีทศิ ทางทีด่ ใี นปี 2563 ทัง้ นีม้ ปี จั จัยสนับสนุนทีส่ ำ� คัญ คือ  เศรษฐกิจ โลกฟืน้ ตัว โดย IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวปีนที้ ี่ 3.3% (จากขยายตัว 2.9% ในปี 2562) และเห็นสัญญาณว่าการค้าโลกก�ำลังผ่านจุดต�่ำสุดจากกิจกรรม การผลิตในหลายสาขา  ท่าทีความพร้อมในการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ของหลายประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ อาทิ สหรัฐฯ สหภาพ ยุโรป และญี่ปุ่น  ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และ ราคาน�ำ้ มันทีป่ รับตัวสูงขึน้  สงครามการค้าระหว่างจีน และสหรัฐฯ ทีเ่ ริม่ ผ่อนคลาย จากการลงนามข้อตกลงทางการค้าระยะแรก (Phase - 1 Deal)  สถานการณ์ Brexit มีความชัดเจนแล้ว และมีช่วงเปลี่ยนผ่านจนถึงสิ้นปี 2563 ซึ่งจะยังไม่ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย และ  ค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยเดือนมกราคม 2563 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาอ่อนค่าในรอบ 9 เดือน ่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ทีมา

19

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

“ส�ำหรับประเด็นการแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนาในประเทศจีนนั้น สนค. คาดว่า ยังไม่น่า กระทบต่อการส่งออกไทยในระยะสั้น โดยเฉพาะ กลุ ่ ม อาหารที่ มี มู ล ค่ า สู ง ในตลาดจี น เพราะมี อุปสงค์ซอื้ สินค้าอาหารไทยทีม่ คี วามปลอดภัย และ คุ ณ ภาพดี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แต่ ก็ ต ้ อ งติ ด ตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการชะงักของ การค้าในภูมิภาค” ส่วนประเด็นสินค้าส่งออก 573 รายการ ถูกระงับสิทธิ GSP โดยสหรัฐฯ นั้น นางสาวพิมพ์ชนก ยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ อยู ่ ร ะหว่ า งการด� ำ เนิ น การร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ และเตรียมมาตรการรองรับ ในทุกกรณีอย่างรัดกุม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อ ผู้ส่งออกน้อยที่สุด โดยกรมการค้าต่างประเทศ

มีแผนรองรับส�ำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับ ผลกระทบ และในด้านการรักษาตลาด กรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ มีแผนจัดกิจกรรม น�ำ คณะภาครั ฐ และเอกชน บุ ก ตลาดเป้ า หมาย กว่า 18 ประเทศ ในปี 2563 ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ การตลาดส�ำคัญตามแนวนโยบายของรองนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เพื่อรักษาฐานเดิม และขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างครอบคลุม และกระจายความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง แผนกิ จ กรรมส� ำ คั ญ อาทิ เอเชี ย จี น ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ และ CLMV ยุโรป ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และรัสเซีย แอฟริกา แอฟริ ก าใต้ ตะวั น ออกกลาง บาห์ เ รน และ ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ด้านมุมมองรายตลาด นางสาวพิมพ์ชนก ชี้แจงว่าตลาดส่งออกส�ำคัญต่างๆ มีการปรับตัว ดีขึ้นอย่างชัดเจนในครึ่งปีหลังของปี 2562 อีก ทั้งการส่งออกเดือนธันวาคม2562 ขยายตัวใน หลายตลาด การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และจีน ขยายตัว 15.6% และ 7.3% ตามล�ำดับ ซึ่งเป็น อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 เดือน และ 18 เดือน ตามล�ำดับ นอกจากนี้ การส่งออกไป ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดรัสเซีย และกลุม่ ประเทศ CIS ขยายตัว 11.4% และ 8.0% เป็น อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 23 เดือน และ 16 เดือน ตามล�ำดับ รวมทั้งการส่งออกไปตลาด CLMV กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ 1.1% ซึ่งการส่งออกไปตลาดส�ำคัญที่ปรับตัว ดีขึ้น สะท้อนถึงการส่งออกไทยผ่านจุดต�่ำสุดไป แล้ว และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวได้ ต่อเนื่องในปี 2563

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

20


T

Thailand Focus

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ของ สนค. พบว่ า มี สิ น ค้ า ส่ ง ออกหลายรายการที่ ค วรเร่ ง ผลักดัน เพื่อให้การส่งออกไทยกลับมาขยายตัว ในปี 2563 โดยสินค้าไทยมากกว่า 30 รายการ ครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอาหาร และสินค้า อุ ต สาหกรรม (สั ด ส่ ว นประมาณ 25% และ ขยายตัวมากกว่า 13%) ท�ำสถิติมูลค่าส่งออก สูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางการค้าโลกที่ ชะลอตัวในปี 2562 และคาดว่าจะยังคงขยายตัว ต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งการที่ไทยสามารถส่งออกสินค้า กลุม่ นีส้ งู สุดเป็นประวัตกิ าร สะท้อนความสามารถ ในการปรับตัว และพัฒนาสินค้าของผูป้ ระกอบการ ไทยทีต่ อบโจทย์ตามความต้องการของตลาดสินค้า เกษตรและอาหาร อาทิ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง นมและผลิตภัณฑ์ นม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารส�ำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง

สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องส่งวิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ นาฬิกาและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ เครือ่ งส�ำอางสบูแ่ ละผลิตภัณฑ์ รักษาผิว ผ้าแบบส�ำหรับตัดเสื้อ และเครื่องใช้ บนโต๊ะอาหาร “นอกจากการรุกตลาดส่งออก และผลักดัน สินค้าศักยภาพแล้ว การเร่งเจรจาความตกลงการ ค้าเสรี (FTA) เพือ่ ลดภาษีสนิ ค้า รวมถึงการเจรจา แก้ไขปัญหาจากอุปสรรคและมาตรการทางการค้า ที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีในตลาดเป้าหมายก็เป็น อีกส่วนส�ำคัญในการผลักดันการส่งออกในอนาคต โดยหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ท่ีเกี่ยวข้อง มีการบูรณาการการท�ำงานร่วมกันกับภาคเอกชน ด้วย ในส่วนของผูป้ ระกอบการควรให้ความส�ำคัญ ในการดูแลรักษามาตรฐานสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพือ่ ให้สนิ ค้าไทยคงศักยภาพในการส่งออกต่อไป”

21

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

คงเป้าแผนนำ�เข้า ปี 63 คุมเข้มไข่ล้นตลาด มิสเตอร์ไก่ไข่ เปิดแผนน�ำเข้าพ่อแม่พนั ธุ ์ -  ปู่ย่าพันธุ์คงเป้า ปี 63 ใช้แผนการตลาดน�ำการ ผลิต ยกระดับราคาไข่ไก่มเี สถียรภาพ ผูเ้ ลีย้ งไม่ ขาดทุน เผยสถานการณ์ราคายังอยูใ่ นเกณฑ์เฝ้า ระวังอย่างน้อย 1 ปี นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือมิสเตอร์ไก่ไข่ เผยกับ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรื อ เอ้ ก บอร์ ด (27 ม.ค.63) มี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติ เห็นชอบแผนการน�ำเข้าปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) ปี 2563 ตามทีก่ รมปศุสตั ว์เสนอ จ�ำนวน 3,800 ตัว และพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) จ�ำนวน 440,000 ตัว และส�ำรองไว้ทกี่ รมปศุสตั ว์อกี 2 หมืน่ ตัว หากมีการ ขาดแคลนกรมปศุสตั ว์จะได้มอี ำ� นาจในการบริหาร จัดการโดยไม่ต้องเข้าเอ้กบอร์ดพิจารณาใหม่

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

22


T

Thailand Focus

“ราคาไข่ไก่คละอยู่ที่ 2.70 บาท/ฟอง ซึ่ง เป็นราคาที่อยู่ในช่วงการเฝ้าระวังอย่างน้อย 1 ปี นับจากนี้ เพราะต้นทุนเกษตรกรก็ยงั อยูใ่ นระดับนี้ ส่วนกรณีรายย่อย ใครไม่มีพันธุ์ไก่ก็มาร้องเรียน ที่กรมปศุสัตว์ ได้ จะดูแลตรวจสอบ ส่วนรายที่จะ ขยายใหม่ กรณีเลีย้ งเพิม่ ต้องยอมรับว่าขยายเพิม่ ไม่ได้ เนือ่ งจากพันธุไ์ ก่ลดลง ยกเว้นไม่ขายให้ลกู ค้า รายเดิม หรือขยายฟาร์มเลี้ยงเองเพื่อให้สมดุล กับความต้องการของตลาด เพื่อท�ำให้ราคาไข่ไก่ มีเสถียรภาพ และไม่ขาดทุน ต้องใช้นโยบายการ ตลาดน�ำการผลิต ต้องปรับลดตามสัดส่วน เพราะ ฉะนั้น ใครเคยไม่เคยเลี้ยง แล้วมาเลี้ยงใหม่ เป็น ธรรมดาที่จะขาดแม่ไก่เลี้ยง” นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวว่า แต่หาก ต้องการที่จะเลี้ยงจริง ก็ต้องมายื่นเรื่องที่กรม ปศุสตั ว์ จะได้มกี ารตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ได้ปดิ กั้น สามารถมาแจ้งได้ หรือหากเกษตรกรรายใด ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องของการขายพันธุ์ไก่ อาทิ เลี้ยงอยู่ 1 แสนตัว แล้ววันหนึ่งผู้น�ำเข้า แม่พันธุ์ไก่ไข่ไม่ขายให้เลย หรือขายให้น้อยมาก โดยไม่มเี หตุผล กรมปศุสตั ว์มมี าตรการกับผูน้ ำ� เข้า โดยปรับลดโควตาการน�ำเข้าลง เพือ่ น�ำไปให้รายอืน่ แทน นี่เป็นบทลงโทษในมาตรการหนึ่งที่กรมดูแล การบริหารจัดการไข่ไก่ เพือ่ ให้ทกุ ห่วงโซ่อยูร่ ว่ มกัน ได้อย่างเป็นธรรม “ส่วน 2 บริษัท Hy - line International จากประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัท Lohmann Tierzuchi GmbH แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จะขอตัง้ โรงงานผลิตปูย่ า่ พันธุใ์ นประเทศ หรือ (GP) เพือ่ จะขอสร้างฐานการผลิตพ่อแม่พนั ธุไ์ ก่ไข่ (PS) เพือ่ การส่งออกไปขายเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้นนั้น ทางที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อ

ไปศึกษาข้อดี และข้อเสีย แล้วน�ำมาเสนอในการ ประชุมครั้งต่อไป” ส่วนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไก่ไข่ เอ้กบอร์ด เห็นชอบในหลักการในการสนับสนุนให้ สมาคมผูผ้ ลิต ผูค้ า้ และส่งออกไข่ไก่ ไปด�ำเนินการ และจัดการกันเอง โดยให้ข้อเสนอแนะระเบียบ การเรียกเก็บเงินเข้ากองทุน และค่าใช้จ่ายใน กองทุน ควรจะให้มคี วามชัดเจน เหมาะสม รอบคอบ และถูกกฎหมาย ด้านนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ไก่ไข่ ปัจจุบนั (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มกราคม 2563) ราคา ไข่ไก่คละหน้าฟาร์มฟองละ 2.70 บาท ลูกไก่ไข่ ตัวละ 28 บาท ไก่ไข่รนุ่ ตัวละ 150 บาท ส�ำหรับปี 2562 มีปริมาณผลผลิตไข่ไก่ จ�ำนวน 14,742 ล้านฟอง อัตราการบริโภค 220 ฟอง/คน/ปี มีการ ส่งออกไข่ไก่สด ปริมาณ 271.368 ล้านฟอง มูลค่า 765.512 ล้านบาท ตลาดหลักคือฮ่องกง คิดเป็น ร้อยละ 90 ราคาขายส่งไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม เฉลีย่ 2.74 บาท/ฟอง เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ราคาเฉลี่ย 2.56 บาท/ฟอง ราคาลูกไก่ไข่ เฉลีย่ 21.63 บาท/ ตัว ราคาไก่รุ่น ปี 2562 เฉลี่ย 141.02 บาท/ตัว ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ เฉลี่ยฟองละ 2.61 บาท

23

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2563 - 2567) เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการไก่ไข่ให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งผู้ผลิต และผูบ้ ริโภค รวมทัง้ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึง่ จะท�ำให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงไก่ไข่มีความมั่นคงในอาชีพ และมีความเข้มแข็งจากการรวมกลุ่มเป็นสถาบัน เกษตรกร สร้างความสมดุลการผลิตไข่ไก่กับความต้องการบริโภคป้องกันการ เกิดราคาไข่ไก่ผนั ผวน เพิม่ อัตราการบริโภค และส่งเสริมการแปรรูปไข่ไก่ เพือ่ สร้าง มูลค่าเพิม่ และยกระดับมาตรฐานการผลิตไข่ไก่ให้ได้คณ ุ ภาพ อย่างไรก็ตาม จะให้มี การแจ้งเวียนร่างยุทธศาสตร์ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาและให้ขอ้ เสนอแนะ ภายใน ระยะเวลา 1 เดือน หากไม่มีข้อแก้ไขจะน�ำเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้มีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการปรับมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เป็นมาตรฐานบังคับ โดยมอบหมายให้ กรมปศุสัตว์ และส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการปรับมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เป็นมาตรฐานบังคับ พร้อมทั้ง หามาตรการดูแลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการออกมาตรฐาน ฟาร์มไก่ไข่ โดยปรับการเลี้ยงไก่ไข่ให้ได้รับมาตรฐานอื่นๆ ของกรมปศุสัตว์ด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

24


ยึดซากสัตว์ปีก

T

Thailand Focus

ลักลอบน�ำเข้ามูลค่ากว่า 1.3 ล้าน สารวัตรกรมปศุสัตว์ สนธิก�ำลังร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบห้องเย็น ใน พืน้ ทีป่ าดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ยึดซากสัตว์ปกี แช่แข็ง มูลค่ากว่า 1.3 ล้านบาท นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรม ปศุสตั ว์ เผยว่า ได้รบั รายงานจากผูอ้ ำ� นวยการกอง สารวัตรและกักกัน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 เจ้าหน้าทีด่ า่ นกักกันสัตว์สงขลา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ศุลกากรชุดสืบสวนและปราบปรามพิเศษ และ เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ เข้าตรวจสอบ ห้องเย็น ในพื้นที่ต�ำบลปาดังเบซาร์ อ�ำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา หลังจากสืบทราบว่ามีการลักลอบ น� ำ ซากสั ต ว์ ป ี ก จากประเทศเพื่ อ นบ้ า นเข้ า มา เก็บไว้ แล้วทยอยส่งไปขายในหลายพื้นที่ ซึ่งการ ตรวจสอบห้องเย็นครัง้ นี้ เป็นไปตามกฎหมายและ เป็นหนึ่งในมาตรการที่เข้มงวด เพื่อป้องกันโรค ระบาดสัตว์ทอี่ าจแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย “ปฏิบัติการครั้งนี้ ตรวจพบสินค้าซากสัตว์ ปีกแช่แข็ง ท�ำให้มีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคระบาด ปะปนมากับซากสัตว์ และไม่ปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค สารวัตรกรมปศุสัตว์ จึงได้ท�ำการเก็บตัวอย่าง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ พร้อมยึดอายัดซาก สัตว์ปีกแช่แข็ง จ�ำนวน 11 รายการ น�้ำหนักรวม กว่า 10 ตัน มูลค่ากว่า 1.3 ล้านบาท ไว้เป็น

ของกลาง พร้อมทั้งด�ำเนินการร้องทุกข์ กล่าว โทษกับเจ้าของห้องเย็น ซึ่งเป็นเจ้าของซากสัตว์ ดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ด่าน กักกันสัตว์สงขลาได้รับมอบของกลางเพื่อน�ำไป ด� ำ เนิ น การตามท� ำ ลายซากตามระเบี ย บเป็ น ที่ เรียบร้อยแล้ว″ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2563 ทีมา

25

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


T

Thailand Focus

อีกทั้งยังไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงได้สั่ง การให้ด่านกักกันสัตว์ทุกด่าน เข้มงวด ควบคุม ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการลักลอบน�ำ สัตว์ หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร รวม ไปถึงการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ เพื่อผลักดัน ภารกิ จ ให้ เ ป็ น ไปตามเป้ า หมายอั น สู ง สุ ด คื อ ผู ้ บ ริ โ ภคได้ รั บ สิ น ค้ า ปศุ สั ต ว์ ที่ มี คุ ณ ภาพ และ ปลอดภัย รวมไปถึงเกษตรกร และอุตสาหกรรม การผลิตสินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทยมีความ มั่นคง และยั่งยืน นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวต่อไปว่า กรม ปศุสัตว์ มีภารกิจหลักในการควบคุมและป้องกัน โรคระบาดสัตว์ที่อาจส่งผลต่อความเสียหายต่อ อุตสาหกรรมปศุสัตว์ภายในประเทศ การลักลอบ เคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์จากต่างประเทศ รวมถึงการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ ที่ไม่ได้ขอ อนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นสาเหตุหลัก ของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่ร้ายแรงในสัตว์ และโรคสัตว์สู่คน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการและประชาชน ต้องการข้อมูลเพิม่ เติม หรือพบเห็นการกระท�ำผิด ด้ า นปศุ สั ต ว์ โปรดติ ด ต่ อ เจ้ า หน้ า ที่ เ พื่ อ ขอรั บ ข้อมูล หรือแจ้งเบาะแสการกระท�ำความผิดเพื่อ ด� ำ เนิ น การตามกฎหมายต่ อ ไป โดยแจ้ ง ผ่ า น แอพพลิเคชั่น DLD 4.0 ที่ดาวน์โหลด และติดตั้ง ได้ในโทรศัพท์ทุกระบบ ซึ่งกรมปศุสัตว์ พร้อม ที่จะน�ำข้อมูลที่ได้รับแจ้งไปด�ำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด

26


F

Food Feed Fuel

เลขาฯ ฟันธง ปี

63 วัตถุดิบอาหารสัตว์

ไม่ขาดแคลน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 สมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์ สงคราม และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนา วิชาการ “ทันโลกทันเหตุการณ์อาหารสัตว์และวัตถุดิบ 2563” ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมีนกั วิชาการร่วมสัมมนาในหัวข้อ ส�ำหรับหัวข้อน่าสนใจ คือ “แนวโน้มวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2563” โดยได้รับเกียรติจาก “คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์” เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย มาบรรยาย คุณบุญธรรม กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอาหารสัตว์โลก ปี พ.ศ. 2562 พบว่า มีผลผลิตรวมกันทั้งสิ้น 1,103 ล้านตัน มีการเติบโตคิดเป็นค่าเฉลี่ย 3% โดยทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่เติบโตสูงสุด คิดเป็น 5% รองลงมาคือ ทวีปยุโรป คิดเป็น 4% ตามมาด้วยเอเชียแปซิฟกิ 3% อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง 2% และอเมริกาใต้ 1% ขณะที่อาหารสัตว์ที่มีการผลิตมากที่สุดได้แก่ อาหารไก่เนื้อ คิดเป็น 28% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ อาหารสุกร คิดเป็น 21% ตามมาด้วยอาหารไก่ไข่ 14% อาหารโคนม 12% อาหารโคเนื้อ 7% อาหาร สัตว์น�้ำ 4% อาหารสัตว์เลี้ยง และอื่นๆ อีก 5% อาหารไก่เนื้อ ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดนั้น มีการเจริญเติบโตคิดเป็น ค่าเฉลี่ย 3% โดย 60% มาจากการผลิตของ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย รัสเซีย เม็กซิโก ไทย และอินโดนีเซีย ตามล�ำดับ สัมพันธ์กับการผลิตเนื้อไก่ของโลกที่มีการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 13.3% ่ : สาส์นไก่ และ สุกร ปี ที่ 18 ฉบับที ่ 200 เดือน มกราคม 2563 ทีมา

27

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

เฉลี่ย 2.6% ต่อปี เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ เติบโตเช่นกัน โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เติบโต 29.6% เฉลีย่ 5.9% ต่อปี ขณะทีป่ ระเทศผูน้ ำ� เข้า เนื้อไก่สูงที่สุดในโลกคือ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมา คือ กลุม่ ประเทศอียู และประเทศจีน ส่วนประเทศ ผูส้ ง่ ออกเนือ้ ไก่สงู สุดคือ ประเทศบราซิล รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยประเทศไทย สถานการณ์ วั ต ถุ ดิ บ โลกที่ ส� ำ คั ญ ได้ แ ก่ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง พบว่าข้าวโพดในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา มีการผลิตสูง และต�่ำกว่าความต้องการ สลับกันไปมา แต่ไม่มากนัก ส่วนราคาพบว่า ปี การผลิต 2560 - 2562 มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่วนปี การผลิต 2562 - 2563 คาดว่า ถ้าราคาเพิ่มขึ้น จะไม่เกิน 156 เหรียญต่อตัน และไม่ต�่ำกว่า 145 เหรียญต่อตัน ขณะที่สถานการณ์กากถั่วเหลือง พบว่า การผลิตมีปริมาณสูงกว่าความต้องการมาโดย ตลอด แต่ไม่ต่างกันมากนัก แต่เรื่องของสต็อก คงเหลือพบว่า ในแต่ละปีการผลิตมีปริมาณที่ต�่ำ ส่วนราคา พบว่า มีความผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปีการผลิต 2559 - 2560 จนถึง 2561 ราคาพุ่งสูงขึ้นจาก 347 เหรียญต่อตัน เป็น 376 เหรียญต่อตัน แต่หลังจากนั้นปรากฏว่า ราคา พุ่งต�่ำลงมาเหลือ 339 เหรียญต่อตัน ดังนั้น จึง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

คาดว่าช่วงปีการผลิต 2562 - 2563 จะอยูร่ ะหว่าง 323 - 246 เหรียญต่อตัน ส�ำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย หาก มองเรือ่ งของการเติบโตอาหารสัตว์ ตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2531 - 2562 เติบโตเฉลี่ยปีละ 9.43% ส่วน ปี พ.ศ. 2561 - 2562 เติบโตเฉลี่ย 1.28% ซึ่ง ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ต่างพบวิกฤตหลายครัง้ ส�ำหรับครัง้ ทีถ่ อื ว่ารุนแรงมากทีส่ ดุ คือช่วง ปี พ.ศ. 2540 ที่ เ กิ ด ปั ญ หาวิ ก ฤตการเงิ น ไทย หรื อ ที่ เรียกว่า “ต้มย�ำกุง้ ” ต่อมา ปี พ.ศ. 2547 ประสบ ปัญหาวิกฤตไข้หวัดนก จนกระทั่งปี 2551 เกิด วิกฤตการเงินสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลกระทบกับ ประเทศไทยไม่นอ้ ย แม้จะไม่เท่ากับวิกฤตการเงิน ของไทยโดยตรงก็ตาม แต่ทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ก็ ท�ำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ของไทย มีความเสียหายไม่น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารประเทศไทย พบว่า มีมูลค่ามหาศาล ไม่ ว ่ า จะเป็ น มู ล ค่ า อาหารสั ต ว์ ที่ มี 300,000 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์และประมง 600,000 ล้านบาท และมูลค่าบริโภคภายใน ประเทศ และส่งออก 800,000 ล้านบาท ซึ่ง มู ล ค่ า เหล่ า นี้ จะมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น ในแง่ ข อง ห่วงโซ่อาหาร ที่เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบเกษตร โรงงาน

28


F

Food Feed Fuel

อาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ และอาหาร โดย 80% เป็นการผลิตเพื่อป้อน ภายในประเทศ และ 20% ส่งออกต่างประเทศ ดังนั้น การที่ไทยได้รับการยอมรับให้เป็นครัว ของโลกจึงไม่แปลก แต่สิ่งส�ำคัญคือ การผลิต จะต้องมีความปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืน ในส่ ว นของอาหารสั ต ว์ ความต้ อ งการ อาหารสัตว์ ในรอบปี พ.ศ. 2562 มีทงั้ หมด 20.18 ล้านตัน โดยแยกความต้องการในแต่ละชนิดสัตว์ ได้ดังนี้ ไก่เนื้อ 37% รองลงมาคือ สุกร 33% ไก่ไข่ 17% เป็ด และโค 4% ปลา 3% และกุ้ง 2% แต่อย่างไรก็ดี หากมองภาพรวมช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2562 การเติบโตของอาหารสัตว์แต่ละ ประเภทเฉลี่ยในไก่เนื้อ 15% รองลงมาคือ ไก่ไข่ 9% สุกร 8% กุ้ง 13.4% โคนม 32% ปลา 24.2% มีเพียงเป็ดเท่านั้นที่การเติบโตลดลง คือ  - 0.7% แต่ถา้ มองในปีปจั จุบนั พ.ศ. 2561 - 2562 ไก่เนื้อเติบโตเฉลี่ย 10.2% แต่ไก่ไข่ และสุกร การเติบโตถดถอยลงจนติดลบ โดยในส่วนของ ไก่ไข่ คือ  - 13.1% ขณะที่สุกร  - 2.0% ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสองก�ำลังเผชิญปัญหาภายใน โดย เฉพาะสุกรที่เจอปัญหาโรคระบาด

ต้องการใช้เพิม่ สูงขึน้ ทุกปี ขณะทีร่ าคาหน้าโรงงาน ยังสูงกว่าราคาตลาดโลกเท่าตัว ตรงกันข้ามพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ต�ำ่ กว่าค่าเฉลีย่ ของโลก โดยประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศทีม่ ผี ลผลิต และผลิตได้สงู ทีส่ ดุ ในโลก คือประมาณ 1,677 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ไทย ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 699 กิโลกรัมต่อไร่เท่านัน้ ถั่วเหลือง การผลิตของโลกในรอบปีการ ผลิต 2562 - 2563 อยูท่ ี่ 337 ล้านตัน โดยประเทศ บราซิลมีสัดส่วนการผลิตที่มากที่สุดคือ 36% รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา 29% ตาม ด้วยประเทศอาร์เจนตินา 16% และอีก 19% จาก ประเทศอื่นๆ ส่วนการส่งออกถั่วเหลือง และกาก ถั่วเหลืองของโลก รอบปีการผลิต 2562 - 2563 อยู่ที่ 216 ล้านตัน โดยมีประเทศบราซิลเป็น ผู้ส่งออกอันดับ 1 คิดเป็น 42% ของปริมาณการ

ขณะที่วัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ พบว่า วัตถุดิบประเภทพลังงานยังคงเป็นข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ขา้ ว มันส�ำปะหลัง และข้าวสาลี คิดเป็น 60% ของวัตถุดบิ หลักทีใ่ ช้ในการผลิตอาหารสัตว์ รองลงมาคือ ถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง 28% ปลาป่น 3% และวัตถุดิบอื่นๆ อีก 9% ส่วน วัตถุดิบหลักอย่างข้าวโพด พบว่า ความต้องการ ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2562 เฉลี่ยปีละ 571% ส่ ว นการเติ บ โตของผลผลิ ต ข้ า วโพด ปี พ.ศ. 2541 - 2562 เฉลี่ยปีละ 0.12% แต่ความ

29

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

ส่งออกทัง้ หมด รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา 28% ตามมาด้วย ประเทศอาร์เจนตินา 18% และ อีก 12% จากประเทศอื่นๆ ส�ำหรับประเทศไทยถือเป็นอีกประเทศที่มี การน�ำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง โดย ประเทศหลักที่น�ำเข้าคือ ประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2561 มีการน�ำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ปีนี้

กลั บ พบว่ า มี ก ารน� ำ เข้ า ที่ ล ดลง ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจาก ประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดในการ เลี้ยงสัตว์ ท�ำให้ความต้องการใช้อาหารสัตว์น้อย ลง บวกกับการแข็งค่าของเงินบาท ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้การน�ำเข้าของไทยลดลงจากปีก่อนๆ กากถั่วเหลือง สถานการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2562 ในด้านราคา พบว่าอัตราราคา กากถัว่ เหลืองต่างประเทศลดลงเฉลีย่ ปีละ  - 1.32% เช่นเดียวกับกากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก ลดลง เฉลีย่ ปีละ  - 1.70% แต่อย่างไรก็ดี ส�ำหรับประเทศ ไทย ประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดถั่วเหลืองยังต�่ำ กว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยประเทศที่มีการผลิตได้มาก ที่สุดคือ ประเทศบราซิล โดยในรอบปีที่ผ่านมา ผลิตได้ 123 ล้านตัน ผลผลิตเฉลีย่ 533 กิโลกรัม ต่อไร่ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 97 ล้านตัน ตามมาด้วยอาร์เจนตินา 53 ล้านตัน จีน 17 ล้านตัน และปารากวัย 10 ล้านตัน ตามล�ำดับ ขณะที่ประเทศไทย ผลิตได้ 0.05 ล้านตัน ได้ ผลผลิตต่อไร่แค่ 245 กิโลกรัม สถานการณ์วัตถุดิบและนโยบายภาครัฐ ณ ปัจจุบัน ในส่วนของข้าวโพด สภาวะปัจจุบัน คือ ผลผลิตไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพการผลิตต�่ำ ผลิตในพืน้ ทีไ่ ม่เหมาะสม นโยบายก�ำกับคือ ส่งออก เสรี จ�ำกัดการน�ำเข้า รับประกันราคาขัน้ ต�ำ่ ปลาป่น สภาวะปัจจุบนั คือ เกิดปัญหา IUU นโยบายก�ำกับ คือ ส่งออกเสรี น�ำเข้ามีก�ำแพงภาษี 15% กากถั่วเหลือง สภาวะปัจจุบันคือ ผลผลิต ไม่เพียงพอ นโยบายก�ำกับคือ เก็บภาษีน�ำเข้า 2% อนุญาตให้สง่ ออก 20% ของการผลิตภายใน ประเทศ ประกันราคาผลผลิตภายในประเทศ ข้าว สาลี สภาวะปัจจุบันคือ ไม่มีการผลิตในประเทศ นโยบายก�ำกับคือ ใช้มาตรการควบคุมการน�ำเข้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

30


F

Food Feed Fuel

3:1 โดยสรุปสถานการณ์วัตถุดิบไทยคือ นโยบาย การควบคุมดูแลวัตถุดิบที่ผ่านมา ท�ำให้ต้นทุน วัตถุดิบอาหารสัตว์ไทยแพงกว่าตลาดโลก ความท้าทายห่วงโซ่อุปทานอาหารในปี พ.ศ. 2563 คงหนีไม่พน้ เรือ่ งการแบน 3 สารเคมี อันตราย ที่มีมติเอกฉันท์ ห้ามใช้ ห้ามจ�ำหน่าย และห้ามผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารอย่างไม่ตอ้ งสงสัย เพราะหลายๆ ประเทศยังมีการใช้กันอยู่ ดังนั้น การที่ประเทศ ไทย มีมติแบน 3 สารดังกล่าว เท่ากับประเทศ ที่ยังมีการใช้อยู่นั้น จะไม่สามารถน�ำเข้าวัตถุดิบ เหล่านั้นได้ นี่จึงเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นอย่าง มาก นอกจากเรื่ อ งของการแบน 3 สารเคมี อันตรายแล้ว ความท้าทายห่วงโซ่อุปทานอาหาร อี ก เรื่ อ งคื อ สงครามการค้ า ระหว่ า งจี น กั บ สหรัฐอเมริกา ซึง่ จะส่งผลกระทบทัง้ ทางตรง และ ทางอ้อมกับไทย แต่ที่กระทบโดยตรงแน่นอน คือ การทีส่ หรัฐอเมริกา ตัด GSP สินค้าไทย ซึง่ จะท�ำ ให้ ไ ทยต้ อ งเสี ย ภาษี ใ นการส่ ง สิ น ค้ า เข้ า สหรั ฐ -

อเมริกา แต่ที่ถือว่าท้าทายมากที่สุดคงหนีไม่พ้น เรื่องโรค ASF เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ จะกระทบไปทั้งระบบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และอุ ต สาหกรรมการผลิ ต อาหาร ตลอดจน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยสรุป สถานการณ์อาหารสัตว์ของโลก ในปี พ.ศ. 2563 สุกรในจีน และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จะถดถอยจากโรค ASF แต่ไก่เนือ้ และ สัตว์อื่นๆ รวมทั้งสุกรในอเมริกา บราซิล และ ยุโรป จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากผลของราคาวัตถุดิบ อาหารสัตว์หลักของโลกยังมีปริมาณเพียงพอ ต่อความต้องการ จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบในปี 2563 จะมีความใกล้เคียงกับ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจะต้องหาทางออกเรื่องการ ยกเลิกการใช้ 3 สารเคมีทางการเกษตร ไม่ให้ มีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารของไทย รัฐบาลต้องเร่งปรับประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดบิ อาหารสัตว์ของไทย ให้มีประสิทธิภาพแข่งขัน ได้ในตลาดโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารของ ไทย มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน

31

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

‘โคโรนา’

ทุบราคาไข่ไก่ร่วง

ผู้เลี้ยงไข่ไก่โอด ผลพวงจากไวรัสโคโรนา ลามชิ่งกระทบราคาไข่ไก่รูดดิ่งลงมา 10 สตางค์ เผยเหตุ นั ก ท่ อ งเที่ ย ววู บ ความต้ อ งการหด ด้าน “มาโนช” ชี้ 12 กุมภาพันธ์ พบทางออก ม.เกษตรศาสตร์ วั น ที่ 1 กุ ม ภาพั น ธ์ 2563 แหล่ ง ข่ า ว เกษตรกรผู ้ เ ลี้ ย งไข่ ไ ก่ เผยว่ า ที่ ป ระชุ ม คณะ กรรมการนโยบายพั ฒ นาไก่ ไ ข่ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ (เอ้กบอร์ด) ที่มีนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในที่ ประชุม (28 ม.ค.63) รายงานสถานการณ์ไข่ไก่ คละหน้าฟาร์ม ฟองละ 2.70 บาท/ฟอง นั่นเป็น ราคาใกล้เคียงกับต้นทุนเกษตรกรแล้ว ทีส่ ำ� นักงาน เศรษฐกิจ (สศก.) ก�ำหนด แต่ราคา ณ วันนี้ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ ประกาศ ราคาแนะน�ำ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกรอยู่ที่ ราคา 2.60 บาท/ฟอง ปรับลดลงมา 10 สตางค์ เหตุผล ก็มาจากสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา ที่ท�ำให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วลดลง ส่ ง ผลท� ำ ให้ ค วามต้ อ งการ ลดลงเช่นเดียวกัน

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

32


F

Food Feed Fuel

“ส่วนราคาประกาศ เป็นแค่ตวั เลขโชว์เฉยๆ ซึ่งเกษตรกรขายได้จริงต�่ำกว่าราคาประกาศมาก คนทั้งวงการทราบกันเป็นอย่างดี ล่าสุด นาย มาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ใน วันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ ทีม่ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะน�ำเรื่องต่างๆ ที่หลายคนแสดงความคิดเห็นกัน ว่าจะท�ำอย่างไรบ้างในทุกเรื่องล้วนเป็นประโยชน์ และบางเรื่องที่รับปากไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว คือการ ระดมความคิดเห็น หรือท�ำ workshop” นอกจากนี้สาระส�ำคัญที่นายมาโนช กล่าว ท่อนส�ำคัญ ก็คอื ภาวะไข่ไก่ปจั จุบนั ราคากลับมา ไม่ ดี มี ร ายใหญ่ ๆ ออกขายเต็ ม พื้ น ที่ เอาให้ สบายใจ บ้านเมืองอยู่ในมือของพวกคุณ จะท�ำ อะไรท�ำไป อย่าให้พวกเราทนไม่ไหวก็แล้วกัน ขาย กันเหมือนไม่มตี น้ ทุน ไม่เกรงอกเกรงใจเกษตรกร บ้างเลย ไม่เกรงใจราชการบ้างว่าท่านจะคุมกฎอยู่ จะเดือดร้อนจากการกระท�ำของพวกคุณ ถ้าพวกเราร้องขึ้นมาบ้าง อย่าหาว่าเราหา เรื่อง ราคาประกาศไม่ขายตามนั้น ยังขายตามใจ ขอเรียกร้องให้ราชการเข้าตรวจสอบพฤติกรรม ห่วยๆ แบบนี้ ถ้าเป็นจริง ตัดโควตาการน�ำเข้า พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (พีเอส) ทิ้งให้หมด ทั้งพันธุ์สัตว์ ทั้งไก่ยืนกรง ไปท�ำอาชีพเถอะ อย่าให้พวกเรา มาร้องเพลงที่ท่าน พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ร้องเมือ่ หลายเดือน ก่อนเลย เพลงอะไรนึกๆ กันดู (เพลงหนักแผ่นดิน)

33

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

หมูติดร่างแห ‘โคโรนา’ พ่ นพิ ษราคาร่วง สมาคมสุกรฯ เผยปัจจัยเสี่ยงใหม่ ไวรัสโคโรนา กระทบตรง นักท่องเที่ยวจีนวูบ ราคาร่วง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รายงานสถานการณ์สภาวะ ตลาดสุกรมีชีวิต ซึ่งเป็นวันพระ ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ราคาอ่อนตัวลงหลังผ่านเทศกาลตรุษจีน การระบาดของไวรัส โคโรนา สายพั น ธุ ์ ใ หม่ ที่ เ ป็ น โรคติ ด ต่ อ ในคน จะกระทบการ ท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวจีนโดยตรงซึ่งจะเป็นปัจจัยลบใหม่ โดย จะมีการค้าสุกรขุนแนวชายแดนเป็นตัวปรับ Supply ของตลาด ทัง้ นีร้ าคาภาคตะวันตก 77 บาท/กิโลกรัม ภาคตะวันออก 78 บาท/กิโลกรัม ภาคอีสานราคา 79 บาท/กิโลกรัม ภาคเหนือ 80 บาท/กิโลกรัม ภาคใต้ 77 บาท/กิโลกรัม ราคาสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์ม เพื่อส่งออก 81 บาท ลูกสุกรอ้างอิง CPF วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563: 2,700 บวกลบ 78 บาท ต่อกิโลกรัม ข้อมูลราคาสุกรมีชีวต ิ หน้าฟาร์ม พระที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563

ข้อมูลราคาสุกรมีชีวิต   -   รายภาค ราคาแนะน�ำเนื้อแดง เขต หน่วย : บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก ขายปลีก 1. ภาคตะวันตก 77 123 152  -  154 2. ภาคตะวันออก 78 124 154  -  156 3. ภาคอีสาน 79 126 156  -  158 4. ภาคเหนือ 80 128 158  -  160 5. ภาคใต้ 77 123 152  -  154 ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม เพื่อการส่งออก 81 บาท ราคาลูกสุกรอ้างอิง CPF วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563 ราคา 2,700 บาท บวกลบ 78 ่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

34


เครื่องจักรสำหรับผลิต อาหารสั ต ว์ , มวลชี ว ภาพ, ปุ ๋ ย และ กระบวนการ รี ไ ซเคิ ล

www.lameccanica.it made in Italy

phone +39 049 941 9000 lameccanica@lameccanica.it thaioffice@lameccanica.it tel.027115470 ext 107


ไดเจสตารอม ดีซี

เพิ่มประสิทธิภาพการไดรับประโยชนจากสารอาหาร

Digestarom DC ®

The Feed Converter.

ไดเจสตารอม ดีซี Digestarom® DC

ใหประโยชนอยางชัดเจนตอสัตวเลี้ยงและตอผูประกอบการ • นวัตกรรมใหมลาสุดของผลิตภัณฑไฟโตเจนนิกเพื่อเพิ่มการกินไดของสัตว • ดวยสูตรการทํางาน 3 ขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดีขึ้น • ดวยเทคโนโลยี ไบโอมิน ดูเพล็กซ แคปซูล Biomin® Duplex Capsule ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อชวยปรับปรุงประสิทธิภาพการแลกเนื้อ บริ ษัท เออร์ เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จํากัด 1/913 ถ.พหลโยธิน 60 ต.คูคต อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทรศัพท: (02) 993 7500, แฟกซ: (02) 993 8499

www.thefeedconverter.com

Naturally ahead


F

Food Feed Fuel

ร้องรัฐช่วยเหลือ

หลังผลผลิตมันส�ำปะหลังหาย 15% 4 สมาคมมันส�ำปะหลังหวัน่ ไม่มสี นิ ค้าส่ง ร้องรัฐช่วยเหลือ หลังผลผลิตมันฯ หายไป ลดวูบจากภัยแล้ง ชี้ไม่เพียงพอต่อ การใช้ในประเทศ นายบุญชัย ศรีชยั ยงพานิช นายกสมาคมการค้ามันส�ำปะหลัง ไทย ในฐานะประธานคณะส�ำรวจผลผลิตมันส�ำปะหลัง ฤดูการ ผลิตปี 2562/63 เปิดเผยถึงสถานการณ์ผลผลิตมันส�ำปะหลัง ปีการผลิต ปี2562/63 ว่า จากการส�ำรวจผลผลิตมันส�ำปะหลัง ของคณะส�ำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันส�ำปะหลัง ได้ ส�ำรวจและติดติดตามผลผลผลิตปี 2562/63 ระหว่าง วันที่ 17 - 21 ธันวาคม 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบางส่วน และ ระหว่างวันที่ 19 - 22 มกราคม 2563 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งจากการส�ำรวจพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ตั้งแต่ปลายปี 2561 จนถึงปี 2562 ให้มีผลกระทบ ต่อพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ รวมถึงพื้นที่ที่ปลูกมันส�ำปะหลัง โดยพบว่าให้การเติบโต ของมันส�ำปะหลังไม่สมบูรณ์ บางพื้นที่ยืนต้นตาย หรือบางพื้นที่ผลผลิตลดลง เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกษตรกรขาดแคลนท่อนพันธุ์ หรือน�ำท่อนพันธุท์ ไี่ ม่สมบูรณ์ มาปลู ก ต่ อ เพื่ อ ให้ ทั น เก็ บ เกี่ ย วในฤดู ก ารผลิ ต ในปี 2562/63 จากผลกระทบ ดังกล่าว ท�ำให้ผลผลิตทีเ่ ก็บเกีย่ วในช่วงเดือนธันวาคม 2562 - เดือนมกราคม 2563 ลดลงถึง 20 - 30% และมันส�ำปะหลังที่ปลูกในช่วงปลายปี 2562 ต้นปี 2563 ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในช่วงกลางปี 2563 ก็มีแนวโน้มจะไม่ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งจากการ

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563 ทีมา

35

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

ประเมินผลผลิต คาดว่าน่าจะมีปริมาณ 28.7 ล้าน ตัน ก็น่าจะมีลดลงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากมี พายุฝนในช่วง 2 เดือนข้างหน้า ผลผลิตอาจลด ลง 10 - 20% หรืออาจเสียหายมากกว่านี้หากฝน ทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน โดยคาดว่าผลผลิตปีนี้ จะเหลือ 23 - 24 ล้านตัน และอาจส่งผลกระทบ ไปถึงฤดูกาลผลิตปี 2563 - 2564 “ผลผลิตปีนีน่าจะลดลงจนท�ำให้ขาดแคลน อย่างมากจนให้ไม่มีสินค้าส่งเนื่องจากยังมีค�ำสั่ง ซื้อเข้ามาเรื่อยๆ และผลของผลผลิตลดลง ท�ำให้ เกษตรกรเดือดร้อนจากการสูญเสียรายได้ เพราะ ภาวะภัยแล้ง ขณะเดียวกัน พันธุ์มันส�ำปะหลัง ที่ เกษตรกรเก็บไว้ เสียหาย และเกิดภาวะขาดแคลน ท่อนพันธุอ์ ย่างรุนแรง ซึง่ คาดว่าน่าจะท�ำให้รายได้ ของประเทศลดลงหลายหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ใน แต่ละปี ไทยใช้มันส�ำปะหลัง 40 ล้านตัน ซึ่งไทย ผลิตได้เองปีละประมาณ 30 ล้านตัน และน�ำเข้า ปีละ 10 ล้านตัน ซึ่ง 4 สมาคมมันส�ำปะหลัง ได้ทำ� หนังสือถึงคณะกรรมการนโยบายและบริหาร จัดการมันส�ำปะหลัง (นบมส.) โดยผ่านกรมการค้า ภายใน ฐานะเลขานุการเพื่อรับข้อเสนอแนะจาก สมาคม” นายบุญชัย กล่าว ส�ำหรับข้อเสนอแนะที่ 4 สมาคม ประกอบ ด้วย สมาคมการค้ามันส�ำปะหลังไทย สมาคม โรงงานผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังไทย สมาคมแป้ง มั น ส� ำ ปะหลั ง ไทย และสมาคมโรงงานผู ้ ผ ลิ ต มันส�ำปะหลัง ภาคตะวันออก คือ ต้องการให้ ภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องพันธุ์ มันที่ขาดแคลน การหามาตรการมารับรองกับ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

ปัญหาภัยแล้ง และการรับจ�ำน�ำหัวมันในดิน เป็นต้น ส�ำหรับราคาหัวมันสด ณ ปัจจุบนั อยูท่ ี่ 2.20 บาท ต่อกิโลกรัม ลดลงจากเดิมที่ 2.40 บาท ยังถือว่า เป็นราคาที่เกษตรกรยังพอใจ และยังมีโครงการ ประกันรายได้พชื เกษตร ทีร่ บั ประกันในราคา 2.50 บาทต่อกิโลกรัม

36


F

Food Feed Fuel

รับปากแก้ปญ ั หา

นมโคล้นตลาด ชุมนมโคนมฯ บุกเกษตร โอดโดนเอกชน ลอยแพ ไม่มีที่ขายน�้ำนมดิบ วอนปลัดประสาน โรงนม เร่งเจรจาแก้ปญ ั หานมทะลักช่วงปิดเทอม 600 ตัน/วัน ด่วน วันที่ 30 มกราคม 2563 นายนัยฤทธิ์ จ�ำเล ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่ง ประเทศไทย จ�ำกัด เผยว่า จากผลกระทบปัญหา เศรษฐกิจในช่วงทีผ่ า่ นมา ส่งผลท�ำให้บริษทั เอกชน ไม่สามารถรับน�ำ้ นมดิบได้ เริม่ ปฏิเสธรับซือ้ น�ำ้ นม ดิบแล้ว ดังนั้นจึงวอน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ใน ฐานะประธานคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม เร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว หากไม่รีบด�ำเนินการ น�้ำนมดิบ 600 ตัน/วัน ไม่มีที่ไปจริง แม้กระทั่ง วันนี้ อ.ส.ค. ก็ไม่รบั ซือ้ น�ำ้ นมดิบจากเกษตรกร ถ้า กระทรวงไม่สามารถทีจ่ ะช่วยเหลือต่อไป เกษตรกร จ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งไปขอความเมตตาจากนายก รัฐมนตรี เพื่อให้อาชีพพระราชทานของในหลวง ร.9 สืบต่อไป อย่างไรท้ายสุดปลัดเกษตรฯ รับปาก แล้วว่าจะหาทางแก้ปัญหาต่อไป

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันพฤหัสที่ 30 มกราคม 2563 ทีมา

37

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

ร้อง ข้าวโพดพม่า ทะลัก ‘สวมสิทธิ’ ทุบราคาดิง ่

ข้าวโพด *** Local Caption *** ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพ

ข้าวโพดเมียนมาทะลักไทย ทุบราคาผลผลิตชาวไร่ดงิ่ รัฐจ่ายประกันรายได้ อ่วม “สมาคมพ่อค้าพืชไร่” ออกโรงร้อง กมธ.วุฒิสภา - พาณิชย์ ยื่นข้อเรียกร้อง จัดระเบียบน�ำเข้าวัตถุดบิ ทดแทนอาหารสัตว์ จีต้ รวจสต็อก รือ้ มาตรการ 3 ต่อ 1 ขึน้ ภาษีนำ� เข้าตามฤดูกาล 10 - 27% เดินหน้าผลักดันเข้าคณะกรรมการนโยบาย ข้าวโพด ก่อนชาวไร่ 4.5 แสนครัวเรือนพัง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ไทยได้เปิดให้มีการน�ำเข้าข้าวโพดจากประเทศ เพือ่ นบ้านในอาเซียน อัตราภาษี 0% ตามกรอบการเปิดการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นเวลา 7 เดือน โดยจะสิ้นสุดในเดือน ส.ค. 2563 |  ประกันรายได้ทุบราคาข้าวโพด  |

นายพรเทพ ปู่ประเสริฐ

นายพรเทพ ปู่ประเสริฐ นายกสมาคมการค้าพืชไร่ เปิดเผยว่า สมาคม ได้ยื่นหนังสือต่อ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหา ราคาผลผลิตเกษตรกรรม และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาราคาข้าวโพด เนื่องจากในปีนี้เกิดปรากฏการณ์ความผิดปกติ ปริมาณผลผลิตมีน้อย ทั้ง จากภัยแล้งและโรคระบาด ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวโพดยังคงที่ แต่ราคาผลผลิต ข้าวโพดในตลาดกลับปรับลดลง ข้าวโพดส่วนเกินโผล่ 9 แสนตัน

่ : ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

38


F

Food Feed Fuel

“กรณีดงั กล่าว สวนทางกับความเป็นจริง เพราะผลผลิตปีนนี้ อ้ ยกว่าปีกอ่ น แต่ละปีไทยผลิตข้าวโพดได้ 5 ล้านตัน ความต้องการใช้ข้าวโพดในการผลิต อาหารสัตว์อยูท่ ปี่ ลี ะประมาณ 8 ล้านตัน จึงต้องน�ำเข้าวัตถุดบิ เพิม่ อีก 3 ล้านตัน โดยยึดระเบียบที่ก�ำหนดให้เอกชนที่ต้องการน�ำเข้าข้าวสาลีเพื่อเป็นวัตถุดิบ ทดแทนข้าวโพด ต้องซื้อข้าวโพดภายในประเทศ 3 ส่วน ให้น�ำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน แต่มีปัญหาลักลอบน�ำเข้า ค�ำนวณจากผลิตข้าวโพดในประเทศ 5.1 ล้านตัน แต่ในความจริงทางปฏิบัติมีการน�ำเข้าวัตถุดิบทดแทน คือ ข้าวสาลี 2 ล้านตัน เท่ากับเราต้องผลิตข้าวโพด 6 ล้านตัน แต่เราผลิตแค่ 5.1 ล้านตัน จึงน่าคิดว่า ข้าวโพดอีก 9 แสนตัน มาจากไหน ที่แน่ๆ ท�ำให้ราคาข้าวโพดของ เกษตรกรปรับลดลง” นอกจากนี้ ปีที่ผ่านมายังมีการน�ำเข้าวัตถุดิบทดแทนอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกเกณฑ์ 3 ต่อ 1 เช่น น�ำเข้ากากข้าวโพด (DDGS) 8 แสนตัน ข้าวบาร์เลย์ 1.93 ล้านตัน จากประเทศหลัก เช่น ยูเครน อาร์เจนตินา และสหรัฐฯ รวมแล้ว 4 - 5 ล้านตัน รวมทั้งมีการน�ำเข้าข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านจาก AFTA โดยเฉพาะกัมพูชา “ล่าสุดก็มีการน�ำเข้าจากเมียนมา ทางพรมแดน อ.แม่สอด จ.ตาก อีก คาดว่าประมาณเกือบ 2 ล้านตัน เพราะโดยปกติเมียนมาผลิตข้าวโพดได้ 3 ล้านตัน ขายจีนตอนใต้ 1.6 - 1.7 ล้านตัน แต่ปลายปีที่ผ่านมา จีนปิดพรมแดน จึงต้องมาขายไทย” รัฐต้องจ่ายประกันรายได้เพิม่ เมือ่ น�ำเข้าข้าวโพด รวมทัง้ วัตถุดบิ ทดแทนทะลัก เข้ามาแข่งในรูปแบบทีถ่ กู และไม่ถกู กฎหมาย จึงทุบราคาข้าวโพดในประเทศ จากที่ ควรจะได้ กก. ละ 9 - 10 บาท ตอนนี้เหลือต�่ำกว่า 8.50 บาท ท�ำให้ภาครัฐต้องจ่าย ชดเชยประกันรายได้ กลายเป็นว่า การประกาศราคาประกันทุบราคาผลผลิตภายใน ประเทศลง ผู้ได้ประโยชน์มีเพียงกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์และปศุสัตว์ เพราะแม้ราคา วัตถุดิบลดลง ก็ไม่เคยปรับลดราคาจ�ำหน่ายอาหารสัตว์ หรือราคาเนื้อสัตว์ลง นายพรเทพ กล่าวว่า ทางสมาคมกังวลว่าหากเกษตรกรอยู่ไม่ได้ อนาคต ผู้ปลูกข้าวโพดที่ขณะนี้มี 4.5 แสนครัวเรือน จะเลิกปลูกข้าวโพด เช่นเดียวกับ ที่เคยเกิดกับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ในอดีตทีต่ อ้ งเลิกปลูก ท�ำให้ไทยต้องพึง่ พาการน�ำเข้า 100% ปัจจุบนั เกษตรกร ไทยประสบปัญหาต่อเนือ่ งมาหลายปี และปีนมี้ ภี ยั แล้ง โรคระบาดในข้าวโพด ท�ำให้ ต้นทุนเกษตรกรเฉลี่ยจากที่เคยผลิตที่ กก. ละ 4.90 บาท (เช่าที่ดิน) ขยับเป็น กก. ละ 5.90 บาท ราคาตลาดที่ขายจึงต้องอยู่ที่ 9 - 10 บาท แต่ขยับตามกลไก ตลาดไม่ได้ เพราะแข่งขันกับสินค้าน�ำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้

39

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


F

Food Feed Fuel

นอกจากนี้ การที่ราคาข้าวโพดจากเมียนมาข้ามมา อ.แม่สอด ราคาอยู่ที่ กก. ละ 7.50 บาท ตลาดส่งออกข้าวโพด ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จึงเริ่มหันไปซื้อข้าวโพดเมียนมาแล้ว จี้แก้ข้าวโพดสวมสิทธิ์ | ร้องข้าวโพดพม่าทะลัก ‘สวมสิทธิ’ ทุบราคาดิ่ง |

ดร.สุจิต จิตติรต ั นากร

ด้าน ดร.สุจติ จิตติรตั นากร รองเลขาธิการ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ และ กรรมการสมาคมพ่อค้าพืชไร่ กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ที่ กมธ. จะสรุปส่งรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวโพดแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) ขอให้ภาครัฐตรวจสอบสต็อกผู้ผลิตก่อนให้น�ำเข้า ป้องกันปัญหาการลักลอบ น�ำข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์เป็นข้าวโพดไทย 2) มาตรการดูแลวัตถุดิบทดแทน ขอให้ลดระยะเวลาเปิดน�ำเข้าข้าวโพด จากประเทศอาเซียนตามกรอบ AFTA จาก 7 เดือน ให้เหลือ 5 เดือน เริ่มจาก เม.ย. - ส.ค. และขอให้ “ขยาย” มาตรการดูแลสัดส่วนการน�ำเข้า 3 ต่อ 1 จากเดิม ที่ใช้เฉพาะข้าวสาลี ให้ครอบคลุมวัตถุดิบทดแทนชนิดอื่นๆ ทั้งข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรซ์ กากข้าวโพด (DDGS) เก็บภาษีตามฤดูกาลผลิต 3) มาตรการด้านภาษีน�ำเข้าวัตถุดิบทดแทน ควรปรับให้สอดรับกับฤดูกาล ผลิตตั้งแต่ 10 - 27% เช่น ช่วงใดไทยมีผลผลิตข้าวโพดมาก ก็ให้ใช้อัตราภาษีสูง 27% ช่วงใดไทยไม่มผี ลผลิตข้าวโพด ก็ปรับลดภาษีลงเหลือ 10% ส่วนกากข้าวโพด หรือ DDGS ควรมีอัตราภาษีตามสัดส่วนการใช้ ประมาณ 73% เพราะสามารถ ใช้แทนเทียบเท่าข้าวโพด 2 ส่วน และต้องยกเลิกโควตาสัดส่วน 3 ต่อ 1 ที่เป็น ปัญหา และ 4) กรมปศุสตั ว์ควรก�ำหนดมาตรฐานวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิตอาหารสัตว์ นอกจากนี้ ควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมการก�ำหนดราคาซื้อหน้าโรงงาน อาหารสัตว์ เนื่องจากมีการประกันรายได้เกษตรกรที่ กก.ละ 8.50 บาท แต่ราคาที่ โรงงานซื้อในพื้นที่ปรับลดลงมาเรื่อยๆ จาก 8.80 - 9.05 บาท มาเป็น 8.35 - 8.70 บาท และล่าสุดเหลือเพียง 8.20 บาทแล้ว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

40


M

Market Leader

คาดปี 63

ก�ำลังผลิตสุกร ขยับตัวสูงขึ้น

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ ง สุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงแนวโน้มการเลี้ยงสุกร ปี 2563 ว่า ถือเป็นอีกปีแห่งความท้าทายของ อุ ต สาหกรรมสุ ก รของไทย โดยเฉพาะปั ญ หา ภัยแล้งทีค่ าดว่าจะรุนแรงกว่าทุกปีทผี่ า่ นมา ทัง้ แล้ง เร็ว และแล้งนาน ซึ่งสภาพอากาศเช่นนี้ มีผลต่อ ประสิทธิภาพการเลี้ยง ท�ำให้สุกรกินอาหารน้อย ลง ส่งผลให้การเติบโตช้า ต้องใช้อาหารมากขึ้น ในการเปลี่ยนเป็นน�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จึงต้อง ใช้เวลาเลีย้ งนานขึน้ กว่าเดิม จากปกติทสี่ กุ รขนาด น�ำ้ หนัก 100 กิโลกรัมขึน้ ไป จะใช้เวลาเลีย้ งตัง้ แต่ แรกคลอดถึงจับขายประมาณ 6 เดือน แต่อากาศ ร้อน ท�ำให้เกษตรกรต้องขยายเวลาเลี้ยงออกไป อีก 2 สัปดาห์ ท�ำให้มีต้นทุนสูงขึ้น ทั้งค่าอาหาร ค่าน�้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน รวมถึงมีความเสี่ยง จากราคาที่อาจผันผวนในช่วงที่เลี้ยงนานขึ้นด้วย ขณะที่การผลิตสุกรของไทย ปี 2563 คาดว่า จะมีก�ำลังการผลิตสุกรปริมาณ 20.53 ล้านตัว หรือเพิ่มขึ้น 0.49% เนื่องจากปริมาณการผลิต ขยายตั ว ตามจ� ำ นวนประชากร และราคาสุ ก ร มีชีวิตจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต ตลอดจน เกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์ม และป้องกัน โรคระบาดได้เป็นอย่างดี ท�ำให้ประสิทธิภาพใน การเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิต เพิ่มขึ้น

่ : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563 ทีมา

41

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

ขณะเดียวกัน ภัยแล้งยังส่งผลให้ปริมาณน�ำ้ ทีเ่ กษตรกรกักเก็บส�ำรองไว้ ขาดแคลน ขณะนี้เกษตรกรในหลายพื้นที่จ�ำเป็นต้องซื้อน�้ำจากภาคเอกชน ที่ขายน�้ำเป็นคันรถ เพื่อมาใช้ส�ำหรับสุกร ทั้งน�้ำกิน และน�้ำใช้ภายในฟาร์ม เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดน�้ำสะอาด และอากาศ ร้อนจัด นอกจากนี้ ยังต้องลงทุนเพิ่มในส่วนของการปรับคุณภาพน�้ำส�ำหรับ น�ำ้ ทีซ่ อื้ มาส�ำรองใช้ โดยฟาร์มหลายแห่งต้องเลือกซือ้ น�ำ้ จากแหล่งทีม่ คี ณ ุ ภาพ และสะอาดเพียงพอสามารถน�ำมาใช้ให้สุกรกินได้ อาทิ น�้ำบาดาล ซึ่งมีราคา ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 150 - 300 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ส�ำหรับน�้ำที่ใช้ท�ำ ความสะอาดโรงเรือน อาจจะใช้น�้ำคุณภาพต�่ำลงมา เป็นน�้ำผิวดิน หรือ น�้ำคลอง ราคาอยู่ที่ประมาณ 100 - 150 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งยัง ไม่รวมค่าขนส่ง หากฟาร์มอยู่ไกลจากแหล่งน�้ำ ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นตาม ระยะทาง เช่น เกษตรกรจังหวัดชลบุรี ที่ปกติมีต้นทุนค่าน�้ำ 30 บาท ต่อสุกรขุน 1 ตัว จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 300 - 600 บาทต่อตัว หรือ ต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 3 - 6 บาทต่อเนื้อสุกร 1 กิโลกรัม ส่วนสถานการณ์ในปี 2562 ที่ผ่านมา ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรระบุว่า ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตสุกรรวม 20.43 ล้านตัว ลดลง จากปี 2561 ที่ผลิตได้ 20.85 ล้านตัว หรือลดลง 2.01% ซึ่งเป็นผลจากราคาสุกร มีชวี ติ ตกต�ำ่ ตัง้ แต่ปลายปี 2560 ต่อเนือ่ งถึงปี 2561 เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน ท�ำให้เกษตรกรบางรายเลิกเลี้ยง บางรายตัดสินใจลดปริมาณการเลี้ยงสุกรลง และ ผูเ้ ลีย้ งแม่พนั ธุต์ อ้ งปลดแม่พนั ธุส์ กุ รทิง้ ถึง 20 - 30% จากปริมาณทัง้ ประเทศ รวมทัง้ ภาครัฐมีมาตรการลดปริมาณสุกรเพื่อปรับสมดุลราคาสุกรมีชีวิต ท�ำให้ผลผลิต ในภาพรวมลดลง ต่อมาในช่วงกลางปี 2562 ราคาสุกรตกต�่ำเป็นอย่างมาก และ มีปัจจัยเสริมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ASF ที่เกิดในจีน และประเทศเพื่อนบ้าน ของไทย ท�ำให้เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ ต่างระมัดระวังในการ เข้าเลี้ยงสุกรมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปี ไม่มีเงินทุนส�ำหรับการเลี้ยงรอบใหม่ จ�ำเป็นต้องเลิกเลี้ยงสุกร ขณะที่ผู้เลี้ยง รายกลาง และรายใหญ่ ต่างจ�ำกัดความเสี่ยง ด้วยการชะลอการน�ำลูกสุกรเข้าเลี้ยง หรือเข้าในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ แต่ก็ยังเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อการรองรับ การบริโภคในประเทศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

42


M

Market Leader

เลี้ยงกุ้งอย่างไร ให้ปลอดภัยจาก

โรคตัวแดงดวงขาว

ปัจจุบนั นีแ้ ม้วา่ มีอบุ ตั กิ ารณ์ของโรคใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการเลีย้ งกุง้ เกิดขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ โรค เหล่านีไ้ ด้สร้างความเสียหายกับเกษตรกรผูเ้ ลีย้ ง กุ้งเป็นอย่างมาก เช่น โรคอีเอ็มเอส และโรค ติดเชือ้ อีเอชพี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม โรคเดิม ที่ยังคงวนเวียนและสร้างความเสียหายกับการ เลี้ยงกุ้งเป็นอย่างมากก็คือ โรคตัวแดงดวงขาว หรือโรคจุดขาว (White Spot Disease, WSD) โดยความเสียหายของกุง้ ทีเ่ กิดจากโรคนีส้ ามารถ เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังคง พบว่าช่วงปลายปีจนถึงต้นปี ตัง้ แต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิต�่ำ จะเป็นช่วงที่มีอุบัติการณ์ของโรคนี้สูงสุดในรอบ ปี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่า อุณหภูมิ ของน�ำ้ ทีล่ ดต�ำ่ ลง จะท�ำให้กงุ้ มีความเสีย่ งต่อการ ติดเชื้อได้มากขึ้น จึงขอน�ำเสนอข้อมูลลักษณะ ของเชื้อและกุ้งที่ป่วย รวมไปถึงแนวทางป้องกัน และลดความเสี่ยงจากโรคตัวแดงดวงขาว เพื่อ ย�้ำเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้ตระหนักถึงการ ป้องกันปัญหานี้ ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อ ผลผลิตกุ้งเป็นประจ�ำในทุกๆ ปลายปี

รูปที่ 1  กุ้งป่วยที่ติดเชื้อไวรัวตัวแดงดวงขาว จะเห็นจุดขาวที่เปลือกอย่างชัดเจน

■ ลักษณะของเชื้อรา และอาการของกุ้งที่ป่วย โรคตัวแดงดวงขาวในกุง้ เกิดจากการติดเชือ้ ไวรัสตัวแดงดวงขาว (White Spot Syndrome Virus, WSSV) ซึ่งมีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอ สายคู่ ไวรัสตัวแดงดวงขาวจะมีรูปร่างลักษณะ เป็นแท่งไปจนถึงเป็นรูปไข่ มีขนาดรูปร่างประมาณ 120x275 นาโนเมตร และมีผนังหุ้ม (Envelope) โดยการติดเชื้อสามารถพบได้ในกุ้งพีเนียสหลาย ชนิด เช่น กุ้งกุลาด�ำ กุ้งขาว กุ้งขาวจีน กุ้งขาว

่ : วารสารข่าวกุ้ง ปี ที่ 31 ฉบับที ่ 376 เดือนพฤศจิกายน 2562 ทีมา

43

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

อินเดีย กุ้งฟ้า กุ้งลายเสือ และกุ้งแชบ๊วย เป็นต้น การตรวจพบโรคสามารถตรวจพบได้ในทุกช่วง อายุของกุ้ง และยังตรวจพบได้ในสัตว์พาหะหลาย ชนิด เช่น ปู เคย กุ้งธรรมชาติ และโคพีพอด เป็นต้น ส่วนการติดต่อของเชื้อในกุ้ง สามารถ ถ่ายทอดเชื้อไวรัสผ่านทางพ่อแม่พันธุ์สู่ลูกกุ้งได้ (Vertical Transmission) และจากการกินกุ้งป่วย ทีม่ เี ชือ้ ไวรัสตัวแดงดวงขาวเข้าไป สัตว์พาหะน�ำโรค รวมทั้งน�้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากบ่อที่มีกุ้งป่วย หรือ จากแหล่งน�้ำธรรมชาติที่มีเชื้อ และไม่ได้ผ่านการ บ�ำบัด (Horizontal Transmission) เมือ่ กุง้ ติดเชือ้ ไวรัสตัวแดงดวงขาว กุง้ ทีป่ ว่ ย จะแสดงรอยโรคจุดขาว หรือดวงขาวด้านใต้เปลือก สังเกตได้ชดั โดยเฉพาะเปลือกส่วนหัว (Carapace) ล�ำตัวกุง้ จะมีสชี มพูถงึ แดง กุง้ ทีป่ ว่ ยอาจไม่พบรอย จุดขาวได้ แต่จะแสดงอาการทีผ่ ดิ ปกติ เช่น ว่ายน�ำ้ ช้า เกาะอยูต่ ามขอบบ่อ และไม่กนิ อาหาร หลังกุง้ ติดเชือ้ จะเริม่ พบกุง้ ป่วยและทยอยตายเป็นจ�ำนวน มาก อาจเสียหายมากถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ภายใน 3    -    10 วัน ความรุนแรงของโรคเกิดขึ้นได้หลาย ปัจจัย เช่น ความหนาแน่นของการเลี้ยง คุณภาพ น�ำ้ หรือสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เหมาะสม ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะโน้มน�ำท�ำให้กงุ้ เกิดความเครียด อ่อนแอ ง่ายต่อการเกิดโรคมากขึ้น โดยได้มีงานวิจัยของ Kathyayani S.A. และคณะในปี 2562 พบว่า ค่าแอมโมเนียรวมและพีเอชของน�้ำที่สูงเกินกว่า ระดับทีเ่ หมาะสม จะท�ำให้กงุ้ ขาวมีภมู ติ า้ นทานลด ลง และท�ำให้มีความไวในการติดเชื้อไวรัสตัวแดง ดวงขาวเพิ่มมากขึ้น ส�ำหรับการตรวจวินิจฉัยกุ้ง ที่ติดเชื้อนั้น ในเบื้องต้นอาจสันนิษฐานได้จาก ลักษณะของกุ้งป่วย และอาการดังกล่าวข้างต้น แต่เพื่อยืนยันผลการติดเชื้อที่แน่ชัด จะต้องส่ง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

ตัวอย่างกุ้งป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี ย้ อ มสี เ หงื อ ก หรื อ เนื้ อ เยื่ อ ใต้ เ ปลื อ ก วิ ธี ท าง จุลพยาธิวิทยา หรือการตรวจด้วยเทคนิคพีซีอาร์ ่ ลด ■ แนวทางป้องกันเพือ ความเสี่ยงจากโรคตัวแดง ดวงขาว • เน้นการป้องกันโรคด้วยระบบไบโอ ซีเคียวอย่างเคร่งครัด การที่จะเลี้ยงกุ้งให้ประสบความส�ำเร็จ นั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจ�ำเป็นต้องมีการเตรียม ความพร้อมในทุกๆ ด้าน และต้องมีความพิถพี ถิ นั ในทุกขัน้ ตอน ตัง้ แต่การเตรียมบ่อ การคัดเลือกกุง้ และการจัดการระหว่างการเลี้ยง นอกจากนี้ สิ่งที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องให้ความส�ำคัญในระดับ สูงสุดเพือ่ ลดความเสีย่ งในการเกิดโรค โดยเฉพาะ โรคตัวแดงดวงขาวคือ การป้องกันโรคด้วยระบบ ไบโอซีเคียวอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะต้องค�ำนึงถึง ปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1. เลือกใช้ลูกกุ้งที่ปลอดเชื้อ (SPF) ลูกกุ้งที่ปลอดเชื้อจะต้องได้มาจากพ่อแม่พันธุ์ที่ ปลอดเชื้อ และระบบการเลี้ยงที่ปลอดเชื้อเท่านั้น ลูกกุ้งที่ได้จากระบบการเลี้ยงที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เพียงพอ จะมีความเสีย่ งในการปนเปือ้ นของเชือ้ สูง แม้วา่ ลูกกุง้ จะผ่านการตรวจด้วยวิธพี ซี อี าร์มาแล้ว ก็ตาม เนื่องจากการตรวจสอบเพียงไม่กี่ครั้งอาจ เกิดความผิดพลาดได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่าง หรือ เกิดจากการให้ผลลบเทียมในกรณีที่เชื้อมีปริมาณ น้อยกว่าระดับทีต่ รวจได้ ดังนัน้ จึงควรเลือกใช้ลกู กุง้ ทีป่ ลอดเชือ้ จริงๆ จากโรงเพาะฟักทีม่ มี าตรฐานสูง และลูกกุ้งมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

44


M

Market Leader

ซึ่งจะต้องมีระบบการเลี้ยงที่ปลอดจากเชื้อก่อโรค ที่รุนแรง และมีการตรวจติดตามเชื้อก่อโรคเป็น โปรแกรมตลอดระยะเวลาการเลีย้ ง จึงท�ำให้แน่ใจ ได้วา่ นอกจากลูกกุง้ จะปลอดจากเชือ้ ไวรัสตัวแดง ดวงขาวอย่างแน่นอนแล้ว ยังปลอดจากเชือ้ ก่อโรค ที่ส�ำคัญอื่นๆ อีกด้วย 2. วิเคราะห์จุดที่เป็นความเสี่ยงหลักๆ ของฟาร์ม ซึ่งเป็นช่องทางที่อาจเกิดการปนเปื้อน ของเชื้อไวรัสจากภายนอกเข้าสู่ระบบการเลี้ยง ในฟาร์ ม เพื่ อ ให้ ส ามารถท� ำ การป้ อ งกั น และ ระมัดระวังได้อย่างตรงจุด ทุกครั้งที่เกิดความเสีย หายของกุ้งจากโรคนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้อง ท�ำการวิเคราะห์ถงึ ข้อผิดพลาดในครัง้ นัน้ ๆ เพือ่ ให้ ทราบถึงจุดบกพร่องทีท่ ำ� ให้เชือ้ สามารถเข้าสูร่ ะบบ การเลี้ยงได้ ในกรณีซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก หรือไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น การทีฟ่ าร์มมีบอ่ เลีย้ ง บางส่วนอยู่ใกล้กับทะเล ในช่วงมรสุมที่มีลมแรง อาจมีการพัดพาละอองน�ำ้ จ�ำนวนมากทีม่ เี ชือ้ ปน   -    เปือ้ นเข้ามาสูบ่ อ่ เลีย้ งได้โดยตรง การป้องกัน ท�ำได้ ยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ในกรณีเช่นนี้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งอาจจ�ำเป็นต้องหยุดเลี้ยงในบ่อที่ได้รับ ผลกระทบจากปัญหานี้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะลดความ เสียหายของกุ้งที่จะเกิดในบ่อดังกล่าวแล้ว ยังลด โอกาสการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบ่ออื่นๆ ที่ อยู่ถัดๆ ไปอีกด้วย 3. ตรวจสอบความพร้ อ มของระบบ ไบโอซีเคียว ผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องท�ำการตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของระบบไบโอซีเคียวในส่วนที่เป็น โครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นรั้วกันปู เชือก หรือตาข่าย กันนก อุปกรณ์ฆ่าเชื้อก่อนเข้าสู่บ่อเลี้ยงและอื่นๆ ว่ามีครบถ้วน และพร้อมใช้งานมากน้อยเพียงใด จุดไหนที่ยังขาด หรือมีข้อบกพร่อง ก็ต้องท�ำการ เสริม หรือซ่อมแซมปรับปรุงเพือ่ ให้สามารถใช้งาน

รูปที่ 2  รัว้ กันปู และตาข่ายกันนกในบ่อเลี้ยงกุ้ง

ได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีการทบทวน แนวทางปฏิบัติงานว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง และรัดกุมเพียงพอหรือไม่ เพือ่ ให้ระบบไบโอซีเคียว สามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 4. ค�ำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพ ของฟาร์ม การเลีย้ งกุง้ ให้ประสบความส�ำเร็จในช่วง เวลาที่มีโอกาสของการเกิดโรคสูงนั้น เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งจ�ำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมใน ทุกๆ ด้านเป็นอย่างดี รวมทั้งต้องมีความพิถีพิถัน ในทุกๆ ขั้นตอนของการเลี้ยง อย่างที่ทราบกัน ดีว่า ระบบการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันต้องใช้น�้ำในการ เปลี่ ย นถ่ า ยระหว่ า งการเลี้ ย งมากขึ้ น เพื่ อ ลด ความเสีย่ งของการเกิดโรคต่างๆ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ ง กุ้งจะต้องให้ความส�ำคัญและใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพือ่ ให้มนี ำ�้ ทีป่ ลอดเชือ้ ส�ำหรับใช้ในการเลีย้ งอย่าง เพียงพอ เพื่อก�ำหนดจ�ำนวนบ่อที่จะเลี้ยง อัตรา ความหนาแน่นของการลงกุง้ และขนาดกุง้ ทีจ่ ะจับ ที่เหมาะสม ถ้าไม่สอดคล้องกันอาจท�ำให้ต้อง เตรียมน�้ำอย่างรีบเร่งเพื่อให้มีน�้ำอย่างเพียงพอ ส�ำหรับใช้งาน ก็จะท�ำให้มีโอกาสที่จะเกิดความ ผิดพลาดสูงขึ้น นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ที่มีปัญหา เรือ่ งการขาดแคลนแรงงาน ก็ตอ้ งพิจารณาว่าอัตรา ก�ำลังคนที่มีอยู่ ควรจะเลี้ยงกุ้งกี่บ่อถึงจะท�ำให้ สามารถดูแลจัดการได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดโอกาส ที่จะเกิดความผิดพลาดในการเลี้ยงลง

45

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

• การจัดการสภาพแวดล้อมในบ่อเลีย้ งให้ กุ้งอยู่สบายไม่เครียด นอกจากการมีระบบไบโอซีเคียวทีด่ ี และ มีประสิทธิภาพแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมในบ่อ ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งตลอดระยะเวลาการ เลี้ยงนั้น จะช่วยให้กุ้งอยู่สบาย ไม่เครียด มีความ แข็งแรง และความต้านทานโรคสูงขึน้ ท�ำให้ชว่ ยลด ความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีแนวทางดังนี้ รูปที่ 3  ตรวจสอบระบบไบโอซีเคียวที่ใช้งานอยู่ อย่างสม่�ำเสมอ เพื่อปรับปรุงและแก้ไข ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. เน้นการบ�ำบัดน�้ำก่อนน�ำไปเลี้ยงกุ้ง อย่างจริงจัง เนื่องจากในช่วงที่มีความเสี่ยงในการ เกิดโรคสูง จะพบว่าน�ำ้ ธรรมชาติจากภายนอกทีจ่ ะ น�ำมาเลี้ยงกุ้งมักจะมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ในน�้ำมากกว่าช่วงปกติ การบ�ำบัดน�้ำในช่วงนี้จึง ต้องท�ำอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน จึงจะลดความ เสี่ยงได้ โดยจะต้องไม่มีพาหะน�ำโรคไวรัสตัวแดง ดวงขาวต่างๆ เช่น ปู เคย กุ้งกระต่อม กุ้งฝอย เป็นต้น น�้ำดิบที่สูบเข้ามาในฟาร์มต้องผ่านการ ก�ำจัดพาหะด้วยไตรคลอร์ฟอน 2 พีพีเอ็ม ก่อน แล้วจึงสูบมาเก็บในบ่อพักน�ำ้ เพือ่ ลดความขุน่ โดย ให้เกิดการตกตะกอนขั้นต้นด้วยการใช้ด่างทับทิม 5 พีพเี อ็ม และควรพักน�ำ้ ไม่นอ้ ยกว่า 7 วัน จากนัน้ สูบน�ำ้ ส่วนใสด้านบนเข้าบ่อทรีต เพือ่ เข้าสูข่ นั้ ตอน การฆ่าเชือ้ โดยใช้คลอรีนความเข้มข้น 15 พีพเี อ็ม จากนั้นสูบน�้ำส่วนใสผ่านใยกรองไปเก็บในบ่อน�้ำ พร้อมใช้ ปรับคุณภาพตามมาตรฐานการเลี้ยงกุ้ง และน�ำไปใช้ต่อไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

1. เลี้ยงกุ้งในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งจะ ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของฟาร์ม และขนาด ของกุ้งที่ต้องการจับ รวมทั้งการให้อาหารต้อง ระมัดระวังอย่าให้อาหารเกินความต้องการของกุ้ง การเพิ่มอาหารจึงควรค่อยๆ เพิ่ม ไม่ควรเพิ่มเร็ว เกินไป ซึ่งอาจท�ำให้อาหารเหลือได้ 2. ควบคุ ม คุ ณ ภาพน�้ ำ ให้ เ หมาะสม ตลอดการเลีย้ ง คุณภาพน�ำ้ ทางเคมีทสี่ ำ� คัญ ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนละลายน�้ำ (DO) ต้องไม่ต�่ำกว่า 5 พีพีเอ็ม พีเอช (pH) ควรอยู่ในช่วง 7.5 - 8.3 และมีค่าความแตกต่างในรอบวันไม่ควรเกิน 0.5 ค่าอัลคาไลนิตี้ (Alkalinity) ไม่ควรต�่ำกว่า 150 180 พีพีเอ็ม ไม่ควรมีสารพิษ เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ในบ่อมีปริมาณ แร่ธาตุที่เพียงพอต่อความต้องการของกุ้ง ถ้า ความเค็มของน�ำ้ ที่เลี้ยงมากกว่า 20 พีพีท ี ขึ้นไป ค่าแคลเซียมควรมากกว่า 250 พีพีเอ็ม แมกนี เซียมควรมากกว่า 400 พีพเี อ็ม และโพแทสเซียม ควรมากกว่า 150 พีพีเอ็ม เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณ และสัดส่วนของแร่ธาตุขึ้นอยู่กับความเค็มที่ใช้ เลี้ยงกุ้งด้วย

46


M

Market Leader

3. สภาพพื้นบ่อต้องสะอาด เนื่องจากในระหว่างการเลี้ยงจะมีการสะสม ของสารอินทรีย์ในบ่อ โดยเฉพาะที่พื้นบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากอาหารที่กุ้งกิน ไม่หมด ซากแพลงก์ตอน รวมทั้งขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมา เมื่อเกิดการย่อยสลายโดย แบคทีเรีย ก็จะท�ำให้เกิดสารที่เป็นพิษต่อกุ้ง เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ และก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น รวมทั้งท�ำให้กุ้งอ่อนแอ และติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้น เกษตรกรจะต้องเพิม่ ความระมัดระวังในการให้อาหาร เพราะถ้าให้อาหารเหลือมาก จนเกินไป นอกจากจะท�ำให้สิ้นเปลืองแล้วยังท�ำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ ทั้งในน�้ำ และตะกอนเลน ท�ำให้เกิดสารพิษดังกล่าวขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการก�ำจัด ตะกอนที่พื้นบ่อ โดยท�ำการสูบออกจากหลุมกลางบ่อเก็บในบ่อทิ้งเลนที่แยกเป็น สัดส่วน ร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยย่อยสลายของเสีย เช่น ไบโอทริม ไบโอรีดอกซ์ หรือซุปเปอร์พเี อส (ใช้ตามปริมาณทีแ่ นะน�ำของผลิตภัณฑ์) และติดตามคุณภาพน�้ำอย่างใกล้ชิดเป็นประจ�ำทุกวัน การสูบของเสียออกจาก บ่อเลีย้ ง และการใช้จลุ นิ ทรีย์ ต้องท�ำตัง้ แต่ชว่ งต้นของการเลีย้ งต่อเนือ่ งไปจนกระทัง่ วันที่จับกุ้ง จะเห็นได้วา่ การป้องกันโรคตัวแดงดวงขาวนัน้ อยูใ่ นวิสยั ทีเ่ กษตรกรผูเ้ ลีย้ ง กุง้ สามารถควบคุมความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้เกือบทัง้ หมด แต่สงิ่ ทีส่ ำ� คัญคือ เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องให้ความส�ำคัญ และใส่ใจกับระบบไบโอซีเคียวอย่างเต็มที่ มีการ วางแผน และเตรียมความพร้อมในการเลี้ยง รวมทั้งลดโอกาสที่ท�ำให้กุ้งในบ่อเกิด ความเครียดโดยการสร้างสภาพแวดล้อมในบ่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งตลอด ระยะเวลาการเลี้ยง ถ้าสามารถปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว เชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถ ลดความเสีย่ งของการเกิดโรคตัวแดงดวงขาว และประสบความส�ำเร็จในการเลีย้ งกุง้ ได้อย่างแน่นอน

47

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

ความท้าทาย และประเด็นต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง:

ประสบการณ์ของไทย ในงานชริม ้ ป์ 2019

“ปัญหาที่เราเผชิญในอดีต ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องร้าย มันก็เป็นเรื่องร้าย แต่ถ้าเรามองเป็นเรื่องดี ก็ถือว่า มันสอนเราเยอะมาก เราได้ต่อสู้กับหลายๆ สิ่ง ดังนั้น โรคต่างๆ ที่กล่าวมา เราก็ต่อสู้กับมันมาได้ตลอด แก้ไขได้ตลอด ซึ่งมันท�ำให้เรา ได้พัฒนาตัวเองอยูต ่ ลอดเวลา” ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย  นายกสมาคมกุ้งไทยกล่าว

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย ได้รบั เกียรติรว่ มบรรยายในหัวข้อความท้าทายและประเด็นต่างๆ ในการเพาะเลีย้ งกุง้ : ประสบการณ์ ของไทย (Shrimp Aquaculture Challenges and Issue: The Thai Experience) ในงาน นิทรรศการการแสดงสินค้าและการประชุมการค้ากุง้ โลก หรือชริม้ ป์ 2019 (Shrimp 2019) ซึง่ จัดขึน้ โดย อินโฟฟิช (Infofish) ร่วมกับกรมประมง องค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลีย้ งสัตว์นำ�้ แห่งเอเซียและ แปซิฟิก (The Network of Aquaclture Centers in Asia - Pacific: NACA) และสมาคมกุ้งไทย ภายใต้แนวคิด โมเดลเพือ่ ความยัง่ ยืน “Modelling for Sustainability” ในวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรม เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ซึ่งการบรรยายดังกล่าวมีความน่าสนใจเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมกุ้งไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และทิศทางของ อุตสาหกรรมกุ้งไทยในอนาคต จึงสรุปมาน�ำเสนอดังนี้ ่ : วารสารข่าวกุ้ง ปี ที่ 31 ฉบับที ่ 376 เดือนพฤศจิกายน 2562 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

48


M

Market Leader

ประเทศไทยเริ่มเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาในปี 2529 ซึ่งในขณะนั้น เป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำเป็น หลัก จนกระทั่งปี 2546 เริ่มมีการเลี้ยงกุ้งขาว แพร่หลายมากขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปัญหาจากโรคกุ้งได้รบกวน และสร้างผลกระทบ ต่อผลผลิตกุ้งไทยมาโดยตลอด อาทิ ปี 2535 พบโรคหัวเหลือง (YHV) ปี 2538 เกิดโรคตัวแดง ดวงขาวระบาด (WSSV) ปี 2541 เกิดโรคขี้ขาว ปี 2546 พบโรคทอร่า (TSV) และในปี 2554 มีรายงานว่าพบโรคอีเอ็มเอส (EMS) หรือโรค ตายด่วน ในประเทศไทย และได้แพร่ระบาดอย่าง รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตกุ้งไทยลดลงกว่าครึ่ง เหลือเพียง 230,000 ตัน จากที่เคยผลิตได้สูงสุด 600,000 ตัน และคาดว่าผลผลิตปีนี้จะอยู่ที่ ประมาณ 290,000 - 300,000 ตัน ประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤตเหล่านี้มาได้ เป็นเพราะอุตสาหกรรมกุ้งไทยได้รับความร่วมมือ และการสนั บ สนุ น ที่ เ ข้ ม แข็ ง จากทุ ก ภาคส่ ว น ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาครัฐ กรมประมง ภาคเอกชน สมาคม - ชมรม สถาบัน

การศึกษา/สถาบันวิจัยต่างๆ มาร่วมมือกันแก้ ปัญหา มีโมเดลการเลี้ยงที่ดี/มีเทคนิคการเลี้ยง ที่มีประสิทธิภาพต่างๆ เช่น แนวทาง 3 สะอาด ระบบไบโอฟลอค ระบบน�้ำหมุนเวียน (RAS) ร่วมกับการมีระบบไบโอซีเคียวที่เข้มข้น ที่ส�ำคัญ มีการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้ง - ลูกพันธุ์กุ้งที่ดีเยี่ยม ซึ่งเกิดจากการลงทุนวิจัยศึกษาและพัฒนาด้าน การปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งของภาคเอกชน ด้าน เกษตรกรไทยมีความสามัคคี และมีประสิทธิภาพ ในการผลิ ต กุ ้ ง ผู ้ ป ระกอบการห้ อ งเย็ น และ โรงงานแปรรูป มีกระบวนการผลิตทีท่ นั สมัย และ มีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมกุ้ง ไทยตั้งแต่ปี 2529 - 2562 มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ ปี 2533 เรื่อง TEDs ปี 2534 เรื่องการ ท�ำลายป่าชายเลน ปี 2536 เรื่องยาปฏิชีวนะ (ญี่ปุ่น) ปี 2540 ปัญหาจีเอสพี (GSP) โดนตัด สิทธิร้อยละ 50 และในปี 2542 โดนตัดสิทธิ ทั้งหมด ต่อมาปี 2549 - 2556 ไทยได้คืนสิทธิ อีกครั้ง หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน โดนถอนสิทธิ

รูปที่ 1 โรคที่เป็นปัญหาต่อการเลี้ยงกุ้งของไทยตั้งแต่ปี 2529 - 2562

49

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

รูปที่ 2 จุดแข็งของอุตสาหกรรมกุ้งไทยที่ท�ำให้สามารถฝ่าวิกฤตต่างๆ ไปได้

รูปที่ 3 ประเด็นปัญหาของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ตั้งแต่ปี 2529 - 2562

จีเอสพี ท�ำให้กุ้งสดต้องเสียภาษีร้อยละ 12 และ ร้อยละ 20 ส�ำหรับกุ้งปรุงสุก นอกจากนี้ ในปี 2546 ประเทศไทยเจอปัญหาเรือ่ งยาปฏิชวี นะ (อีย)ู ซึ่งก�ำหนดว่าต้องเป็นศูนย์ (Zero - Tolerance) และอุปสรรคปัญหาทีย่ งั ต้องเผชิญต่อไปเช่น การใช้ ปลาป่น ไอยูยู ปัญหาแรงงาน เป็นต้น ส�ำหรับการส่งออกกุ้งของไทย มีสัดส่วน ลดลงในตลาดสหรัฐฯ และอียู และมีส่งออกที่ เพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น และตลาดอื่นๆ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

จากปัญหาที่อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องเจอ หลากหลายรูปแบบ ท�ำให้เราต้องท�ำงานกับหน่วย   -    งานอื่นๆ หลายหน่วยงานร่วมกัน ต้องสร้างความ ร่วมมือในการแก้ปัญหา ซึ่งก็ได้รับความรู้จาก กรมประมง เรายังโชคดีที่มีบริษัทเอกชนที่ลงทุน ในด้านการพัฒนาสายพันธุ์ ซึ่งตลอด 10 ปีที่ ผ่านมา ได้พัฒนาสายพันธุ์ให้เจริญเติบโตเร็ว มี อัตราการเจริญเติบโตจาก 0.2 เป็น 0.4 เรามีการ พัฒนาพันธุ์ของเราเองซึ่งมีการเจริญเติบโตที่เร็ว

50


M

Market Leader

ยิ่งขึ้น และมีความต้านทานโรคได้ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ท�ำให้เราได้เปรียบ ในขณะที่ กุ้งประเทศอื่นอาจมีข้อจ�ำกัดและไม่สามารถท�ำไซส์ใหญ่ได้ แต่กุ้งไทย มี ป ั จ จั ย ที่ เ อื้ อ ฯ ซึ่ ง อาจเป็ น จุ ด เปลี่ ย นให้ ป ระเทศไทยเป็ น ผู ้ ผ ลิ ต กุ ้ ง ไซส์ใหญ่ (มากกว่า 40 กรัม) ได้ ในเรื่องยาปฏิชีวนะต้องย�้ำว่า ยาไม่สามารถรักษาโรคที่เกิดจาก ไวรัส ปรสิต ไมโครสปอริเดียได้ และจากการใช้ยาปฏิชีวนะซ�้ำๆ ในการรักษาโรคแบคทีเรีย จะก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา แนวทาง ปั จ จุ บั น ต้ อ งหั น มาใช้ ร ะบบการป้ อ งกั น ไบโอซี เ คี ย วที่ เ คร่ ง ครั ด การเลี้ยงกุ้งโดยใช้โปรไบโอติก จะเป็นแนวทางที่ดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมทั้ง การท�ำการอนุบาลลูกกุ้งเพื่อท�ำให้ระยะเวลาการเลี้ยงกุ้งสั้นลง อุตสาหกรรมกุ้งไทยเน้นว่าต้องท�ำกุ้งไซส์ใหญ่ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง มีมาตรฐานอาหารปลอดภัยในระดับสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความยั่งยืน และมีจริยธรรมในการด�ำเนินธุรกิจ แนวโน้มของอุตสาหกรรมกุ้งไทยในอนาคต จะเปลี่ยนจากการผลิตที่เน้น เชิ ง ปริ ม าณ เป็ น การผลิ ต โดยเน้ น คุ ณ ภาพ มี ค วามปลอดภั ย ด้ า นอาหาร มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

51

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

ฮ่องกง ผวา หมูจีน น�ำเข้าจากไทยเพิ่ม 2,000%

"ฮ่องกงขาดแคลน เนื้อหมูบริโภค หลังอหิวาห์แอฟริกา ระบาดในจีน หันน�ำเข้าจาก อาเซียนเพิ่ม ไทยได้อานิสงส์ส่งออก โตเกือบ 2,000%"

ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ ฮ่องกง รายงานโดยอ้างอิงข้อมูล ของหนังสือพิมพ์ South China Morning Post ว่า จากที่ฮ่องกงประสบปัญหาการขาดแคลนเนื้อ หมู เนื่องจากการตรวจพบโรคอหิวาต์แอฟริกัน ในสุกร (ASF) ในจีนแผ่นดินใหญ่ และระงับ การขนส่งสุกรมีชีวิตนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งทางฮ่องกงพยายามแก้ปัญหา โดยหา แหล่งน�ำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยเฉพาะการส่งออกจากไทย ซึ่งพบ ว่าในเดือนสิงหาคม 2562 การส่งออกเนื้อหมู ของไทยไปฮ่องกงเพิ่มขึ้น 40% (ตามข้อมูลจาก สมาคมผูเ้ ลีย้ ง สุกรแห่งประเทศไทย) ขณะทีส่ ถิติ จาก World Trade Atlas เมื่อเปรียบเทียบเดือน ต่อเดือนในปี 2562 จะเห็นว่า ในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 241% และก้าวกระโดดเป็น 418% ในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ภาพรวมการน�ำเข้าของปี 2562 (ม.ค. - พ.ย.) ฮ่องกงน�ำเข้าประเภทหมูสด/ แช่เย็น จากไทย มูลค่า 8.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 1,945% จาก ปี 2561

่ : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

52


M

Market Leader

จากการส�ำรวจตลาดของ สคต. ฮ่องกง พบว่า มีการน�ำเข้าจากไทยเพิม่ ขึน้ ในห้างซุปเปอร์ มาร์เก็ต ระดับกลาง และสูง ได้แก่ Park N Shop, Wellcome และ V.C. Meat Processing Ltd. (ซึ่งบริษัทนี้ได้ผลการเจรจาสั่งซื้อสินค้าโดยการ แนะน� ำ ผ่ า น สคต. ฮ่ อ งกง ตั้ ง แต่ ป ลายเดื อ น สิงหาคม 2562) นอกจากนี้ ยังมีการน�ำเข้าจาก ผู้ส่งออกไทยรายใหญ่ อาทิ เบทาโกร และ ซีพี ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเนื้อหมูไทยเป็นอย่าง มาก การน�ำเข้าหมูมีชีวิตโดยหน่วยงาน The Food & Health Bureau มีการเฝ้าระวังอย่าง เข้มงวด และร่วมมือกับหน่วยงาน Customs and Excise Department เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ เนื้อหมูที่เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรเข้าไปยัง ฮ่องกง

จากสถิติหลายปีที่ผ่านมา ฮ่องกงบริโภค หมูจ�ำนวน 1.5 ล้านตัว และน�ำเข้าหมูมีชีวิตจาก จีนแผ่นดินใหญ่ ประมาณ 4,000 ตัวต่อวัน แต่ ปัจจุบนั ฮ่องกงน�ำเข้าจากจีนลดลง คงเหลือจ�ำนวน 1,324 ตัวต่อวัน (ล่าสุด 9 ธ.ค. 62) ผลจากการ ขาดแคลนหมูสดท�ำให้ราคาสูงขึ้นจากเดิม 75.7 ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อกิโลกรัม (ม.ค. 62) เป็น 159 ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อกิโลกรัม (ธ.ค. 62) ปกติชาวฮ่องกงนิยมบริโภคเนื้อหมู/เนื้อวัว เฉลีย่ 0.66 กิโลกรัมต่อวัน โดยการปรุงต้มน�ำ้ ซุป เป็นส่วนใหญ่ และนิยมซื้อหมูสดจากพ่อค้าแผง ในตลาดสด จากผลกระทบด้านราคาที่สูงขึ้นกว่า เท่าตัวท�ำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อเนื้อ หมูแช่เย็น/แช่ แข็งในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าทีข่ ายของช�ำ ที่ขายเนื้อสัตว์น�ำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ไทย อเมริกา ออสเตรเลีย และมาเลเซีย โดยความ เชื่อถือเรื่องความปลอดภัย/คุณภาพที่ไม่พบโรค อหิวาต์ฯ

53

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

พลิกฟื้นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ

ทางเลือกอุตสาหกรรมสัตว์น�้ำ

อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งขาวในปีนี้ ตั้งแต่ต้นปีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน “ราคายังไม่ดีขึ้น และมีโรครบกวนตลอด” เนื่องจากมีฝนตกตลอดทั้งปี พบว่า เกษตรกรยังคงประสบปัญหากุ้งโตช้าแทบทุกพื้นที่การเลี้ยงจากการติดเชื้อ ไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) หรือเชื้ออีเอชพี จะเห็นได้ว่า ทิศทาง อุตสาหกรรมกุ้งไทยคือเน้นการเลี้ยง และการส่งออกกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) เป็นหลัก และยังคงประสบปัญหาในเรื่องของราคาและโรคอยู่ แต่การเลีย้ งและส่งออกกุง้ กุลาด�ำ (Penaeus monodon) กลับมีนอ้ ย หากแต่ ตลาดสหภาพยุโรป และจีน ยังมีความต้องการกุ้งกุลาด�ำอีกมาก แม้จะมีราคาสูง แต่กเ็ ป็นทีน่ ยิ มในตลาดมากเพราะมีเนือ้ แน่น และสีสนั สวยงาม โดยเฉพาะในวงการ ภัตตาคาร และโรงแรมชั้นน�ำ อีกทั้งผู้บริโภคที่มีก�ำลังซื้อสูง เน้นของดี มีคุณภาพ กุ้งกุลาด�ำจากประเทศไทยเป็นที่รู้จักดีในตลาด และยังมีช่องทางตลาดอีกมาก ที่ผ่านมากุ้งกุลาด�ำไม่สามารถเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ได้ ต้องจับจากธรรมชาติ ในทะเล แม้ว่าจะมีการคัดกรองโรค แต่ลูกกุ้งที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติมักมี ปัญหาด้านการผลิต คือ โตช้า และมีการตายเรื้อรัง แต่ขณะนี้ทางกลุ่มธุรกิจ สัตว์น�้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีนโยบาย จะผลักดันการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำให้กลับมาอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันซีพีเอฟสามารถ พัฒนาสายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาด�ำได้ส�ำเร็จ และส่งเสริมการเลี้ยงให้มากขึ้น จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรหันกลับมาเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำเพื่อส่งออก ให้มากขึ้นต่อไป

่ : วารสารข่าวกุ้ง ปี ที่ 31 ฉบับที ่ 377 เดือนธันวาคม 2562 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

54


M

Market Leader

เปิดตัวลูกกุ้งกุลาด�ำสายพันธุ์ CP ที่พัฒนาพ่อแม่พันธุข ์ ึ้นมาเอง

ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของสายพันธุ์ กุ้งกุลาด�ำ ซีพีเอฟ ได้ลงทุนด้านการพัฒนาการ เลีย้ งกุง้ กุลาด�ำปลอดโรคทีไ่ ด้จากการเลีย้ ง ท�ำให้ได้ ลูกกุ้งที่แข็งแรง ปลอดเชื้อไวรัส มีความต้านทาน โรค อัตรารอดสูง อัตราการเจริญเติบโตดี โดยมี ศูนย์กลางการผสมสายพันธุต์ งั้ อยูท่ ี่ ศูนย์ไบโอเทค จังหวัดจันทบุรี และมีโรงเพาะฟักพ่อแม่พันธุ์กุ้ง อยูท่ จี่ งั หวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร ลูกกุ้งซีพีเอฟ พัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาด�ำ ของบริษัทเอง จากพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรง ส�ำหรับ “ลูกกุ้งสะอาด” คือปลอดจากเชื้อต่างๆ เริ่มจาก พ่อแม่พันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญ ที่มีผลต่อความ ส�ำเร็จของการเลีย้ งกุง้ เกษตรกรควรพิจารณาเลือก ใช้ลูกกุ้งที่มาจากโรงเพาะฟักที่ได้มาตรฐาน พ่อ แม่พันธุ์ต้องปลอดเชื้อ กระบวนการผลิตในโรง เพาะฟักนั้นจะต้องให้ความส�ำคัญกับระบบไบโอ -  ซี เ คี ย วเพื่ อ ป้ อ งกั น การปนเปื ้ อ นของเชื้ อ ในทุ ก ขั้นตอนของการผลิต อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ ซีพีเอฟยังปรับปรุง สายพันธุ์กุ้งกุลาด�ำอย่างต่อเนื่องด้วยการผสม เทียม เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้โตเร็ว ต้านทานโรค ขึ้น ยังต้องใช้เวลาพัฒนาไปเรื่อยๆ โดยปัจจุบัน กุ้งกุลาด�ำขนาด 20 - 30 ตัวต่อกิโลกรัม ใช้เวลา เลีย้ งประมาณ 120 วัน และตัง้ เป้าหมายสายพันธุ์ ที่สามารถเลี้ยงได้ขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัม ใน เวลาไม่เกิน 90 วัน โอกาสการเลีย ้ งกุ้งกุลาด�ำ ทศวรรษใหม่

สืบเนื่องจากการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาด�ำ ของซีพีเอฟที่เกษตรกรสามารถมั่นใจในคุณภาพ

ของลู ก กุ ้ ง ที่ ส ะอาด ปลอดเชื้ อ มี อั ต ราการ เจริญเติบโตที่ดี และให้อัตรารอดที่สูง ภายใต้ กระบวนการผลิตจากโรงเพาะฟักที่ได้มาตรฐาน ตอนนี้ทางซีพีเอฟ อยู่ระหว่างพัฒนาและทดลอง เลีย้ งกุง้ กุลาด�ำในบ่อพีอี โดยได้ทดลองเลีย้ งในพืน้ ที่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก (จ.สมุทรสงคราม จ.ฉะเชิงเทรา จ.จันทบุรี จ.ระยอง และ จ.ตราด) ดังนั้น การเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำให้ประสบความส�ำเร็จ จึงไม่ใช่สงิ่ ทีย่ ากอีกต่อไป โดยเกษตรกรควรมีการ จัดการที่ดีในการเลี้ยงกุลาด�ำเบื้องต้น ดังนี้ 1. ใช้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพ โดยเลือกลูกพันธุ์ ที่มาจากโรงเพาะฟักที่มีกระบวนการผลิตที่ได้ มาตรฐาน เพือ่ ให้ได้ลกู กุง้ ทีป่ ลอดโรค มีอตั ราการ เจริญเติบโตที่ดี เท่าที่ผ่านมา ผู้เลี้ยงกุ้งมักจะ นิยมปล่อยลูกกุ้งอัตราความหนาแน่นที่สูงมาก ที่ 150,000 - 250,000 ตัว/ไร่ การเลี้ยงจากการ ไต่ถามผู้เลี้ยงกุ้ง ที่ปล่อยอย่างนี้ก็เพราะเผื่อลูก กุ้งตาย จ�ำนวนการติดของลูกกุ้งน้อย ซึ่งสาเหตุ อันนี้ เนื่องจากคุณภาพลูกกุ้งที่ผ่านมาไม่ดีเท่าที่ ควร การปล่อยลูกกุง้ หนาแน่นเกินไปมักพบอาการ กุ้งแตกไซส์ และมักจะพบว่าอัตรารอดของลูกกุ้ง ต�ำ่ ดังนัน้ การปล่อยลูกกุง้ ทีเ่ หมาะสม ที่ 50,000 70,000 ตัวต่อไร่ ซึง่ หากผูเ้ ลีย้ งเลือกพันธุท์ ดี่ ี และ ปล่อยลูกกุ้งตามที่กล่าวมา จะไม่พบการแตกไซส์ ของกุ้ง มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี และมีอัตรา รอดสูง 2. ใช้อาหารที่มีคุณภาพ การใช้อาหารที่ มีคุณภาพดี หมายถึง ใช้อาหารปริมาณน้อยแต่ ได้ “ค่าอัตราการแลกเนื้อดี” อาหารที่มีคุณภาพ ต�่ำจะมีผลท�ำให้กุ้งโตช้ากว่าปกติ และยังต้องเสีย เวลาเลี้ยงนานมากกว่า แล้วยังจะท�ำให้ของเสีย ที่พื้นบ่อเกิดสะสมขึ้นในบ่อเป็นจ�ำนวนมาก มีผล ต่อคุณภาพน�้ำและสิ่งแวดล้อมภายในบ่อ โดย

55

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

การจัดการคุณภาพน�้ำ คุณภาพน�้ำ และ พื้นบ่อที่ไม่ดี จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญ เติบโต และสุขภาพของกุ้งกุลาด�ำได้ ท�ำให้กุ้ง อ่อนแอ ส่งผลต่ออัตรารอด และผลผลิตทีไ่ ด้ ดังนัน้ เกษตรกรจะต้องเฝ้าติดตามและควบคุมคุณภาพ น�้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงอย่างสม�่ำเสมอ ซีพีเอฟเองได้มีการพัฒนาอาหารเฉพาะส�ำหรับ กุ้งกุลาด�ำ เป็นอาหารที่มีโภชนาการสูง มีสาร ดึงดูดให้กงุ้ เข้ามากินอาหาร มีโปรตีนสูง เหมาะสม ส�ำหรับกุ้งในแต่ละช่วงอายุ เพื่อช่วยให้กุ้งแข็งแรง มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ตั้งแต่ระยะลูกกุ้ง กุ้ง ขนาดเล็ก และกุง้ ระยะเติบโตจนถึงระยะเก็บเกีย่ ว ผลผลิต การให้อาหาร ปรับเพิม่ ลดปริมาณอาหาร อย่างเหมาะสมตามขนาดและอายุของกุ้ง และ ตามพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้ง จึงจะท�ำให้ ได้ผลดีเต็มที่ 3. มี ก ารจั ด การที่ เ หมาะสม ในด้ า น การเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำต้องมีการจัดการที่ดี ตั้งแต่ กระบวนการเตรียมบ่อ และการเตรียมน�้ำที่ดี จะ ต้องท�ำความสะอาดพื้นบ่อเพื่อก�ำจัดที่อยู่ และ อาหารของเชื้อก่อโรค พื้นพีอีจะต้องไม่รั่ว ท�ำการ ส�ำรวจรอยรั่ว หรือรอยตามด และต้องท�ำการอุด รอยรั่วให้หมด น�้ำส�ำหรับการเลี้ยงกุ้งจะต้องผ่าน กระบวนการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน เป็นน�้ำที่สะอาด ปราศจากเชื้อก่อโรค สิ่งที่ส�ำคัญคือ ต้องมีการ เก็บตัวอย่างดิน และน�ำ้ ไปตรวจเชือ้ ก่อโรคไมโคร -   สปอริเดีย และเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคอีเอ็มเอส เพือ่ รับรองคุณภาพการเตรียมบ่อ และการเตรียม น�้ำ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

การจัดการของเสียพื้นบ่อ การสะสมของ สารอินทรีย์ที่หมักหมมบริเวณพื้นบ่อที่เกิดจาก อาหารเหลือ ขี้กุ้ง ซากกุ้ง คราบเปลือกกุ้ง และ อื่นๆ อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรค ดังนั้น เกษตรกรจะต้องให้ความส�ำคัญกับการก�ำจัดของ เสียบริเวณพื้นบ่อ โดยมีหลุมรวมเลน การดูด ของเสียที่มีประสิทธิภาพจะต้องจัดวางเครื่องตีน�้ำ ให้สามารถรวมของเสียไว้ที่บริเวณหลุมรวมเลน ให้ได้ และท�ำการดูดทิ้งออกไปยังบ่อเก็บเลน โดย ต้องท�ำอย่างต่อเนื่องทุกวันตั้งแต่วันแรกที่ลงกุ้ง จนถึงวันที่จับกุ้ง ตลาดของกุ้งกุลาด�ำ

เนื่องจากคุณลักษณะในด้านรสชาติ หวาน ต้มแล้วสีแดงเข้ม ขายได้ราคาดี และเนื้อสัมผัส ที่ แ ตกต่ า งจากกุ ้ ง ขาว กุ ้ ง กุ ล าด� ำ จึ ง ยั ง มี ค วาม ต้องการบริโภคของตลาดทั้งภายในประเทศ และ ต่างประเทศ เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น เป็นต้น ท�ำให้ปัจจุบันประเทศไทย มีโอกาสในการก้าวสู่เจ้าตลาดกุ้งกุลาด�ำรอบใหม่ ด้วยการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาด�ำที่มีคุณภาพ มี อาหารที่ดี มีเทคโนโลยีการบริหารจัดการฟาร์ม ที่ดี ย่อมจะส่งผลให้เกษตรกรที่หันกลับมาเลี้ยง กุ้งกุลาด�ำประสบความส�ำเร็จและได้ก�ำไรจากการ เลี้ยงกุ้งอย่างแน่นอน เพื่อจะช่วยกันสร้างโอกาส ให้กุ้งไทยกลับมาใหม่อีกครั้ง

56


สินค้ำ คุณภำพ สำหรับปศุสตั ว์ไทย      

ผลิตจำกเมล็ดถัว่ เหลื องเกรดอำหำรสัตว์ 100% อุดมด้วยกรดไขมันไม่อ่ ิมตัวซึ่งจำเป็ นต่อกำรเจริ ญเติบโตของสัตว์ ควบคุมกำรผลิตด้วยเทคโนโลยี และเครื่ องจักรที่ทนั สมัย โปรตีน ไม่ต่ ำกว่ำ 36% ไขมัน ไม่ต่ ำกว่ำ 18% เมทไธโอนี น มำกกว่ำ 5,000 ppm ไลซีน มำกกว่ำ 6 กรัม/100 กรัมโปรตีน

สินค้ำ Premium Grade รับรองมำตรฐำน GMP & HACCP

บริษทั ยูนีโกร อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด 120 หมู ่ 4 ตำบลสำมควำยเผื อก อำเภอเมื อง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร. 0-3430-5101-2, 0-3439-5209 แฟกซ์ 0-3430-5103

www.unigrointer.com,

e-mail : unigro_inter@hotmail.com



M

Market Leader

ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม

ในอาหาร และ วัตถุดิบอาหารสัตว์

อี กหัวข้อสั มมนา “ทั น โลกทั น เหตุ ก ารณ์ อ าหารสั ต ว์ แ ละวั ต ถุ ดิ บ 2563” ของ สมาคมนิ สิ ต เก่ า สั ต วแพทยศาสตร์ม หาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มู ล นิ ธ ิศ าสตราจารย์ ดร.จัก ร พิ ชัย รณรงค์ ส งคราม และคณะสั ต วแพทยศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ที่น่าสนใจก็คือเรื่อง “อาหารและวัตถุดิบอาหารสัตว์ กับความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม” โดยหัวข้อนี้ได้รบั เกียรติจาก รศ.ดร.ยุวเรศ เรืองพานิช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน มาบรรยาย

รศ.ดร.ยุวเรศ กล่าวว่า ในฐานะที่เราอยู่ในวงจรปศุสัตว์ที่ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคของ มนุษย์ จะเห็นได้วา่ ขัน้ ตอนของการผลิตทีเ่ ริม่ ตัง้ แต่วตั ถุดบิ อาหารสัตว์ซงึ่ เป็นต้นน�ำ้ ทีจ่ ะใช้ผลิต อาหารสัตว์นั้น หากพูดถึงเรื่องโภชนาการส่วนใหญ่ที่เราพูดคุย เรามักจะคุยในเรื่องของ คุณค่าทางโภชนะ คือ คุยว่าวัตถุดิบตัวนี้ให้คุณค่าทางโภชนะอะไร และเป็นประโยชน์ ต่อสัตว์อย่างไร เพราะสิง่ นัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ราคาดหวัง และสัมพันธ์กบั ความคุม้ ค่าในการทีเ่ รา จะน�ำไปใช้เลี้ยงสัตว์ แต่อีกด้านหนึ่งที่ส�ำคัญไม่แพ้กันนอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนะ นั่นคือเรื่องของสิ่งปลอมปนที่ติดมากับวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มี อิทธิพลต่อการผลิตอาหารสัตว์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะส่งผลต่อตัวสัตว์ อย่างไรก็ตาม หากแบ่งกลุม่ วัตถุดบิ อาหารทีม่ กี ารปลอมปน สารทีม่ คี วามเสีย่ งเหล่านีจ้ ะแบ่งออก ได้เป็น 3 กลุ่มคือ ความเสี่ยงในเชิงกายภาพ ความเสี่ยงในเชิงเคมี และความเสี่ยงในเชิงชีวภาพ โดยเฉพาะความเสี่ยงในเชิงเคมี และความเสี่ยงในเชิงชีวภาพค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เพราะเป็นสิ่งที่ มองไม่เห็น ขณะที่ความเสี่ยงในเชิงกายภาพเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถจัดการเอาออกได้ แต่ในเชิงเคมี และชีวภาพ ต้องอาศัยการตรวจสอบที่ลึกลงไปจึงจะทราบ ่ : สาส์นไก่ และ สุกร ปี ที่ 18 ฉบับที ่ 200 เดือน มกราคม 2563 ทีมา

57

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

ส�ำหรับแหล่งที่มาของความเสี่ยง อาจมา จากสภาพแวดล้อม มาจากช่วงของการเก็บรักษา เช่น สารพิษจากเชือ้ รามาจากการขนส่ง ซึง่ เรือ่ งนี้ ส�ำคัญไม่น้อย เพราะเป็นความเสี่ยงทางชีวภาพ ที่เกิดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่วนความเสี่ยง ในเชิงเคมี ที่ส�ำคัญคือ DDT หรือสารเคมีก�ำจัด แมลง กับไดออกซิน (Dioxins) โดยเฉพาะได -  ออกซิน สามารถเกิดได้ทั้งวัตถุดิบกลุ่มแร่ธาตุ และผลพลอยได้จากการผลิตวัตถุดิบอาหาร เช่น ปลาป่น น�้ำมันปลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะมันสะสมอยู่ในเนื้อไขมัน ถึงแม้จะพบใน อัตราทีต่ ำ�่ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่กอ่ ให้เกิด ปัญหา หากการสะสมนั้นเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา ที่ยาวนาน ดังนั้น เราจึงไม่ควรที่จะมองข้าม กรณีของ 3 สารเคมีที่ทางรัฐบาลก�ำลัง ด�ำเนินการแบนนัน้ ตามค่า MRLs ทีก่ ำ� หนด อาจ ไม่มีปัญหาในการใช้ แต่การที่รัฐบาลก�ำหนดให้ เป็นศูนย์ ก็จะกลายเป็นว่า ทัง้ ในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เราบริโภค เราจะมีทางออก อย่างไร ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่ ดังนั้น จึง เป็นเรื่องที่เราจะต้องคิดกันต่อไปว่าจะท�ำอย่างไร อย่างไรก็ดี การปลอมปนของสารทีม่ คี วามเสีย่ งนัน้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ไม่เฉพาะว่าเกิดจากการ ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ แต่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง กระบวนการผลิตในโรงงานด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งที่คนท�ำอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร สัตว์ จ�ำเป็นที่จะต้องท�ำ คือ คอยดูแลตรวจสอบ เครือ่ งไม้เครือ่ งมือ อุปกรณ์เครือ่ งจักรด้วย ใบรับรอง คุณภาพวัตถุดิบบางครั้งอาจจะไม่ได้การันตีความ ปลอดภัย หากแหล่งวัตถุดบิ นัน้ ไม่ได้ถกู ตรวจสอบ อย่างต่อเนือ่ ง เพราะฉะนัน้ ความแตกต่างของการ จัดการส่วนนี้ ก็มีโอกาสเกิดความเสี่ยงในระดับ ที่แตกต่างกันออกไปได้เช่นเดียวกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

ขณะที่ความเสี่ยงในเชิงชีวภาพ ที่ส�ำคัญ คือ การปนเปื้อนมัยโคทอกซิน หรือสารพิษจาก เชือ้ รา การปนเปือ้ นจุลนิ ทรียท์ เี่ ป็นกลุม่ ก่อโรค และ สุดท้ายคือ การปนเปื้อนที่เรามองว่า เราสามารถ จัดการมันได้ เป็นการปนเปื้อนที่เรารู้ว่ามันมากับ วัตถุดิบที่แน่นอน และเราเรียนรู้ที่จะจัดการมัน มาโดยตลอด แต่อย่าลืมว่า มันยังมีอีกบางแง่มุม ที่ท�ำให้สิ่งเหล่านี้อาจจะท�ำให้การใช้สารอาหารใน ส่วนของวัตถุดบิ หรือในอาหารทีเ่ ราผลิตมันเกิดได้ ไม่เต็มศักยภาพ และมีโอกาสทีจ่ ะส่งผลต่อสุขภาพ ในทางเดินอาหารของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันที่เราอาจจะงดใช้ยาปฏิชีวนะ จากการส�ำรวจของ บริษัท ไบโอมิน ใน วัตถุดบิ อาหารสัตว์ของไทย ประเทศทีม่ คี วามเสีย่ ง ในเรือ่ งของการปนเปือ้ น จากการส�ำรวจในข้าวโพด พบว่า มีการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา หรือ มัยโคทอกซิน ค่อนข้างสูง รวมถึง DDGS ที่มี ความเสี่ยงสูงเช่นกัน และที่น่าคิดก็คือว่า ปัจจุบัน วัตถุดบิ ทัง้ สองตัว ไม่ได้มกี ารปนเปือ้ นแค่อะฟลา ทอกซิน (aflatoxin) เท่านั้น แต่ยังมีการปนเปื้อน ตัวอื่นในระดับสูงเช่นกัน นอกจากนี้ ความเสี่ยง ในการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือไม่ได้หายไปไหน แต่มัน ยังคงอยู่ และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนการ ผลิต โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีขนาดฟาร์ม และ โรงงานผลิตที่มีความหลากหลาย ดังนั้น โอกาส ที่จะเกิดความเสี่ยงจึงมีสูง มาตรการการจัดการ บางครั้งอาจท�ำให้ไม่สามารถท�ำได้อย่างทั่วถึง นอกเหนือจากการที่เรามีโอกาสทราบว่า สารพิษจากเชื้อรามันสร้างปัญหาให้กับผลผลิต ทีอ่ ยูใ่ นฟาร์มแล้ว อีกสิง่ หนึง่ ทีเ่ ราต้องตระหนักเลย ก็คือ สารพิษจากเชื้อรา มีโอกาสที่จะถูกส่งต่อไป ยังผลิตภัณฑ์ที่เราบริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็น ตัวไข่

58


M

Photo: Cassi_pixabay

Market Leader

เนือ้ และอืน่ ๆ ทีบ่ ริโภค ดังนัน้ เราจึงมีความจ�ำเป็น ทีจ่ ะต้องตรวจสอบ และรูใ้ ห้เท่าทัน เพราะบางครัง้ สารพิษเหล่านีอ้ าจจะยังไม่พบเห็น หรือแสดงออก ในตัวสัตว์ จึงท�ำให้เราคิดว่ามันไม่มี แต่จริงๆ แล้ว มันยังคงมีอยู่ หรือแฝงตัวอยู่ในนั้นแล้วก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี หากเราจะมองปัญหาเรื่องของ สารพิษจากเชื้อราให้สัมพันธ์กับสุขภาพทางเดิน อาหาร จะพบว่าตัวสารพิษจากเชือ้ รา เช่น อะฟลา ทอกซิน นอกเหนือจากที่มันจะเกิดอุบัติการณ์ที่ ความผิดปกติในส่วนของร่างกายของสัตว์ สิ่งหนึ่ง ที่สารพิษอาจก่อปัญหาได้คือ การรั่วของทางเดิน อาหาร ซึ่งมีผลท�ำให้เกิดภาวะการอักเสบ สิ่งที่ ตามมาคือ ความสามารถในการย่อยของสัตว์ ส่ง ผลให้การใช้ประโยชน์จากอาหารไม่เต็มที่ โดย เฉพาะแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีน ที่ถือเป็นส่วนที่ ส�ำคัญในตัวสัตว์ เพราะฉะนั้นความชัดเจนของ โปรตีนที่อยู่ในอาหาร กับความสามารถในการใช้ ประโยชน์ของโปรตีนของตัวสัตว์ที่มาจากวัตถุดิบ อาหาร จึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความส�ำคัญ

แต่อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงความเสี่ยง ในเชิ ง ชี ว ภาพ อี ก เรื่ อ งที่ ส� ำ คั ญ นอกเหนื อ จาก สารพิษจากเชื้อรา นั่นคือ จุลินทรีย์ก่อโรค ซึ่ง มี 2 กลุ ่ ม คื อ กลุ ่ ม แบคที เ รี ย กั บ ไวรั ส โดย กลุ่มแบคทีเรีย ตัวเชื้อที่เราคุ้นเคยกันดี คือ ซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) กับ อีโคไล (E.Coli) ซึ่งมาจากทั้งสภาพแวดล้อม และการ สัมผัสโดยตรงของสัตว์ และการติดมากับยาน พาหนะในฟาร์ม ดังนั้น ในการควบคุมป้องกันที่ ผ่านมา เรามักจะใช้วธิ กี ารผ่านความร้อน แต่กไ็ ม่ได้ ผลเต็มร้อย เพราะอย่างที่กล่าวมาว่า สิ่งเหล่านี้ มีโอกาสเกิดขึน้ ได้ทกุ ขัน้ ตอนการผลิต ดังนัน้ การ ควบคุมป้องกัน จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องท�ำอย่างต่อเนือ่ ง ปัญหาที่ส�ำคัญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เมื่อปนเปื้อนเข้าไปในอาหารสัตว์ จะส่งผลต่อตัว สัตว์โดยตรง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น ท้องเสีย ขี้ไหล ถ่ายเหลว รวมถึงการใช้ประโยชน์จากสาร อาหารที่อยู่ในอาหารที่สัตว์กินเข้าไปลดน้อยลง เพราะระบบทางเดินอาหาร หรือสุขภาพของล�ำไส้

59

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

มีปัญหา ท�ำให้สัตว์เจริญเติบโตช้า กินได้ไม่เต็มที่ แต่สงิ่ ทีส่ ำ� คัญไปกว่านัน้ คือ อาหารทีส่ ตั ว์กนิ เข้าไป เมื่อระบบการย่อยมีปัญหา เศษอาหารที่ถูกส่งต่อ ไปยังล�ำไส้ส่วนปลาย จะก่อให้เกิดปัญหาตามมา อีกหลายๆ ปัญหา ไวรัส เป็นอีกตัวทีส่ ร้างปัญหา โดยสามารถ ปนเปื้อนในอาหารได้เช่นกัน ที่ชัดเจนคือ การ ระบาดของโรค PED ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสาเหตุ ก็มาจากมีวตั ถุดบิ ปนเปือ้ นเชือ้ ไวรัส จนน�ำไปสูก่ าร ระบาดของโรค PED นอกจากนี้ ยังมีรายงานที่ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ในส่วนของวัตถุดิบ ไม่ว่า จะเป็นข้าวโพด หรือถั่วเหลือง และวัตถุดิบตัว อืน่ ๆ ไวรัสสามารถปนเปือ้ นลงไปได้ในวัตถุดบิ หรือ ในอาหารนัน้ ๆ ในอัตราทีส่ งู พอสมควร โดยเฉพาะ ถัว่ เหลือง ทีม่ โี อกาสคงอยูข่ องเชือ้ ไวรัสค่อนข้างสูง กว่าวัตถุดิบตัวอื่นๆ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่ว่าเกิดกับ วัตถุดิบแล้วอยู่แค่ตรงนั้น แต่มันสามารถเคลื่อน ย้ายไปกับวัตถุดบิ เหล่านัน้ ไปยังปลายทาง ทีช่ ดั เจน คือ วัตถุดิบที่มีการปนเปื้อนเชื้อในประเทศจีน ได้ ถูกส่งต่อไปยังอเมริกา และที่อื่นๆ ดังนั้น ความ เสี่ยงดังกล่าว จึงไม่เลือกเฉพาะเจาะจงที่ใดที่หนึ่ง ตราบใดทีว่ ตั ถุดบิ เหล่านัน้ มีการปนเปือ้ นเชือ้ มันก็ มีโอกาสที่จะเคลื่อนย้ายไปยังปลายทางได้เสมอ ในกรณีของ PED มีที่มีสาเหตุจากวัตถุดิบจาก ประเทศจีน จนเกิดอุบตั กิ ารณ์ขนึ้ ในอเมริกา มีการ ยืนยันชัดเจนแน่นอน เพราะฉะนั้น ในบ้านเรา ก็มีโอกาสที่จะพบเช่นกันหากมีการน�ำเข้ามาใช้ ในส่วนของโรค ASF มีการพิสูจน์ออกมา แล้วว่า มีโอกาสทีเ่ ชือ้ จะส่งผ่านไปยังปลายทางโดย วัตถุดิบ ดังนั้นทั้ง PED และ ASF มันมีโอกาส ทีจ่ ะเจอ เพราะฉะนัน้ สิง่ เหล่านีจ้ งึ ชีใ้ ห้เห็นว่า พวก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

Photo: pnmralex_pixabay

เราอยูใ่ นสภาวะความเสีย่ ง นอกจากนี้ ยังมีโอกาส ติดผ่านทางน�้ำ และอากาศ แต่การติดต่ออาจขึ้น อยู่กับจ�ำนวนครั้ง หรือความถี่ที่สัตว์สัมผัส หรือ ดื่มกิน ถึงแม้ปริมาณเชื้อจะมากแต่ถ้าความถี่ ในการรับเชื้อมีน้อยครั้ง ก็อาจไม่ส่งผลกระทบ อะไร ในทางตรงกันข้าม แม้ปริมาณเชื้อจะมีน้อย แต่ถ้าความถี่ในการรับเชื้อมีมากครั้ง ก็อาจท�ำให้ สัตว์ติดเชื้อได้มากเช่นกัน ประเด็นสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ สารพิษ ที่มีอยู่ในตัววัตถุดิบอยู่แล้ว เช่น ไซยาไนด์ (Cya nides) ในมันส�ำปะหลัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผล กระทบในส่วนของสารอาหารกลุ่มแร่ธาตุ และ โปรตีน การจัดการทีผ่ า่ นมามีการจะใช้วธิ กี ารผ่าน ความร้อน แต่ก็ไม่ใช่วิธีที่สามารถก�ำจัดออกได้

60


M

Market Leader

หมด อีกตัวที่ส�ำคัญคือ ตัวที่ยับยั้งการท�ำงานของเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนในทางเดิน อาหาร ตัวนี้ถ้าเราพบในวัตถุดิบอาหารสัตว์ จะมีส่วนท�ำให้ตับอ่อนที่ท�ำหน้าที่ ในการสังเคราะห์เอนไซม์ต้องชดเชยด้วยการท�ำงานที่หนักมากขึ้น ท�ำให้เกิดการ ขยาย และท�ำให้การใช้ประโยชน์จากสารอาหารก็จะลดลง รวมถึงพลังงานจาก อาหารนั้นๆ ด้วย อาหารที่ไม่ได้ถูกดูดซึมไปใช้ประโยชน์ จะผ่าน ไปยังล�ำไส้ส่วนปลาย ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเชื้อแบคทีเรีย เมื่อ การหมักย่อยไม่สมบูรณ์ก็จะท�ำให้เกิดการอักเสบ ดังนั้น ในยุคที่เราต้องใช้วัตถุดิบมากมายในการ ประกอบสูตรอาหาร จ�ำเป็นที่เราจะต้องมีความแม่นย�ำ ในเรื่องของสูตรอาหารให้ถูกต้อง และเหมาะสม โดยเริ่ม ตัง้ แต่การคัดสรรวัตถุดบิ ผูร้ บั ผิดชอบส่วนนี้ ต้องตระหนัก ให้ดีว่าตรงนี้ส�ำคัญมากๆ ที่จะเป็นตัวคัดกรองสิ่งที่จะ เข้ามาให้มีโอกาสในการจะท�ำให้มันเกิดปัญหาน้อยที่สุด เพือ่ สร้างสูตรอาหารทีม่ คี วามปลอดภัย ส่วนคนประกอบสูตรอาหาร ก็ตอ้ งมีความ เข้าใจเนื้อในของวัตถุดิบ คือต้องมองให้ทะลุปรุโปร่ง ว่าองค์ประกอบของมัน คืออะไร เวลาที่ปรากฏอยู่ในอาหารที่ท�ำออกมา ที่ส�ำคัญต้องท�ำให้มันมีความ แม่นย�ำ ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สัตว์ได้น�ำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด สามารถลด ต้นทุน ตอบแทนกลับมาหาเราอย่างต่อเนื่อง

61

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

กรมการค้ากลับล�ำไม่คุมส่งออกหมู

ภัยแล้ง - โรคระบาดซ�้ำเติมราคาแพง อธิบดีกรมการค้าภายในกลับล�ำ “ไม่คุม ส่งออกหมู” หลังราคาหมูเป็นในประเทศพุง่ เกิน กก. ละ 80 บาท อ้างเป็นราคาส่งออก ปล่อย คนอีสาน - เหนือกินหมูแพง ทั้งๆ ที่ราคาของ สมาคมผูเ้ ลีย้ งหมู ระบุราคาหน้าฟาร์มพุง่ 81 บาท ไปแล้ว จาก 3 ปัจจัยหลักดันราคานิวไฮ “โรค ระบาด ASF - แห่ส่งออกหมูท�ำก�ำไร - ภัยแล้ง”

ริกันในสุกร (African Swine Fever หรือ ASF) ประกอบกับอยู่ในช่วงของเทศกาลตรุษจีน โดย ก่อนหน้านี้กรมการค้าภายในได้ออกมาประกาศ จะ “จ�ำกัด” หรือ “ห้าม” ส่งออกหมู หากราคา หมูเป็นหน้าฟาร์มสูงเกินกว่า กก. ละ 80 บาท

มีรายงานว่า สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้เผยแพร่สภาวะตลาดสุกรมีชีวิตประจ�ำวันพระ ที่ 17 มกราคม 2563 ปรากฏราคาสุกรมีชีวิต หน้าฟาร์มในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ปรับสูงขึน้ ไปเป็น กก. ละ 81 บาท จากงวด วันพระก่อนหน้าที่ราคา กก. ละ 78 บาท ขณะที่ ราคาเฉลี่ยในภาคอื่นอยู่ที่ระหว่าง 79 - 80 บาท ส่งผลให้ราคาหมูหน้าเขียงปรับขึ้นไปเป็น กก. ละ 156 - 162 บาท จากวันพระก่อนหน้าทีม่ รี าคาเพียง กก. ละ 160 บาท ถือเป็นการปรับสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากภาพรวมการส่งออก หมู มี ป ริ ม าณสู ง เพื่ อ ทดแทนความต้ อ งการหมู ในประเทศ ที่มีการระบายของโรคอหิวาต์แอฟ -

นายวิชยั โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การปรับเพิ่มขึ้นของราคาหมูเป็นขณะนี้ ที่ขึ้นไปถึง กก. ละ 81 บาทนั้น “เป็นราคาหมูเป็น เพื่อการส่งออกและเป็นราคาที่ไม่ใช่อยู่ในพื้นที่ เลี้ยงหลัก” จากสถานการณ์การระบาดของโรค อหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever หรือ ASF) ท�ำให้ราคาหมูในหลายประเทศเพิม่ ขึน้ เช่น ราคาหมูที่จีน กก. ละ 150 บาทต่อกิโลกรัม เวียดนาม กก. ละ 120 บาท ผลมาจากความ ต้องการเพื่อการบริโภค และน�ำเข้ายังมีต่อเนื่อง ซึ่ ง การที่ ร าคาหมู ส ่ ง ออกเพิ่ ม ขึ้ น ถื อ เป็ น โอกาส และสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง และผู้ส่งออก “เรา ก็ต้องให้โอกาสผู้เลี้ยงได้มีราคาสูงขึ้น”

เป็ นงง 81 บาทราคาหมูส่งออก

่ : ประชาชาติธุรกิจ อนนไลน์ วันพฤหัสที ่ 23 มกราคม 2563 ทีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

62


M

Market Leader

ส่วนราคาจ�ำหน่ายหมูช�ำแหละในประเทศ กรมฯ ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด โดยได้หารือกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ขอความร่วมมือให้ ราคาหมูเป็นที่ขายภายในประเทศในรัศมี 300 กิโลเมตรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่ให้ เกิน กก. ละ 80 บาท แต่หากราคาสูงเกินไป ก็สามารถ “จ�ำกัด” การส่งออกได้ โดยกรมฯ สามารถใช้กฎหมายภายใต้พระราชบัญญัตวิ า่ ด้วย ราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เข้ามาดูแลได้ ส่วนกรณีที่ราคาหมูเป็นในภาคอื่นปรับขึ้นไปเกิน กก. ละ 80 บาท ต้องดูด้วยว่า มาจากเรื่องของ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เช่น ค่าขนส่ง เพราะ หากจากการติดตามแล้ว ราคาหมูเป็นในพื้นที่ เลีย้ งจริงไม่ได้ปรับเพิม่ ขึน้ แต่ราคาทีส่ งู เป็นเพราะ ต้นทุนค่าขนส่ง และต้นทุนอืน่ ๆ “เราต้องยึดแหล่ง พื้นที่เลี้ยงภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่หลักเป็นเกณฑ์ ส่วนภาคอืน่ มีปริมาณเลีย้ งไม่มาก” นายวิชยั กล่าว ทัง้ นีร้ ายงานราคาหมูของกรมการค้าภายใน ประจ�ำวันที่ 20 มกราคม 2563 ปรากฏหมูเป็น มีชีวิตทั่วไป กก. ละ 74 - 75 บาท ราคาหมูเป็น หน้าฟาร์ม กก. ละ 75 - 76 บาท ขณะทีร่ าคาลูกหมู CP และราคาทั่วไปตัวละ 2,600 - 2,700 บาท เฉลี่ยน�้ำหนักต่อตัวอยู่ที่ 12 - 16 กิโลกรัม ส่วน

ราคาหมูช�ำแหละทั่วไปและหน้าฟาร์มเฉลี่ย กก. ละ 86 - 88 บาท ส่วนราคาหมูขายปลีก เช่น หมูเนื้อแดง สะโพก ไม่ได้ตัดแต่ง ราคา กก. ละ 145 - 150 บาท หากตัดแต่งแล้วเฉลี่ย กก. ละ 155 - 160 บาทต่อกิโลกรัม หมูเนือ้ แดง ไหล่ ไม่ได้ ตัดแต่ง ราคาเฉลีย่ กก. ละ 145 - 150 บาท ตัดแต่ง แล้ว กก. ละ 155 - 160 บาท ส่วนหมูเนื้อสันนอก และสันใน กก. ละ 160 - 165 บาทต่อกิโลกรัม ขณะทีส่ ำ� นักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด การณ์ต้นทุนการผลิตสุกรไตรมาส 4 ปี 2562 กรณีซื้อลูกสุกรเข้าขุนเฉลี่ยที่ 66.53 บาทต่อ กิโลกรัม กรณีผลิตลูกสุกรเองเฉลีย่ ที่ 64.32 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาสุกรขุนยังคงอยู่ในแดนบวก ต่อเนื่องจากผลกระทบของ ASF ในต่างประเทศ แต่ราคายังคง “ต�่ำสุด” ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งทาง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ณ วันที่ 17 มกราคม 2563 ระบุว่า ราคาหมูเป็นในแต่ละพื้นที่ ภาค ตะวันตก และภาคตะวันออก เฉลีย่ กก. ละ 79 บาท ส่วนภาคอีสาน และภาคเหนือ กก. ละ 81 บาท ภาคใต้ กก. ละ 80 บาท ขณะทีร่ าคาสุกรขุนมีชวี ติ หน้าฟาร์มเพื่อส่งออก กก. ละ 81 บาท เบทาโกรแชมป์ส่งออกหมู นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ ง สุกรแห่งชาติ กล่าวว่า สมาคมได้หารือกับกรม การค้าภายในแล้วว่า จะยังไม่มีการใช้มาตรการ ดูแลการส่งออก เนื่องจากปัจจุบันราคาที่ขยับขึ้น ไป กก. ละ 81 บาท เป็นราคาเพือ่ การส่งออกและ ราคาในเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่ง มีการเลี้ยงน้อย และมีต้นทุนค่าขนส่ง ดังนั้น ควร จะยึดราคาภาคกลาง และกรุงเทพฯ ที่มีสัดส่วน เกิน 50% ของทั้งประเทศเป็นหลัก

63

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


M

Market Leader

“เหตุ ที่ ร าคาหมู ข ยั บ สู ง ขึ้ น เป็ น ผลจาก ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ปัญหาภัยแล้ง ท�ำให้ต้อง หาน�้ำมาส�ำรองใช้ในฟาร์ม ต้นทุนโดยรวม ขยับ จาก 68 บาทขึ้นไปใกล้เคียงกับ 75 บาท และผล จากการระบาดของ ASF ท�ำให้เกษตรกรกังวล ลดปริมาณการเลี้ยงลง 15% เหลือปริมาณหมู 900,000 ตัว จากเดิมที่เคยมีปริมาณ 1 - 1.1 ล้าน ตัว ประกอบกับความต้องการใช้ในช่วงเทศกาล ตรุษจีนเพิ่มขึ้น แต่หลังจากนี้ทิศทางราคาน่าจะ อ่อนตัวลงบ้าง” อย่างไรก็ตาม การเพิม่ ปริมาณการเลีย้ ง หรือ การเพิ่มซัพพลายหมูในตลาด ยังขึ้นอยู่กับความ พร้อมของแต่ละฟาร์ม บางฟาร์มมีพ่อแม่พันธุ์เอง บางฟาร์มจะต้องน�ำเข้า ซึง่ เมือ่ น�ำเข้ามาแล้วจะต้อง เลี้ยงต่อไปอีก 1 ปีกว่าจะเป็นหมูขุน 1.5 ปี จึงจะ น�ำมาช�ำแหละขายได้ แต่สมาคมมัน่ ใจว่า ปริมาณ ซัพพลายหมูจะไม่ขาดแคลนแน่นอน ส่วนราคา เป็นไปได้ว่าจะทรงตัวระดับนี้ไปต่อเนื่องจนกว่า จะมีการเพิ่มปริมาณการเลี้ยงชุดใหม่ ส�ำหรับปริมาณการส่งออกสุกรสดแช่เย็น แช่แข็งในช่วง 11 เดือนแรก 2562 มูลค่า 703.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.89% เป็นการส่งออกไปยัง ตลาดฮ่องกงอันดับ 1 มีสดั ส่วนถึง 71.63% มูลค่า 503.8 ล้านบาท โดยบริษัทผู้ส่งออกที่ส่งออก ไปยังฮ่องกง 5 รายใหญ่ ได้แก่ บริษัท อาหาร เบทเทอร์ ซึง่ อยูใ่ นเครือเบทาโกร, บริษทั ไอ - ซีวาย ชยา, บริษัท กาญจนา เฟรซ พอร์ค, บริษัท วี.ซี. มีท โปรเซสซิ่ง ซึ่ง 3 รายนี้ เป็นผู้ประกอบการ รายใหญ่ใน จ.ราชบุรี และบริษัท ซี.พี.เมอร์ แชนไดซิ่ง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

ไม่เห็นด้วยจำ�กัดส่งออกหมู นายวิศษิ ฐ์ ลิม้ ลือชา ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนีจ้ นี  - ฮ่องกง มีความต้องการน�ำเข้า สินค้าอาหารจ�ำพวกเนื้อสัตว์มากขึ้น หลังเกิดการ ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร แต่หาก รัฐบาลจะใช้มาตรการ “จ�ำกัด” การส่งออกหมูเพือ่ รักษาเสถียรภาพราคาในประเทศก็ต้องประเมิน กันก่อน “ถ้าจะให้จ�ำกัดการส่งออกหมูเพื่อดูแล ราคาในประเทศ ก็ต้องดูว่า ปริมาณหมูของเรา เพียงพอหรือไม่ ส่วนที่เหลือจะเพิ่ม หรือขยาย ส่งออกได้ไหม เพราะในภาพของอุตสาหกรรม ต้อง มองอีกแง่ว่า เราส่งออกหมูได้มากขึ้นนั้น เพราะ สินค้าเกษตรเรามีมาตรฐานมากขึน้ เช่นกัน ผมมอง ว่ายังไม่จำ� เป็นทีต่ อ้ งจ�ำกัดการส่งออกหมู แน่นอน ราคาในประเทศส�ำคัญเพราะส่งผลค่าครองชีพ แต่ หมูเรายังพอไปได้ ไม่น่าจะขาดจนต้องปรับราคา มากไปกว่านี้อีก อีกส่วนหนึ่งเป็นปกติของช่วง ซีซั่นที่คนไทยมีความต้องการหมูในช่วงเทศกาล ตรุษจีนด้วย”

64



untries

ER

0+ 70+ ntries

ST

on space

GI

n space 800

RE

800

พบกันที่กรุงเทพฯ

พบทุกแนวทางแกปญ  หาแบบครบวงจร

400 400400

Trends ใหมลาสุดของเทคโนโลยีเครื่องมือ 400 17.800 9.000+ 17.800 9.000+ 17.800 9.000+สํอัาพหรัเดทเทรนด 17.800 บอุตสาหกรรมอาหารสัตวและสุขภาพสัตว

exhibitors exhibitors

ผูประกอบการ

9.000+ 400 9.000+ 9.000+ 100+ 100+ ผูเขาชมงาน visitors exhibitors

visitors speakers

speakers

100+ 100+ 100+ 100+ media speakers media

สื่อมวลชน

exhibitors m2 exhibition space m2 exhibition space

ตารางเมตร ของพื้นที่แสดงงาน

m2 exhibition space visitors visitors

visitors

Conferences

นําเสนอหัวขอและประเด็นที่นาสนใจ ผานงานประชุมสัมมนา

17.800 9.000+ 100+ 100+ 100+ 70+ 70+ 70+ 100+ 100+ เครือขาวธุรกิจที่ใหญที่สุดสําหรับอุตสาหกรรม Network วิทยาการ m2 exhibition space speakers countries

countries

70+ 70+

countries ประเทศทั่วโลก

visitors

media

countries

media

media

อาหารสัตวและสุขภาพในที่เดียว

Matchmaking

100+ media

Exhibition

สนับสนุนโดย: สํานักงานสงเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องคการมหาชน)

จับคูธุรกิจเพื่อสรางโอกาสทางธุรกิจ อยางไรขีดจํากัด

เขาชมงานฟรี! เวทีเจรจาธุรกิจที่ครอบคลุมผูผลิต ทั่วเอเชีย ครบจบในงานเดียว

VICTAM AND ANIMAL HEALTH AND NUTRITION ASIA 2020

รายละเอียดเพิ่มเติม: VICTAMASIA.COM & VIVHEALTHANDNUTRITION.NL โทร: +6626700900 ตอ 103, 126


A

Around the World

งานแถลงข่าวการจัดงานอย่างเป็ นทางการ ณ กรุงเทพ, ประเทศไทย

VICTAM และ VIV ผลึกก�ำลังผลักดัน งาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia เปิดตัวงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ สุขภาพ และโภชนาการสัตว์ครบวงจรครั้งแรกของเอเชีย วันพฤหัสที่ 30 มกราคม 2563

VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 งานแสดงสินค้า และเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ สุขภาพและโภชนาการสัตว์ครบวงจรครั้งแรกของเอเชีย พร้อมเปิดปรากฏการณ์ความร่วมมือครัง้ ยิง่ ใหญ่จากสองผูจ้ ดั งานมืออาชีพ โดยงานจะจัดขึน้ ระหว่างวันที่ 24 - 26 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค พบกับ ผูเ้ ข้าร่วมแสดงงานกว่า 400 ราย บนพืน้ ทีจ่ ดั แสดงงานกว่า 17,800 ตร.ม. พร้อมตอบโจทย์ ผู้เข้าเยี่ยมชมงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ ไปจนถึงเรื่องของ สุขภาพสัตว์ และเวชภัณฑ์สัตว์ นอกจากนี้ ภายในงานยังน�ำเสนอหลากหลายงานประชุม และงานสัมมนา โดยวิทยากรชัน้ น�ำจากนานาประเทศ ด้วยหัวข้องานสัมมนาทีห่ ลากหลาย และครอบคลุม เพื่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเทคโนโลยี ผลิตอาหารสัตว์ สารอาหารและโภชนาการสัตว์ ตลอดจนสุขภาพสัตว์แบบเต็มอิ่ม ส�ำหรับผู้เข้าชมงาน จะได้เยี่ยมชมงานอย่างจุใจด้วยพื้นที่การจัดงาน 3 ฮอลล์ แสดงสินค้า เพื่ออัปเดทและเจรจาธุรกิจในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะเอเชีย ซึ่งเป็นตลาด ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยท่านจะได้พบปะกับผู้เชี่ยวชาญในวงการ กลุ่มผู้ซื้อรายส�ำคัญ มากกว่า 9,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเจ้าของกิจการ CEOs, นักพัฒนาสูตรอาหารสัตว์, ผูจ้ ดั การโรงสี, นักโภชนาการ, ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายปฏิบตั กิ าร, สัตว์แพทย์, สถาบันการศึกษา, และอื่นๆ อีกมากมาย

65

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


A

Around the World

“ประเทศไทย เป็นหนึ่งในพื้นที่การจัดงาน ทีเ่ ราไว้วางใจและเชือ่ มัน่ ในการเป็นศูนย์กลางการ จัดงานของภูมิภาคเอเชียมานานกว่า 30 ปี ซึ่ง แน่นอนว่าประเทศไทยมีตลาดการค้าทีม่ ศี กั ยภาพ ในแง่ของการลงทุน ผูซ้ อื้ และตัวแทนจ�ำหน่ายทีม่ ี คุณภาพ” Sebas van den Ende ผูจ้ ดั การทัว่ ไป ของ Victam International กล่าว “งาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 ได้ถูกออกแบบมาอย่าง เฉพาะเจาะจงเพื่ อ ตอบโจทย์ ก ลุ ่ ม ธุ ร กิ จ ส� ำ คั ญ ต่างๆ ในอุตสาหกรรม รวมถึงกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมาย ทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดที่ส�ำคัญทั่วโลก เรามีการสร้างแคมเปญ “Industry Leaders Program” ซึ่งเป็นแคมเปญที่จะคัดสรรกลุ่มผู้ซื้อ รายส�ำคัญจากทั่วอุตสาหกรรมมากถึง 150 ราย โดยเรียนเชิญให้มาเป็นแขกคนพิเศษเพื่อมาเยี่ยม ชมงานพร้อมด้วยสิทธิพเิ ศษต่างๆ อีกมากมาย เพือ่ กระตุ้นให้เกิดการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการ ภายในงาน” Heiko M. Stutzinger ผูอ้ ำ� นวยการ VIV worldwide และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค กล่าวเสริม คณะผู้จัดงานได้มีการประชาสัมพันธ์การ จัดงานในครั้งนี้มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การจัดงาน แถลงข่าวทีป่ ระเทศพม่า ในเดือนธันวาคมปีทผี่ า่ น มา จนกระทั่งการมาถึงการจัดงานแถลงข่าวอย่าง เป็นทางการของงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 ซึ่งจัดขึ้น ในวันที่ 30 มกราคม ที่ โรงแรม เดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ ภายในงานแถลงข่าว คุณ Sebas van den Ende และ คุณ Heiko M. Stutzinger ยังได้ให้ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่จะเกิดขึ้นใน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

เดือนมีนาคมนี้ รวมถึงเล่าถึงทีม่ าของความร่วมมือ ระหว่าง VICTAM และ VIV และสิ่งที่น่าสนใจ ภายในงาน รวมถึงมีการน�ำเสนอตัวอย่างผลิต ภัณฑ์ที่จะน�ำมาจัดแสดงงานจากผู้เข้าร่วมแสดง งานบางส่วนด้วย พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ จะจัดขึ้นใน วันที่ 24 มีนาคม 2563 ณ บริเวณ V - Square ในฮอลล์ 100 - 101 ที่ไบเทค ตั้งแต่เวลา 10.30 11.30 น. ซึง่ V - Square จะเป็นอีกหนึง่ ไฮไลท์ใหม่ ในปีนี้ บริเวณ V - Square เป็นเสมือนเวทีทจี่ ดั สรร ไว้เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในช่วงจัดงาน ไม่ว่า จะเป็น พิธีเปิดงาน งานเลี้ยงรับรอง และเลานจ์ ส�ำหรับแขก VIP ทางผูจ้ ดั งานได้ตงั้ ชือ่ บริเวณนีว้ า่ V - Square มาจากตัว V ของ VICTAM และ VIV พันธมิตรทั้ง 2 ของการจัดงานในครั้งนี้ ในงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia มีการจัดประชุมและสัมมนาทาง เทคนิคทีม่ คี ณ ุ ภาพมากมายในด้านของเทคโนโลยี ผลิตอาหารสัตว์ สารอาหารสัตว์และสุขภาพสัตว์ ตั้งแต่หัวข้อแนวโน้มและทิศทางในอนาคตของ อุตสาหกรรมสัตว์น�้ำ, ความยั่งยืนของอาหารสัตว์ เลี้ยง ไปจนถึงมุมมองเกี่ยวกับการท�ำงาน และ โภชนาการของโปรตีนจากแมลงและยาปฏิชีวนะ

66


A

Around the World

ทางเลือก นี่เป็นหัวข้อส่วนหนึ่งที่จะท�ำให้เห็นว่า มางานเดี ย ว ท่ า นจะสามารถอั พ เดทข่ า วสาร ความรูใ้ หม่ๆ ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมตลอดจน เทรนด์ใหม่อย่างแท้จริง ภายในงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia จะมีการ น� ำ เสนอผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี เ ทคโนโลยี ทั น สมั ย จาก บริษทั ชัน้ น�ำในอุตสาหกรรมมากมาย อาทิ Andritz, Biomin, Buhler, DSM, Famsun, Impextraco, Kemin, K - PRO, Trouw Nutrition, Van Aarsen อนึ่ง จากความส�ำเร็จของการร่วมมือกัน จัดงานที่กรุงเทพฯ แล้ว ทั้ง VICTAM และ VIV worldwide ยังสานต่อความร่วมมือ ยกระดับการ จัดงานแสดงสินค้าครั้งส�ำคัญต่างทวีป โดยงาน VICTAM International exhibition และ VIV Europe 2022 ก�ำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2565 ณ Jaarbeurs เมืองอูเทรคต์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้ประกาศความร่วมมือครั้งส�ำคัญนี้ในงาน แถลงข่าวที่กรุงเทพฯ ที่แรกของโลก

67

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


A

Around the World

คณะผู้จัดงานทั้ง VICTAM และ VIV พร้อมอย่างยิ่งที่จะต้อนรับผู้เข้าชมงานทุกท่าน ตั้งแต่ วันที่ 24 - 26 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค ท่านสามารถดูรายละเอียด เพิ่มเติมของงานได้ที่ www.victamasia.com และ www.vivhealthandnutrition.nl และลงทะเบียน ออนไลน์ล่วงหน้าเพื่อให้การเข้าชมงานของท่านเร็วยิ่งขึ้นได้ที่

https://www.databadge.net/viah2020/reg/?card=30001636 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ Ms. Elena Geremia, (Global branding VIV) elena.geremia@vnuexhibitions.com Mrs. Saengtip Techapatiphandee, (Asia and Thailand) saengtip@vnuexhibitionsap.com Mrs. Catelijne de Gooijer, (Marketing and Communications Manager VICTAM) catelijnedegooijer@victam.com

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

68



PROTORSAN

โปรโตรซาน

แหลงโปรตีนจากแบคทีเรียเซลลเดียว แหลงโปรตีนคุณภาพสูง ใชทดแทนปลาปน กากถั่วเหลือง และโปรตีนตาง ๆ ไดดี และชวยปรับปรุงคุณภาพซาก โปรตีน 70%

อุดมไปดวยวิตามินบี และวิตามินอี

บีเทน 4.5% ชวยเพิ่มปริมาณเนื้อแดง

ผลิตภัณฑมีกลิ่นหอมกระตุนการกิน

นิวคลีโอไทด 11% ชวยในการสรางเซลลใหม

กลูตาเมท 12% เปนแหลงพลังงานสําหรับลําไสเล็ก

คุณคาทางโภชนะ (%) โปรตีน

70

แคลเซียม

0.1

ความชื้น

7.8

ฟอสฟอรัส

1.0

ไขมัน

6.0

แมกนีเซียม

0.04

เยื่อใย

1.6

โพแทสเซียม

0.85

เถา

4.4

โซเดียม

0.60

พลังงานในสุกร (ME)

2,850 Kcal/kg

พลังงานในสัตวปก (ME)

3,015 Kcal/kg

กรดอะมิโน (%) ไลซีน

2.33

แอสปาติก

5.00

เมทไธโอนีน

0.90

อารจินีน

3.10

เมทไธโอนีน+ซีสทีน

1.15

ลิวซีน

3.10

ไทโรซีน

1.30

ทรีโอนีน

3.00

ไกลซีน

2.40

วาลีน

2.90

ฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน

3.90

ไอโชลิวซีน

2.20

กลูตามีน

12.30

ฮิสติดีน

0.90

ทริปโตเฟน

0.20

อัตราการใช : 2.5-5% ในอาหารสัตว ผลิตโดย : บริษัท อายิโนะโมะโตะ ประเทศฝรั่งเศส

ขนาดบรรจุ : นํ้าหนักสุทธิ 25 กิโลกรัม


ม.ค. 7.49 9.44 9.01 8.00 9.62 9.97

69

ม.ค. 26.20 37.14 36.70 36.70 52.36 36.82

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 8.18 10.08 8.27 7.85 9.14 9.46

ราคาร�ำสด

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาปลาป่น

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ก.พ. 8.36 10.31 8.31 8.36 9.18 9.71

ก.พ. 30.92 39.83 36.27 37.29 53.20 33.45

ก.พ. 8.43 9.39 8.85 8.00 9.75 9.58

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

มี.ค. 9.31 10.92 9.39 8.01 10.01 9.26

มี.ค. 31.12 42.26 33.96 39.48 51.20 30.47

มี.ค. 8.75 9.48 8.85 8.00 10.32 9.15

เม.ย. 9.15 10.79 10.01 7.86 10.07 9.36

เม.ย. 33.93 42.74 32.70 39.70 47.96 30.51

เม.ย. 9.20 9.55 8.85 8.00 10.67 8.99

พ.ค. 10.63 10.70 9.73 7.72 9.67 8.93

พ.ค. 30.24 37.58 33.61 39.14 42.76 30.80

พ.ค. 9.33 9.46 8.83 8.00 10.50 8.85

มิ.ย. 10.96 11.15 9.82 8.05 9.50 9.16

มิ.ย. 29.74 36.70 36.66 38.70 40.20 30.36

มิ.ย. 10.23 10.05 9.51 8.33 10.53 9.05

ก.ค. 11.41 11.64 10.19 8.29 8.52 9.34

ก.ค. 29.70 36.85 36.70 38.70 40.20 30.05

ก.ค. 10.50 10.75 9.32 8.45 9.43 9.10

ส.ค. 11.15 11.27 10.43 8.36 8.06 9.56

ส.ค. 37.70 36.70 38.90 38.70 40.20 31.82

ส.ค. 9.87 10.32 8.75 8.32 8.68 9.28

ก.ย. 9.42 8.87 10.30 7.76 8.03 9.40

ก.ย. 37.70 40.32 38.39 38.70 41.24 30.98

ก.ย. 8.79 9.21 8.08 8.10 8.76 9.07

ต.ค. 8.83 8.66 7.89 7.99 9.13 8.88

ต.ค. 36.47 43.39 34.93 38.70 42.20 30.75

ต.ค. 8.26 8.67 8.00 8.00 9.76 8.90

พ.ย. 8.80 8.23 7.05 8.22 9.75 8.49

พ.ย. 34.78 44.50 35.63 39.22 38.12 29.93

พ.ย. 9.09 8.69 8.00 8.35 10.14 9.00

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 8.85 9.59 8.18 11.41 7.89 10.04 7.89 11.64 7.46 9.07 7.05 10.43 8.66 8.09 7.72 8.66 9.42 9.21 8.03 10.07 8.65 9.18 8.49 9.71 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 35.45 32.83 26.20 37.70 38.70 39.73 36.70 44.50 35.28 35.81 32.70 38.90 48.05 39.42 36.70 48.05 37.20 43.90 37.20 53.20 30.20 31.35 29.93 36.82 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 9.21 9.10 7.49 10.24 8.44 9.45 8.44 10.50 8.00 8.67 8.00 10.75 9.22 8.23 8.00 9.22 10.07 9.85 8.68 10.67 8.81 9.15 8.81 9.97 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Around the World

A

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


ม.ค. 18.75 18.12 16.57 15.92 13.28 13.79

ก.พ. 19.47 18.10 16.63 15.69 13.18 13.43

มี.ค. 20.52 18.01 15.81 15.52 13.25 13.31

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

70

ม.ค. 19.14 17.98 15.90 15.55 15.60 14.16

ก.พ. 18.88 17.55 15.90 15.55 15.37 13.95

มี.ค. 20.15 17.19 15.90 15.55 15.10 13.97

เม.ย. 20.25 16.45 15.90 14.85 15.10 14.10

เม.ย. 19.88 17.83 15.13 15.54 13.31 13.09

พ.ค. 20.03 15.85 16.02 14.85 15.62 13.73

พ.ค. 20.98 16.98 14.27 15.21 13.62 12.84

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 20.62 19.20 16.98 16.55 16.60 14.95

ก.พ. 20.38 18.95 16.90 16.55 16.37 14.97

มี.ค. 21.68 18.59 16.90 16.55 16.10 14.97

เม.ย. 21.75 18.11 16.90 15.85 16.22 15.10

พ.ค. 21.58 17.35 17.02 15.85 16.93 14.73

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำ�เข้า

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

มิ.ย. 21.5 16.63 18.68 15.45 17.10 14.70

มิ.ย. 20.00 15.13 17.49 14.45 16.10 13.70

มิ.ย. 21.06 15.78 13.49 14.70 14.12 12.62

ก.ค. 20.90 16.62 18.85 15.30 17.10 14.85

ก.ค. 19.40 15.10 17.75 14.30 16.10 13.85

ก.ค. 20.84 15.38 13.94 14.33 14.29 12.60

ส.ค. 20.55 17.13 17.99 15.35 17.10 14.44

ส.ค. 19.05 15.94 16.89 14.35 16.10 13.44

ส.ค. 20.77 15.39 14.24 13.92 14.19 12.49

ก.ย. 20.55 17.25 17.95 15.35 17.10 14.35

ก.ย. 19.05 16.10 16.85 14.35 16.10 13.35

ก.ย. 20.45 15.38 14.53 13.67 14.32 12.04

ต.ค. 20.00 17.25 16.99 15.35 16.35 14.45

ต.ค. 18.50 16.10 15.89 14.35 15.35 13.45

ต.ค. 19.75 16.30 14.94 13.56 14.27 11.83

พ.ย. 19.95 17.77 16.95 15.35 16.35 14.35

พ.ย. 18.47 16.72 15.85 14.35 15.35 13.35

พ.ย. 19.41 16.55 15.65 13.38 14.16 11.82

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 19.95 20.78 19.95 21.75 17.25 17.68 16.62 19.20 16.79 17.41 16.79 18.85 16.23 15.81 15.30 16.55 15.54 16.57 15.54 17.10 14.35 14.68 14.35 15.10 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 18.45 19.28 18.45 20.25 16.10 16.35 15.10 17.98 15.73 16.34 15.73 17.75 15.22 14.81 14.30 15.55 14.52 15.53 14.52 16.10 13.35 13.70 13.35 14.16 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 19.02 20.08 18.75 21.06 16.30 16.68 15.38 18.12 16.08 15.11 13.49 16.63 13.35 14.57 13.35 15.92 14.17 13.85 13.18 14.32 11.70 12.63 11.70 13.79 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Around the World

A


ม.ค. 6.76 8.59 7.38 7.11 8.60 9.21

71

ม.ค. 9.45 9.82 10.51 10.77 10.11 10.78

ก.พ. 9.43 9.72 10.59 10.77 10.32 10.84

ก.พ. 6.71 8.62 7.29 7.66 8.34 9.31

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 6.64 6.89 6.08 5.81 6.74 6.88

ก.พ. 6.85 6.59 5.84 5.72 6.84 6.73

ราคามันสำ�ปะหลังเส้น

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาปลายข้าว

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคากากร�ำสกัดน�้ำมัน

มี.ค. 6.90 6.74 5.93 5.74 7.51 6.81

มี.ค. 9.49 9.75 10.74 10.53 10.75 10.70

มี.ค. 7.06 8.60 8.02 7.60 8.86 9.15

เม.ย. 6.87 6.74 6.09 5.53 7.91 6.97

เม.ย. 9.52 9.81 10.96 10.36 10.68 10.68

เม.ย. 6.78 8.49 8.57 7.30 8.74 8.90

พ.ค. 6.88 7.02 6.51 5.40 7.95 7.03

พ.ค. 9.40 9.85 11.28 9.83 10.89 10.70

พ.ค. 8.67 8.32 8.55 7.01 8.68 8.46

มิ.ย. 6.93 7.46 6.72 5.32 7.83 7.09

มิ.ย. 9.75 10.02 11.69 9.92 11.11 11.08

มิ.ย. 9.14 8.90 8.35 7.10 8.48 8.40

ก.ค. 7.00 7.74 6.69 5.41 7.67 7.14

ก.ค. 10.46 10.38 11.69 10.04 10.71 10.82

ก.ค. 9.84 9.37 8.01 7.12 7.83 8.40

ส.ค. 7.25 7.74 6.48 5.47 7.36 7.27

ส.ค. 10.28 10.50 11.68 10.01 10.35 10.86

ส.ค. 10.58 9.40 8.20 7.47 7.44 8.70

ก.ย. 7.34 7.66 6.28 5.61 7.38 7.36

ก.ย. 9.69 10.50 11.60 10.01 10.24 10.92

ก.ย. 9.42 7.94 8.01 7.52 7.43 8.64

ต.ค. 7.38 7.25 6.12 6.12 7.34 7.25

ต.ค. 9.94 10.28 11.00 10.15 10.36 10.86

ต.ค. 8.67 7.45 6.57 7.57 8.39 8.26

พ.ย. 7.39 6.74 6.10 6.37 7.30 7.00

พ.ย. 9.94 10.44 10.56 9.98 10.39 10.77

พ.ย. 8.39 7.04 5.87 7.75 9.06 8.05

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 7.09 7.04 6.64 7.39 6.40 7.08 6.40 7.74 6.02 6.24 5.84 6.72 6.53 5.75 5.32 6.53 7.12 7.41 6.74 7.95 6.86 7.03 6.73 7.36 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 9.84 9.77 9.40 10.46 10.52 10.13 9.72 10.52 10.60 11.08 10.51 11.69 10.03 10.20 9.83 10.77 10.50 10.53 10.11 11.11 10.79 10.82 10.68 11.08 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 8.00 8.34 6.71 10.58 6.90 8.30 6.90 9.40 6.43 7.60 5.87 8.57 8.22 7.45 7.01 8.22 9.22 8.42 7.43 9.22 7.83 8.61 7.83 9.31 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Around the World

A

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


ม.ค. 31.50 32.50 36.00 36.00 35.00 33.00

ก.พ. 31.74 32.50 35.00 36.00 35.00 32.92

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

72

ม.ค. 59.27 92.89 76.00 68.97 76.96 59.78

ก.พ. 59.88 89.81 75.23 68.07 79.73 53.31

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 60.00 60.00 60.00 60.00 73.00 73.00

ก.พ. 60.00 60.00 60.00 60.00 73.00 72.50

ราคาน้ำ�มันปลา FO

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาปลาป่นนำ�เข้า

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาตับปลาหมึก SLP

มี.ค. 60.00 60.00 60.00 62.00 73.00 72.50

มี.ค. 61.65 85.62 74.58 67.92 72.41 53.82

มี.ค. 32.00 32.50 35.00 34.50 35.00 32.00

เม.ย. 60.00 60.00 60.00 62.00 73.00 72.50

เม.ย. 61.91 77.01 77.15 67.09 66.57 55.36

เม.ย. 32.00 32.50 35.00 34.50 35.00 32.00

พ.ค. 60.00 60.00 60.00 65.80 73.00 72.50

พ.ค. 63.10 74.37 77.58 67.23 60.71 58.51

พ.ค. 33.00 34.50 35.00 34.50 35.00 32.00

มิ.ย. 60.00 60.00 60.00 65.80 73.00 72.50

มิ.ย. 70.17 69.15 82.73 64.83 58.62 58.68

มิ.ย. 33.50 36.00 35.00 34.50 35.00 32.00

ก.ค. 60.00 60.00 60.00 65.80 73.00 72.50

ก.ค. 75.81 66.27 79.54 60.35 64.52 57.75

ก.ค. 33.00 35.80 35.00 35.00 35.00 31.00

ส.ค. 60.00 60.00 60.00 65.80 73.00 72.50

ส.ค. 78.17 68.89 75.99 60.74 65.87 57.71

ส.ค. 33.00 36.10 35.00 35.00 35.00 31.00

ก.ย. 60.00 60.00 60.00 68.00 73.00 72.50

ก.ย. 77.96 71.78 74.86 60.61 63.05 55.91

ก.ย. 33.00 36.79 35.00 35.00 35.00 30.74

ต.ค. 60.00 60.00 60.00 68.50 73.00 72.50

ต.ค. 76.86 71.81 66.61 60.75 63.04 53.70

ต.ค. 33.00 36.35 35.00 35.00 33.00 31.00

พ.ย. 60.00 60.00 60.00 69.00 73.00 72.50

พ.ย. 87.54 72.56 63.79 62.39 62.73 53.27

พ.ย. 33.50 35.50 35.00 35.00 33.00 30.00

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 69.00 65.14 60.00 69.00 73.00 73.00 73.00 73.00 72.50 72.54 72.50 73.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 91.82 72.01 59.27 91.82 71.79 76.00 66.27 92.89 67.04 74.26 63.79 82.73 74.28 65.27 60.35 74.28 61.41 66.30 58.62 79.73 51.68 55.79 51.68 59.78 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 33.00 32.69 31.50 33.50 36.00 34.75 32.50 36.79 35.00 35.08 35.00 36.00 35.00 35.00 34.50 36.00 33.00 34.50 33.00 35.00 31.00 31.56 30.00 33.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Around the World

A


ม.ค. 56.71 52.00 54.10 57.00 60.00 62.00

73

ม.ค. 6.79 8.20 6.72 6.81 7.70 8.49

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 16.40 16.60 14.94 13.21 15.24 14.78

WHEAT FLOUR

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

WHEAT BRAN

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ก.พ. 16.33 16.26 14.70 13.21 15.00 14.69

ก.พ. 6.67 8.23 6.96 7.35 7.90 8.49

ก.พ. 53.00 52.00 54.00 60.00 60.00 57.33

WHEAT GLUTEN

มี.ค. 16.55 16.00 14.70 13.21 14.45 14.33

มี.ค. 6.88 8.36 7.80 7.33 8.01 8.49

มี.ค. 54.00 52.00 53.00 62.00 65.00 50.00

เม.ย. 16.33 16.13 14.70 13.07 14.48 14.25

เม.ย. 6.86 8.30 8.21 7.17 8.02 8.45

เม.ย. 58.85 52.00 53.00 58.00 67.00 48.00

พ.ค. 16.77 15.98 14.71 13.13 14.47 14.16

พ.ค. 8.03 8.33 7.80 6.76 8.21 8.14

พ.ค. 57.25 52.00 53.50 58.00 67.00 48.00

มิ.ย. 16.72 15.81 14.71 13.57 14.01 14.26

มิ.ย. 8.39 8.35 7.71 6.78 8.20 7.73

มิ.ย. 56.71 52.00 55.00 58.00 68.00 49.00

ก.ค. 16.59 15.57 14.71 13.58 14.01 13.88

ก.ค. 8.99 8.49 7.15 6.83 7.57 7.54

ก.ค. 56.71 50.00 55.00 60.00 68.00 49.00

ส.ค. 16.60 15.38 14.71 14.08 14.01 13.79

ส.ค. 9.60 8.58 6.43 7.00 7.34 7.47

ส.ค. 56.71 52.52 55.00 60.00 68.00 48.00

ก.ย. 16.59 15.11 14.70 14.86 14.20 13.76

ก.ย. 9.43 7.90 6.29 6.87 7.45 7.87

ก.ย. 56.00 53.50 55.00 60.00 66.00 47.16

ต.ค. 16.59 15.12 13.61 14.83 14.23 13.64

ต.ค. 8.62 7.21 6.72 7.13 7.72 8.05

ต.ค. 52.00 54.25 55.00 60.00 65.00 46.61

พ.ย. 16.59 15.12 13.34 14.75 14.24 13.36

พ.ย. 8.27 6.62 6.42 7.62 8.24 7.74

พ.ย. 52.00 54.00 55.00 60.00 66.00 46.00

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 16.73 16.57 16.33 16.77 15.04 15.68 15.04 16.60 13.18 14.39 13.18 14.94 14.60 13.84 13.07 14.86 14.77 14.43 14.01 15.24 13.36 14.02 13.36 14.78 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 8.03 8.05 6.67 9.60 6.24 7.90 6.24 8.58 6.42 7.05 6.29 8.21 7.97 7.14 6.76 7.97 8.27 7.89 7.34 8.27 7.74 8.02 7.47 8.49 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 52.00 55.16 52.00 58.85 53.50 52.48 50.00 54.25 57.00 54.55 53.00 57.00 60.00 59.42 57.00 62.00 66.00 65.50 60.00 68.00 47.00 49.84 46.00 62.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Around the World

A

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


ม.ค. 25.79 28.00 27.00 27.75 28.75 28.50

ก.พ. 25.79 28.00 27.00 27.75 28.75 28.50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

74

ม.ค. 120.00 120.00 120.00 150.00 170.00 220.00

ก.พ. 120.00 120.00 120.00 150.00 170.00 220.00

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 6.65 6.40 5.27 5.64 4.50 5.07

ก.พ. 6.83 6.20 5.38 5.66 4.50 5.07

ราคากากปาล์มเมล็ดใน

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาปลาหมึกป่น SLM

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาเปลือกกุ้ง

มี.ค. 6.60 5.17 5.04 5.26 4.47 4.68

มี.ค. 120.00 120.00 120.00 150.00 170.00 215.00

มี.ค. 25.79 28.00 27.00 27.75 28.63 28.96

เม.ย. 5.52 4.90 4.96 4.88 4.47 4.29

เม.ย. 120.00 120.00 120.00 150.00 178.00 215.00

เม.ย. 25.79 28.00 27.00 27.75 28.63 29.00

พ.ค. 5.14 4.90 5.08 4.67 4.47 3.97

พ.ค. 120.00 120.00 120.00 150.00 196.00 215.00

พ.ค. 27.34 28.00 27.00 27.75 28.75 29.00

มิ.ย. 5.00 4.90 5.30 4.39 4.70 4.08

มิ.ย. 120.00 120.00 120.00 150.00 200.00 215.00

มิ.ย. 27.34 28.00 27.25 28.25 28.75 29.00

ก.ค. 5.05 4.92 5.30 4.40 4.80 4.21

ก.ค. 120.00 120.00 130.00 150.00 200.00 215.00

ก.ค. 27.34 28.00 27.25 28.25 28.50 29.00

ส.ค. 5.00 4.97 5.37 4.50 5.31 4.25

ส.ค. 120.00 120.00 130.00 160.00 200.00 210.00

ส.ค. 28.20 28.00 26.50 28.25 28.50 29.00

ก.ย. 5.06 5.07 5.36 4.50 5.20 4.32

ก.ย. 120.00 120.00 130.00 170.00 230.00 210.00

ก.ย. 28.25 28.00 27.50 28.25 28.50 32.75

ต.ค. 5.24 5.07 5.25 4.50 4.97 4.76

ต.ค. 120.00 120.00 130.00 170.00 230.00 210.00

ต.ค. 28.25 28.00 27.50 28.25 28.50 32.75

พ.ย. 5.66 5.18 5.32 4.50 4.92 5.29

พ.ย. 120.00 120.00 130.00 170.00 230.00 207.00

พ.ย. 28.45 27.00 27.75 28.75 28.50 32.75

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 6.04 5.65 5.00 6.83 5.13 5.23 4.90 6.40 5.44 5.26 4.96 5.44 4.50 4.78 4.39 5.66 5.07 4.78 4.47 5.31 5.88 4.66 3.97 5.88 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 140.00 125.83 120.00 140.00 170.00 157.50 150.00 170.00 222.35 199.70 170.00 230.00 207.00 213.25 207.00 220.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 28.00 27.19 25.79 28.45 27.00 27.83 27.00 28.00 27.50 27.19 26.50 27.75 28.75 28.13 27.75 28.75 28.50 28.61 28.50 28.75 32.75 30.16 28.50 32.75 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Around the World

A


ม.ค. 23.00 8.00 21.50 19.00 10.00 12.54

75

ม.ค. 150.50 125.50 146.75 140.50 129.50 132.50

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 313.00 248.00 263.00 253.00 217.00 249.00

ราคาไข่ ไก่คละ

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาลูกไก่ ไข่

ก.พ. 317.00 233.00 279.00 236.00 239.00 248.00

ก.พ. 150.50 120.72 151.80 138.68 129.50 131.67

ก.พ. 23.00 8.00 23.52 18.27 10.00 14.17

มี.ค. 285.00 202.00 289.00 222.00 225.00 232.00

มี.ค. 148.96 98.70 155.50 133.46 129.50 120.50

มี.ค. 22.38 6.88 25.00 16.19 10.00 10.00

เม.ย. 267.00 239.00 268.00 223.00 253.00 251.00

เม.ย. 135.00 95.50 155.50 130.50 133.17 120.50

เม.ย. 17.00 6.00 25.00 15.00 12.48 13.00

พ.ค. 319.00 250.00 288.00 257.00 280.00 274.00

พ.ค. 143.20 103.79 155.89 135.50 140.50 130.29

พ.ค. 20.28 8.50 25.00 17.00 18.00 21.50

มิ.ย. 307.00 250.00 316.00 260.00 280.00 283.00

มิ.ย. 145.50 110.50 160.50 135.50 140.50 145.29

มิ.ย. 21.00 10.00 27.00 17.00 18.00 25.00

ก.ค. 297.00 267.00 320.00 257.00 280.00 294.00

ก.ค. 142.30 120.50 160.50 135.50 140.50 147.04

ก.ค. 19.40 13.00 27.00 17.00 18.00 25.92

ส.ค. 329.00 292.00 328.00 270.00 280.00 301.00

ส.ค. 148.83 140.50 162.30 137.50 140.50 150.50

ส.ค. 20.33 19.48 27.72 17.80 18.00 28.00

ก.ย. 289.00 300.00 324.00 272.00 278.00 303.00

ก.ย. 148.58 145.50 165.50 140.50 140.50 150.50

ก.ย. 18.69 21.00 29.00 19.00 18.00 28.00

ต.ค. 253.00 284.00 287.00 237.00 239.00 303.00

ต.ค. 137.35 145.50 160.50 130.50 134.34 150.50

ต.ค. 13.74 21.00 27.00 14.45 14.04 28.00

พ.ย. 273.00 264.00 267.00 231.00 247.00 284.00

พ.ย. 135.50 145.50 154.92 130.50 130.50 150.50

พ.ย. 13.00 21.00 24.77 11.77 11.00 28.00

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 234.00 290.25 234.00 329.00 254.00 256.92 202.00 300.00 245.00 289.50 245.00 328.00 224.00 245.17 222.00 272.00 247.00 255.42 217.00 280.00 270.00 274.33 232.00 303.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท / 100 ฟอง

หน่วย : บาท/ตัว

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 129.88 143.01 129.88 150.50 145.50 124.81 95.50 145.50 142.77 156.04 142.77 165.50 132.76 135.12 130.50 140.50 130.50 134.96 129.50 140.50 150.50 140.02 120.50 150.50 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 9.96 18.48 9.96 23.00 21.00 13.66 6.00 21.00 19.91 25.20 19.91 29.00 12.35 16.24 11.77 19.00 11.00 14.04 10.00 18.00 28.00 21.84 10.00 28.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/ตัว

Around the World

A

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


ม.ค. 19.50 15.50 10.50 16.14 13.50 10.47

ก.พ. 19.50 10.54 10.50 17.50 12.25 11.42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

76

ม.ค. 40.80 38.10 35.50 29.92 28.60 30.77

ก.พ. 42.00 35.26 35.36 33.82 28.13 32.17

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 69.22 59.46 63.75 58.08 40.00 64.92

ก.พ. 72.00 57.65 63.61 60.64 42.00 70.00

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาลูกไก่เนื้อ

มี.ค. 72.54 58.33 63.28 59.00 43.31 70.00

มี.ค. 38.85 35.00 36.81 32.00 28.00 33.00

มี.ค. 18.50 7.50 10.87 15.50 11.50 11.50

เม.ย. 75.73 59.64 67.92 61.00 56.76 70.00

เม.ย. 39.50 33.52 37.00 35.48 29.33 34.27

เม.ย. 17.50 8.41 11.50 17.41 10.26 11.50

พ.ค. 77.00 62.42 73.00 67.58 59.68 73.13

พ.ค. 42.00 36.83 36.43 37.57 31.04 35.07

พ.ค. 17.50 9.50 12.50 18.50 8.50 11.71

มิ.ย. 79.52 65.00 75.69 63.81 56.62 74.00

มิ.ย. 43.00 35.33 36.00 36.68 30.92 35.33

มิ.ย. 17.50 11.10 12.50 18.50 8.50 14.42

ก.ค. 78.00 65.65 71.36 58.09 56.75 68.71

ก.ค. 43.00 36.27 35.40 36.13 32.00 34.69

ก.ค. 17.50 11.50 12.74 18.50 9.00 14.50

ส.ค. 77.50 66.77 69.28 60.60 61.35 64.00

ส.ค. 45.08 35.25 39.76 36.00 32.19 35.54

ส.ค. 19.33 11.50 17.62 18.50 12.58 14.50

ก.ย. 74.08 69.53 67.10 60.15 62.04 58.80

ก.ย. 44.69 36.87 38.54 36.23 31.79 34.21

ก.ย. 21.50 12.50 17.35 18.50 12.34 13.98

ต.ค. 65.72 65.96 62.41 50.36 60.24 54.00

ต.ค. 42.33 32.96 31.95 33.27 30.23 33.03

ต.ค. 18.17 10.36 14.54 14.95 10.50 13.50

พ.ย. 63.20 60.68 61.77 50.65 63.77 56.54

พ.ย. 40.24 33.85 30.00 32.74 30.00 33.00

พ.ย. 15.50 10.02 14.50 13.50 10.50 14.19

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 63.99 72.38 63.20 79.52 62.33 62.79 57.65 69.53 59.82 66.58 59.82 75.69 45.57 57.96 45.57 67.58 61.13 55.30 40.00 63.77 64.45 65.71 54.00 74.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 39.69 41.77 38.85 45.08 33.71 35.25 32.96 38.10 28.64 35.12 28.64 39.76 29.70 34.13 29.70 37.57 30.00 30.19 28.00 32.19 33.77 33.74 30.77 35.54 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 15.50 18.13 15.50 21.50 10.50 10.74 7.50 15.50 15.36 13.37 10.50 17.62 13.50 16.75 13.50 18.50 10.50 10.83 8.50 13.50 15.50 13.10 10.47 15.50 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/ตัว

Around the World

A


ม.ค. 2,056.00 1,875.00 2,000.00 1,800.00 1,212.00 1,984.62

ก.พ. 2,269.57 1,800.00 2,000.00 1,763.64 1,287.50 2,100.00

มี.ค. 2,400.00 1,800.00 2,081.48 1,700.00 1,292.31 2,100.00

77

ม.ค. 20.00 19.00 23.50 26.00 24.56 22.00

ก.พ. 20.00 15.48 20.00 26.00 21.75 22.00

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ก.พ. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

มี.ค. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

มี.ค. 20.00 14.00 20.00 26.00 17.46 22.00

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

เดือน 2557 2558 2559 2560 2561 2562

ราคาลูกสุกรขุน

เม.ย. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

เม.ย. 20.00 14.00 20.00 26.00 19.00 22.00

เม.ย. 2,600.00 1,859.09 2,294.12 1,750.00 1,709.52 2,100.00

พ.ค. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

พ.ค. 20.00 15.50 20.00 26.00 19.00 22.00

พ.ค. 2,600.00 1,925.00 2,600.00 1,900.00 1,680.00 2,166.67

มิ.ย. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

มิ.ย. 20.00 16.00 20.00 26.00 19.00 22.00

มิ.ย. 2,600.00 2,000.00 2,584.62 1,769.23 1,600.00 2,200.00

ก.ค. 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ก.ค. 22.40 16.77 24.08 26.00 19.00 22.00

ส.ค. 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ส.ค. 23.00 20.48 26.00 26.00 19.00 22.00

ก.ย. 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ก.ย. 23.00 24.00 26.00 26.00 19.00 22.00

ต.ค. 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ต.ค. 23.00 24.00 26.00 26.00 19.00 24.40

พ.ย. 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00

พ.ย. 23.00 24.00 26.00 26.00 22.00 25.00

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 61.00 60.42 60.00 61.00 60.00 60.92 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/ตัว

ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 20.75 21.26 20.00 23.00 24.00 18.94 14.00 24.00 26.00 23.13 20.00 26.00 26.00 26.00 26.00 26.00 22.00 20.06 17.46 24.56 27.18 22.88 22.00 27.18 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 2,600.00 2,600.00 2,484.62 2,240.74 2,200.00 2,166.67 2,401.47 2,056.00 2,600.00 2,000.00 2,027.33 2,200.00 2,069.23 2,000.00 2,000.00 1,962.97 1,800.00 2,200.00 2,340.00 2,300.00 2,257.69 2,008.00 1,919.23 1,831.82 2,184.75 1,831.82 2,600.00 1,600.00 1,616.00 1,700.00 1,418.18 1,300.00 1,230.43 1,628.96 1,230.43 1,900.00 1,600.00 1,726.92 1,776.00 1,700.00 1,788.46 1,730.43 1,591.93 1,212.00 1,788.46 2,030.77 1,646.15 1,420.00 1,300.00 1,438.46 1,986.36 1,872.75 1,300.00 2,200.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หน่วย : บาท/ตัว

Around the World

A

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

78

1,753.70 18.00 42.29 54.09 0.560 20.55 1.047 39.52 0.33 6.00 623,400 290,000 340,000

ทบทวน 12/12/2562

ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด ปลายข้าว ปริมาณอาหารสัตว์ที่ใช้ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) 7,234,013 (4.125 กก./ตัว) 3 217,020.4 30 2,170,203.8 62 4,485,087.8 907,200 (50.4 กก./ตัว/ปี) 3 27,216.0 25 226,800.0 60 544,320.0 794,187 (6.5 กก./ตัว/18 สัปดาห์) 3 23,825.6 25 198,546.8 60 476,512.4 2,270,594 (41.98 กก./ตัว/52 สัปดาห์) 5 113,529.7 25 567,648.5 55 1,248,826.7 22,400 (40 กก./ตัว/ปี) 3 672.0 25 5,600.0 60 13,440.0 5,548,500 (270 กก./ตัว) 3 166,455.0 20 1,109,700.0 25 1,387,125.0 20 1,109,700.0 973,710 (930 กก./ตัว/ปี) 5 48,685.5 20 194,742.0 45 438,169.5 331,968 (8.4 กก./ตัว) 6 19,918.1 20 66,393.6 15 49,795.2 35 116,188.8 23,934 (73 กก./ตัว/ปี) 6 1,436.1 30 7,180.3 10 2,393.4 45 10,770.5 328,500 (54.75 กก./ตัว) 8 26,280.0 15 49,275.0 40 131,400.0 1,023,935 (4.5 กก./ตัว/วัน) 5 51,196.7 15 153,590.2 464,000 20 92,800.0 20 92,800.0 510,000 10 51,000.0 30 153,000.0 30 153,000.0 20,432,941 788,838.3 4,893,086.8 8,514,090.7 1,806,228.8

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หมายเหตุ : ปรับเปลี่ยนตามสภาวะวัตถุดิบและความพอเพียงของสินค้า

ไก่เนื้อ ไก่พ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่เล็กรุ่น ไก่ไข่ให้ไข่ ไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ หมูขุน หมูพันธุ์ เป็ดเนื้อ เป็ดพันธุ์ เป็ดไข่ (ฟาร์ม) โคนม (ตัว) กุ้ง (ตัน) ปลา (ตัน) รวม

ประชากรสัตว์ (ล้านตัว)

ตารางประมาณการประชากรสัตว์, ปริมาณอาหารสัตว์ และการใช้วต ั ถุดิบ ปี 2562

Around the World

A


79

1,771.24 18.18 42.29 54.09 0.560 19.63 1.000 41.50 0.34 6.30 635,868 310,000 350,200

คาดคะเน 12/12/2562

ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด ปลายข้าว ปริมาณอาหารสัตว์ที่ใช้ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) % ที่ใช้ ปริมาณ (ตัน) 7,306,353 (4.125 กก./ตัว) 3 219,190.6 30 2,191,905.8 62 4,529,938.6 916,272 (50.4 กก./ตัว/ปี) 3 27,488.2 25 229,068.0 60 549,763.2 794,187 (6.5 กก./ตัว/18 สัปดาห์) 3 23,825.6 25 198,546.8 60 476,512.4 2,270,615 (41.98 กก./ตัว/52 สัปดาห์) 5 113,530.8 25 567,653.8 55 1,248,838.4 22,400 (40 กก./ตัว/ปี) 3 672.0 25 5,600.0 60 13,440.0 5,300,100 (270 กก./ตัว) 3 159,003.0 20 1,060,020.0 25 1,325,025.0 20 1,060,020.0 930,000 (930 กก./ตัว/ปี) 5 46,500.0 20 186,000.0 45 418,500.0 348,566 (8.4 กก./ตัว) 6 20,914.0 20 69,713.3 15 52,285.0 35 121,998.2 25,131 (73 กก./ตัว/ปี) 6 1,507.9 30 7,539.3 10 2,513.1 45 11,309.0 344,925 (54.75 กก./ตัว) 8 27,594.0 15 51,738.8 40 137,970.0 1,044,413 (4.5 กก./ตัว/วัน) 5 52,220.7 15 156,662.0 496,000 20 99,200.0 20 99,200.0 541,059 10 54,105.9 30 162,317.7 30 162,317.7 20,340,022 793,531.9 4,881,524.2 8,517,295.4 1,749,797.3

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หมายเหตุ : ปรับเปลี่ยนตามสภาวะวัตถุดิบและความพอเพียงของสินค้า

ไก่เนื้อ ไก่พ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่เล็กรุ่น ไก่ไข่ให้ไข่ ไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ หมูขุน หมูพันธุ์ เป็ดเนื้อ เป็ดพันธุ์ เป็ดไข่ (ฟาร์ม) โคนม (ตัว) กุ้ง (ตัน) ปลา (ตัน) รวม

ประชากรสัตว์ (ล้านตัว)

ตารางประมาณการประชากรสัตว์, ปริมาณอาหารสัตว์ และการใช้วต ั ถุดิบ ปี 2563

Around the World

A

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 37 เล่มที่ 190 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดท�ำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน)

โทร. 0-2833-8000

2 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ โทร. 0-2680-4580 3 บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน)

โทร. 0-2473-8000

4 บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด

โทร. 0-2814-3480

5 บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน)

โทร. 0-2632-7232

6 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สระบุร ี

โทร. 0-2680-4500

7 บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด

โทร. 0-2194-5678-96

8 บริษัท แลบอินเตอร์ จ�ำกัด

โทร. 0-3488-6140-48

9 บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จ�ำกัด

โทร. 0-2937-4355

10 บริษัท เออร์เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จ�ำกัด

โทร. 0-2993-7500

11 บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด

โทร. 0-3430-5101-3

12 บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จ�ำกัด

โทร. 0-2681-1329

13 บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเซีย แปซิฟค ิ จ�ำกัด

โทร. 0-2670-0900 # 113

14 บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

โทร. 0-2694-2498

15 ลา เมคคานิค่า เอส.อาร์.ดิเรฟโฟ

โทร. 0-9824-9771




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook

Articles inside

กรมการค้ากลับล�ำไม่คุมส่งออกหมู ภัยแล้ง โรคระบาดซ้ำเติมราคาแพง

2min
pages 68-70

ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามในอาหารและวัตถุดิบอาหารสัตว์

2min
pages 63-67

พลิกฟื้ นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ ทางเลือกอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

1min
pages 60-62

ประสบการณ์ของไทยในงานชริมป์ 2019

2min
pages 54-57

เลขาฯ ฟันธง ปี 63 วัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ขาดแคลน

3min
pages 33-37

เลี้ยงกุ้งอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคตัวแดงดวงขาว

2min
pages 49-53

6 ปัจจัยหนุนส่งออก ลุ้นฝ่าด่านโคโรนา ดันทังปีเป็นบวก

1min
pages 25-27

ุ้งไทย ชี้ทิศทางอนาคตกุ้งไทย ผลิตกุ้งที่ดีที่สุดมอบแด่ชาวโลกส.ก

2min
pages 18-21

รับปากแก้ปัญหานมโคล้นตลาด

0
page 43

คงเป้าแผนนำเข้า ปี 63 คุมเข้มไข่ล้นตลาด

1min
pages 28-30

เกษตรฯ ชง ครม. 8,900 ล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

1min
pages 16-17

สศก. คาดปี 63 จีดีพีเกษตร ยังโต 2 3

3min
pages 11-15
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.